Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70042
Title: ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2
Other Titles: Effects of physical education learning management using active learning on learning achievement and problem solving abilities of eighth grade students
Authors: จิรกิตติ์ เนาวพงศ์รัตน์
Advisors: ภารดี ศรีลัด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาเชิงรุกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาเชิงรุกและของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาเชิงรุกกับนักเรียนควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 68 คน โดยแบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง จำนวน 34 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 34 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.90  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ คุณธรรม เจตคติ ทักษะกีฬา และสมรรถภาพทางกาย มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.96  และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าที (t-test)                     ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ คุณธรรม เจตคติ ทักษะกีฬา สมรรถภาพทางกาย และความสามารถในการแก้ปัญหา หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05                        ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ คุณธรรม เจตคติ ทักษะกีฬา สมรรถภาพทางกาย และความสามารถในการแก้ปัญหา หลังการทดลองของกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลอง                                                  2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ คุณธรรม เจตคติ ทักษะกีฬา สมรรถภาพทางกาย และความสามารถในการแก้ปัญหา หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study The Effects of Active Learning in Physical Education Management to learning and problem solving ability of Matthayom 2 students. 1) to compare the average scores of learning achievements and problem solving ability before and after the experiment of students in experiment group who received the Active Learning in physical education management program and the control group who received the normal physical education instruction program. 2) to compare the average scores of learning achievement and problem solving ability of students in the experimental group and the control group after finish the program. The samples of this study were 68 students of eighth grades. They were divided into two groups; There are 34 students in experimental group and 34 students in control group. The research instruments are the active learning lesson plan, there were 8 lesson plans with the IOC equal to 0.90, Physical education achievement measurement with the IOC equal to 0.96, Problem solving ability measurement with the IOC equal to 1.00. The analysis of this qualitative data was shown in mean , standard deviation , and t-test.                                              The results findings were as follows: 1) The mean scores of the learning achievement and problem solving abilities of the experimental group students after learning were significantly higher than before learning at a .05 level.                        The mean scores of the learning achievement and problem solving abilities of the control group students after learning were found to have no significantly differences than before learning.                                                 2) The mean scores of the learning achievement and problem solving abilities of the experimental group after learning were significantly higher than the control at a .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70042
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1420
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1420
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6183818527.pdf7.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.