Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70038
Title: | การพัฒนาเครื่องมือวัดตัวแปรที่มีความอ่อนไหว: การประยุกต์อาร์อาร์ทีและเอสดีเอสในการวัดเจตคติของครูต่อเพศวิถี |
Other Titles: | Development of sensitive variable measurement tool: application of RRT and SDS in measuring teachers’ attitude towards sexuality |
Authors: | ภาณุวัฒน์ เข็มกลัด |
Advisors: | วรรณี แกมเกตุ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องมือวัดตัวแปรที่มีความอ่อนไหว โดยประยุกต์ใช้เทคนิค RRT และ SDS 2) เปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปรที่มีความอ่อนไหวระหว่างเครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT เครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT ร่วมกับ SDS เครื่องมือที่ใช้การถามโดยตรง และเครื่องมือที่ใช้การถามโดยตรงร่วมกับ SDS และ 3) เปรียบเทียบเจตคติของครูที่มีต่อเพศวิถีซึ่งวัดได้จากเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น ระหว่างครูที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน ตัวอย่างในการวิจัยคือ ครูผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ เขต 2 และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 267 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดเจตคติของครูที่มีต่อเพศวิถี จำนวน 4 รูปแบบ ได้แก่ (1) เครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT (2) เครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT ร่วมกับ SDS (3) เครื่องมือที่ใช้การถามโดยตรง และ (4) เครื่องมือที่ใช้การถามโดยตรงร่วมกับ SDS ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิง ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การกระจาย ความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ค่าความเที่ยงด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ การสร้างเกณฑ์แปลผลคะแนนโดยอ้างอิงบรรทัดฐานจากคะแนนทีปกติ และการวิเคราะห์เพื่อประมาณค่าคะแนนข้อคำถามรายข้อตามเทคนิค RRT ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เครื่องมือวัดตัวแปรที่มีความอ่อนไหวโดยประยุกต์ใช้เทคนิค RRT และ SDS ที่พัฒนาขึ้นในการวิจัยครั้งนี้เป็นเครื่องมือวัดเจตคติของครูที่มีต่อเพศวิถี ซึ่งมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การตีตราทางเพศ การประเมินค่าและความรู้สึก ความเชื่อเรื่องความเท่าเทียมกันทางสังคม และการแสดงออกต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ประกอบด้วย 4 รูปแบบ แต่ละรูปแบบมีลักษณะสำคัญและผลการตรวจสอบคุณภาพ ดังนี้ 1) เครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT มีลักษณะข้อคำถามเป็นแบบเลือกตอบ (ใช่/ไม่ใช่) จำนวน 31 ข้อ ซึ่งประยุกต์ใช้เทคนิค RRT (การใช้เครื่องมือสุ่ม และข้อคำถามที่ไม่กี่ยวข้องกับประเด็นที่มีความอ่อนไหว) โมเดลการวัดไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-square = 89.932, df = 4, p = 0.000, RMSEA = 0.535) ความเที่ยงทั้งฉบับอยู่ในระดับต่ำ (α = .507) มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ (ระยะเวลาเฉลี่ยในการตอบต่อข้อเท่ากับ 7.023 วินาที และไม่พบการสูญหายของข้อมูล) และไม่พบข้อคำถามที่มีอคติ 2) เครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT ร่วมกับ SDS มีลักษณะข้อคำถามเป็นแบบเลือกตอบ (ใช่/ไม่ใช่) จำนวน 31 ข้อ ซึ่งประยุกต์ใช้เทคนิค RRT (การใช้เครื่องมือสุ่ม และข้อคำถามที่ไม่กี่ยวข้องกับประเด็นที่มีความอ่อนไหว) ประกอบกับมาตรวัดความต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคม มีความตรงเชิงโครงสร้างโดยโมเดลการวัดสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-square = 3.183, df = 1, p = 0.074, RMSEA = 0.105) ความเที่ยงทั้งฉบับอยู่ในระดับสูง (α = .840) มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ (ระยะเวลาเฉลี่ยในการตอบต่อข้อเท่ากับ 9.302 วินาที และไม่พบการสูญหายของข้อมูล) และไม่พบข้อคำถามที่มีอคติ 3) เครื่องมือที่ใช้การถามโดยตรง มีลักษณะข้อคำถามเป็นแบบเลือกตอบ (ใช่/ไม่ใช่) จำนวน 31 ข้อ มีความตรงเชิงโครงสร้างโดยโมเดลการวัดสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-square = 2.570, df = 2, p = 0.278, RMSEA = 0.081) ความเที่ยงทั้งฉบับอยู่ในระดับพอรับได้ (α = .714) มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ (ระยะเวลาเฉลี่ยในการตอบต่อข้อเท่ากับ 9.686 วินาที และไม่พบการสูญหายของข้อมูล) และไม่พบข้อคำถามที่มีอคติ 4) เครื่องมือที่ใช้การถามโดยตรงร่วมกับ SDS มีลักษณะข้อคำถามเป็นแบบเลือกตอบ (ใช่/ไม่ใช่) จำนวน 31 ข้อ ประกอบกับมาตรวัดความต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคม มีความตรงเชิงโครงสร้างโดยโมเดลการวัดสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-square = 0.658, df = 2, p = 0.720, RMSEA = 0.000) ความเที่ยงทั้งฉบับอยู่ในระดับสูง (α = .813) มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ (ระยะเวลาเฉลี่ยในการตอบต่อข้อเท่ากับ 13.641 วินาที และไม่พบการสูญหายของข้อมูล) และไม่พบ ข้อคำถามที่มีอคติ 2. ผลการเปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติของเครื่องมือวัดเจตคติของครูที่มีต่อเพศวิถี ทั้ง 4 รูปแบบ มีดังนี้ 1) ด้านความตรงเชิงโครงสร้าง เครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT และ SDS โมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และเป็นโมเดลที่มีความเหมาะสมมากที่สุด 2) ด้านความเที่ยง เครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT และ SDS นั้นมี ค่าความเที่ยงทั้งฉบับสูงที่สุด 3) ด้านความเป็นไปได้ในการใช้แบบวัดฯ เครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT ร่วมกับ SDS นั้นมีคุณภาพที่ดีเป็นอันดับที่สอง (ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยต่อข้อน้อยและไม่พบข้อมูลสูญหาย) โดยอันดับที่หนึ่งคือเครื่องมือที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT ซึ่งโมเดลการวัดไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์จึงพิจารณาคัดออก และ 4) ด้านความไร้อคติ เครื่องมือทั้ง 4 รูปแบบไม่พบข้อที่ทำให้เกิดความลำเอียง/อคติจากทั้งเพศ และอายุของครู จึงสามารถสรุปได้ว่า เครื่องมือวัดเจตคติของครูที่มีต่อเพศวิถีที่ประยุกต์ใช้เทคนิค RRT ร่วมกับ SDS นั้นมีคุณสมบัติทางจิตมิติดีที่สุด 3. ผลการเปรียบเทียบเจตคติของครูที่มีต่อเพศวิถีระหว่างครูที่มีเพศและอายุแตกต่างกัน พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศมีระดับเจตคติสูงที่สุด รองลงมาคือครูเพศชายและครูเพศหญิงตามลำดับ นอกจากนี้พบว่า 1) ครูที่มีอายุน้อยกว่า 31 ปีมีคะแนนเจตคติสูงกว่าครูที่มีอายุ 41-50 ปีและครูที่มีอายุมากกว่า 50 ปี 2) ครูที่มีอายุ 31-40 ปีมีคะแนนเจตคติสูงกว่าครูที่มีอายุ 41-50 ปีและครูที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และ 3) ครูที่มีอายุ 41-50 ปีมีคะแนนเจตคติสูงกว่าครูที่มีอายุมากกว่า 50 ปี |
Other Abstract: | This descriptive research aimed to 1) develop instruments for measuring sensitive variable by applying randomized response technique with the unrelated question design (RRT) and social desirability scale (SDS) technique; 2) compare the psychometric properties of the instruments for measuring sensitive variable with 4 variations, i.e., tools using RRT, RRT and SDS, direct questioning, and direct questioning and SDS techniques; and 3) compare the attitude towards sexuality of teachers with different backgrounds, using the developed instrument. The samples were randomly drawn from 267 secondary teachers of the Secondary Educational Service Area Offices 1 & 2, and the Office of the Private Education Commission in Bangkok, by using multistage random sampling. The research instruments were the attitude towards sexuality scale with the 4 techniques. The data were analyzed by using descriptive statistics and inferential statistics including frequency, percentage, mean, standard deviation, coefficient of variation, skewness, kurtosis, Pearson’s correlation, two-way ANOVA, confirmatory factor analysis, Cronbach’s alpha coefficient, DIF (different item functioning), normalized T-score for developing norm reference, and RRT point estimation. The research findings were as follows: 1. In this research, the sensitive variable was defined as attitude towards sexuality that consisted of 4 components: 1) sexual stereotype, 2) affective-feeling, 3) social equality beliefs, and 4) the expression towards LGBTQ. The results for each developed instrument were as follows: 1) Psychometric properties of the RRT. The instrument consists of 31 Yes/No items and RRT with randomized devices and unrelated questions. Its measurement model was not consistent with the empirical data (chi-square = 89.932, df = 4, p = .000, RMSEA = .535) and the reliability was low (α = .507). This measurement was feasible to use (took 7.023 sec./item without omitted items). Lastly, no items were bias among gender and age. 2) Psychometric properties of the RRT and SDS. The instrument consists of 31 Yes/No items and RRT with randomized devices and unrelated questions. The instrument were used with SDS. Its measurement model was consistent with the empirical data (chi-square = 3.183, df = 1, p = .074, RMSEA = .105) and the reliability was good (α = .840). This measurement was feasible to use (took 7.023 sec./item without omitted items). Lastly, no items were bias among gender and age. 3) Psychometric properties of the direct questioning. The instrument consists of 31 Yes/No items. Its measurement model was consistent with the empirical data (chi-square= 2.570, df = 2, p = .278, RMSEA = .081) and the reliability was acceptable (α = .714). This measurement was feasible to use (took 9.686 sec./item without omitted items). Lastly, no items were bias among gender and age. 4) Psychometric properties of the direct questioning and SDS. The instrument consists of 31 Yes/No items and were used with SDS. Its measurement model was consistent with the empirical data (chi-square = 0.658, df = 2, p = .720, RMSEA = .000) and the reliability was good (α = .813). This measurement was feasible to use (took 13.641 sec./item without omitted items). Lastly, no items were bias among gender and age. 2. By comparing the psychometric properties of 4 developed instruments, the research findings were as follows: 1) In construct validity, the measurement models of RRT and SDS were consistent with the empirical data highly recommended to use. 2) In the reliability, the RRT and SDS had the best reliability. 3) In the feasibility, the response times of the RRT and SDS were less than that of the eliminated-RRT, but greater than that of others. and 4) In the unbiased, no items were bias among gender and age. Finally, the results could be concluded that the attitude towards sexuality scale using RRT and SDS techniques had the best psychometric properties. 3. The attitude towards sexuality significantly differed among teachers’ gender and age. The LGBTQ teachers had the highest levels of attitude towards sexuality, while, male and female teachers had lower levels of the attitudes. Teachers younger than 31 years old had higher level of attitude towards sexuality than those with the age of 41-50, and over 50 years old. Teachers with the age between 31 and 40 years old had higher level of attitude towards sexuality than those with the age of 41-50, and over 50 years old. Lastly, Teachers with the age between 41 and 50 years old had higher level of attitude towards sexuality than those with the age over 50 years old. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70038 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1176 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.1176 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6183364927.pdf | 4.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.