Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70034
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ | - |
dc.contributor.author | ปวริศ ไชยลาโภ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-11-11T13:34:58Z | - |
dc.date.available | 2020-11-11T13:34:58Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70034 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความเพียร สุขภาวะ และผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลอิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อยโดยมีความเพียรและสุขภาวะเป็นตัวแปรส่งผ่านกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) วิเคราะห์บทบาทการส่งผ่านของความเพียรและสุขภาวะในโมเดลอิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 2-5 จำนวน 805 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ มาตรวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง มาตรวัดความเพียร และมาตรวัดสุขภาวะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า 1) ในภาพรวมนักเรียนนายร้อยมีสุขภาวะอยู่ในระดับสูง (%RWB = 70.00) ในขณะที่ผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย ความเพียร และการรับรู้ความสามารถของตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (%RCMA = 47.25; %RGRT = 44.00; %RSE = 35.00) 2) โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 44.620, df = 36, p = 0.131, Chi-Square/df = 1.239, GFI = 0.991, AGFI = 0.978, NFI = 0.997; RMR = 0.015, RMSEA = 0.018) 3) การรับรู้ความสามารถของตนเองส่งผลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย (β = 0.765, p < .05) ในขณะที่ความเพียรส่งผลทางลบต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย (β = -0.704, p < .05) อย่างไรก็ดีสุขภาวะไม่ได้ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to study the level of self-efficacy, grit, well-being, and cadet military achievement, 2) to examine the goodness of fit of the structural equation modeling of effects of self-efficacy on military achievement of cadet students which grit and well-being as mediators with the empirical data, and 3) to analyze the role of mediators of grit and well-being of the structural equation modeling of effects of self-efficacy on military achievement of cadet students. The participants were 805 second to fifth-year cadet students and chosen by stratified random sampling. Research instruments were a self-efficacy scale, a grit scale, and a well-being scale. Data were analyzed using LISREL Program for Structural Equation Modeling (SEM). Findings were as follows: 1) Overall, the cadet students had a high level of well-being (%RWB = 70.00) whereas their cadet military achievement, grit, and self-efficacy are at a moderate level (%RCMA = 47.25; %RGRT = 44.00; %RSE = 35.00). 2) The result from the Structural Equation Modeling indicated that the model fit well to the empirical data (Chi-Square = 44.620, df = 36, p = 0.131, Chi-Square/df = 1.239, GFI = 0.991, AGFI = 0.978, NFI = 0.997; RMR = 0.015, RMSEA = 0.018). 3) Self-efficacy had direct influence on cadet military achievement (β = 0.765, p < .05) whereas grit had a negative effect on cadet military achievement (β = -0.704, p < .05). However, there was no significant effect of well-being on cadet military achievement. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.781 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Psychology | - |
dc.title | อิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อยโดยมีความเพียรและสุขภาวะเป็นตัวแปรส่งผ่าน | - |
dc.title.alternative | Effects of self-efficacy on military achievement of cadet students with grit and well-being as mediators | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาการศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.keyword | การรับรู้ความสามารถของตนเอง | - |
dc.subject.keyword | ความเพียร | - |
dc.subject.keyword | สุขภาวะ | - |
dc.subject.keyword | ผลสัมฤทธิ์ทางทหารของนักเรียนนายร้อย | - |
dc.subject.keyword | Self-efficacy | - |
dc.subject.keyword | Grit | - |
dc.subject.keyword | Well-being | - |
dc.subject.keyword | Cadet Military Achievement | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.781 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6183349527.pdf | 8.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.