Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70102
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเปรมใจ วังศิริไพศาล-
dc.contributor.authorอัญชลี ศรีชมภู-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-11T13:41:37Z-
dc.date.available2020-11-11T13:41:37Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70102-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาและข้อท้าทายในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กผู้ลี้ภัยในเขตเมืองในโรงเรียนไทย (2) ศึกษาทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลต่อการจัดการศึกษา และ (3) หาแนวทางในการส่งเสริมการจัดการศึกษาที่เหมาะสม ภายใต้กรอบแนวปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย และแนวทางการคุ้มครองและดูแลเด็กผู้ลี้ภัยในประเด็นด้านการจัดการศึกษาของ UNHCR ซึ่งเก็บข้อมูลจากโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน จำนวน 5 แห่ง ใช้การศึกษาแบบพหุกรณีศึกษาโดยการศึกษาจากเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ครูผู้สอน เด็กผู้ลี้ภัยในเขตเมือง เด็กไทย และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ผลการศึกษา พบว่า สภาพการจัดการศึกษาสำหรับเด็กผู้ลี้ภัยในเขตเมืองในโรงเรียนไทย ใช้รูปแบบเดียวกันกับเด็กไทยทุกประการ ซึ่งหลายโรงเรียนให้การสนับสนุนและช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้โดยการจัดสอบเทียบโอนความรู้ในระดับชั้นที่หายไป การสอบเลื่อนชั้นกลางปี และความยืดหยุ่นในการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเผชิญกับข้อท้าทายในการดำเนินงานในหลาย ๆ ประการ อาทิ อุปสรรคด้านทักษะทางภาษาไทยของเด็กผู้ลี้ภัย ฯ จำนวนบุคลากรทางการศึกษาที่ไม่เพียงพอ และการขาดการประสานความร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ในขณะที่ผลของการศึกษาทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลต่อการจัดการศึกษา พบว่า บุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจสถานการณ์ของเด็กผู้ลี้ภัย และมองว่าการให้โอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันกับเด็กไทยเป็นสิทธิที่พวกเขาพึงจะได้รับ แต่มีบุคลากรบางส่วนที่มองว่า การให้การศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มนี้ส่งผลกระทบทางลบต่อเด็กไทยและทำให้ยากต่อการบริหารจัดการของโรงเรียน ทั้งในงานวิจัยนี้ยังได้เสนอแนวทางในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มนี้ใน 3 รูปแบบ คือ  คือ (1) การจัดห้องเรียนพิเศษสำหรับเด็กผู้ลี้ภัยในเขตเมืองในโรงเรียนไทย (2) การจัดตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กผู้ลี้ภัยในเขตเมืองโดยเฉพาะ และ (3) การจัดการศึกษาในโรงเรียนไทยตามปกติ แต่เพิ่มการประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้จัดตั้งหรือพัฒนาศูนย์การเรียนเดิม ให้สามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อปรับพื้นฐานความรู้ ทักษะทางภาษาไทย และทักษะการใช้ชีวิตที่จำเป็นอย่างเพียงพอและมีมาตรฐานเดียวกันให้กับเด็กผู้ลี้ภัยในเขตเมือง ก่อนที่จะส่งพวกเขาเข้ารับการศึกษาต่อในโรงเรียนไทย ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้มากที่สุด-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to study the challenge of educational management for urban refugee children in Thai schools, understand the attitudes of school directors and teachers affecting educational management, and recommend guidelines for promoting appropriate education for urban refugee children consistent with Thai Department of Education regulations  and UNHCR best practices. The data was collected by schools in Bangkok both public and private schools in a total of 5 locations  by using multi-case studies; document analysis, observation, in-depth interviews, and group discussions from major informants such as directors, teachers, urban refugee children, Thai children, and others. The results revealed that the condition of educational management for urban refugee children in Thai schools applied identical education for Thai children in all aspects. However, there are still many operational challenges, including  obstacles in Thai language skills, an insufficient number of teachers, and the lack of coordination among relevant departments. The second results revealed that the majority of school directors and teachers recognize the challenges faced by urban refuge children and agree education is a right to which they are entitled.  The guidelines developed from this research include establishing dedicated classrooms for urban refugee children, dedicating specific school(s) for them, and increasing collaboration to establish dedicated learning centers and improve existing ones with focus on improving Thai language skills and facilitating better integration into Thai society. However, the mission of dedicated learning centers for urban refugee children should be to facilitate matriculation to Thai schools rather than as stand-alone educational alternatives. Of these three guidelines, the last is most feasible given the current context.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1040-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการจัดการศึกษาสำหรับเด็กผู้ลี้ภัยในเขตเมืองในโรงเรียนไทย-
dc.title.alternativeThe educational management for urban refugee children in Thai school-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพัฒนามนุษย์และสังคม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1040-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6087280420.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.