Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70120
Title: | การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของ กระทรวงพาณิชย์ |
Other Titles: | Process improvement in issuing certificate of origin by Ministry of Commerce |
Authors: | ศิรินพ เอี่ยมศิริ |
Advisors: | กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Kamonchanok.S@Chula.ac.th |
Subjects: | เอกสารการค้า ใบรับรองแหล่งกำเนิด Commercial documents Certificates of origin |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้นำเสนอการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของสำนักบริการการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยการสร้างแบบจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม Arena เพื่อพิจารณาระยะเวลาในการให้บริการและระยะเวลารอคอยของผู้ใช้บริการ และใช้แบบจำลองที่ได้มาทดลองเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการโดยการเพิ่มช่องทางพิเศษ (Fast lane) ให้กับผู้ใช้บริการรายย่อย โดยจะพิจารณาจากขั้นตอนการออกหนังสือรับรองฯในปัจจุบันซึ่งขั้นตอนในปัจจุบันพบว่า ระยะเวลาในการให้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 117.60 นาที และระยะเวลารอคอยเฉลี่ยอยู่ที่ 47.10 นาที หลังจากดำเนินการวิจัยโดยการเพิ่มช่องทางพิเศษพบว่าการเพิ่มช่องทางพิเศษสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้จริงโดยจำนวนฉบับที่เหมาะสมสำหรับช่องทางพิเศษและทำให้ช่องทางพิเศษ มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ 1-8 ฉบับ โดยระยะเวลาในการให้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 51.40 นาที ลดลงจากเดิม 56.29% และระยะเวลารอคอยเฉลี่ยอยู่ที่ 20.25 นาที ลดลงจากเดิม 57.01% โดยมีการใช้อรรถประโยชน์อยู่ที่ 65.02% |
Other Abstract: | This research presents Certificates of Origin issuance process improvement by Bureau of Foreign Trade Service, Ministry of Commerce. Applying Arena program to create simulation models in identifying clients’ total time and waiting time results, this study aims to improve the service quality by adding fast lane counters for small clients together with comparing the simulation results of the pre and post models. In conclusion, the analysis shows that the average of the pre-model total time is 117.60 minutes while its average waiting time is 47.10 minutes. In addition, these model comparisons prove that 1 to 8 copies per client is the most suitable suggestion to increase the service efficiency and productivity by reducing the average total time to 51.40 minutes (56.29%), the average waiting time to 20.25 minutes (57.01%) and the average utilization to 65.02% |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70120 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.658 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.658 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6187232420.pdf | 5.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.