Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7012
Title: การออกแบบและสร้างใบมีดจอบหมุนชนิดใหม่สำหรับเตรียมดินในไร่และนา
Other Titles: Design and construction of new rotary blade for tilling soil in upland and lowland farming
Authors: กวี ศรีทองกุล
Advisors: สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fmesps@eng.chula.ac.th
Subjects: เครื่องจักรกลการเกษตร -- การออกแบบและการสร้าง
เครื่องพรวนดิน
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างใบมีดจอบหมุนชนิดใหม่สำหรับเตรียมดินในไร่และนา ใบมีดจอบหมุนมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ ใบมีดส่วนตรง ใบมีดส่วนปลายและด้ามใบมีด โดยแนวคิดในการออกแบบคือ ออกแบบส่วนตรงของใบมีดให้มีลักษณะตรง เพื่อลดความซับซ้อน ในขั้นตอนการขึ้นรูป ส่วนปลายใบมีดออกแบบให้มีมุมเฉือน (Slice angle) ทำให้ขอบคมของใบมีด เฉือนตัดดิน เพื่อลดแรงกระแทกขณะใบมีดพรวนดิน และมีผิวตัก (Scoop surface) ทำให้ไม่เกิดการ เสียดสีระหว่างดินกับผิวด้านนอกใบมีด เพื่อลดแรงต้านทานจากดินที่กระทำต่อใบมีด ความลึกสูงสุด การพรวน 15 เซนติเมตร และผิวดินชั้นล่างหลังการพรวนเรียบ การวิจัยนี้จะออกแบบให้มุมเฉือน ของใบมีดมีค่าต่างๆ กัน 4 ค่าคือ 10, 15, 20 และ 25 องศา ใบมีดแต่ละใบสลับกันยึด กับชุดอุปกรณ์ วัดแรง EOR (Extend Octagonal Ring) แล้วนำมาพรวนดินที่เตรียมไว้ในกระบะทดลอง เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ขนาดของแรงต้านทานลัพธ์ที่กระทำต่อใบมีดระหว่างใบมีดจอบหมุนแบบยุโรปกับใบมีด ต้นแบบ และความสัมพันธ์ระหว่างแรงต้านทานลัพธ์ที่กระทำต่อใบมีดที่มีค่ามุมเฉือนต่างๆ กับองศา การหมุนเพลาใบมีด จากการทดลองพบว่า ความลึกการพรวนดินคือ 15 เซนติเมตร และชั้นดินหลัง การพรวนเรียบทุกการทดลอง ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของการออกแบบ โดยแรงต้านทานลัพธ์ ขณะพรวนดินของใบมีดจอบหมุนแบบยุโรป มีลักษณะเป็นแรงกระแทกทุกระยะตัดสิน สำหรับใบมีด ต้นแบบ ที่ระยะตัดสิน 4 เซนติเมตร มุมเฉือนที่เพิ่มขึ้นจาก 10 ถึง 20 องศา สามารถลดขนาดของ แรงต้านทานลัพธ์ได้ 25 เปอร์เซ็นต์ ส่วนมุมเฉือนเกินกว่า 20 องศา ไม่สามารถลดแรงได้อีก แต่ที่ระยะตัดดิน 6 และ 8 เซนติเมตร ซึ่งเป็นช่วงใช้งานจริง ค่ามุมเฉือนที่เพิ่มจาก 10 ถึง 25 องศา สามารถลดแรงต้านทานลัพธ์ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงสรุปได้ว่าใบมีดจอบหมุนต้นแบบ ที่มีค่ามุมเฉือน 10 องศา น่าจะมีความเหมาะสมที่สุด
Other Abstract: The objective of this thesis is to design and construction rotary blade for reducing soil impacted-resistance forces. There are three important portions of a rotary blade, namely lengthwise, tip and holding blade. This paper presents the design concept of rotary blades. The lengthwise blade portion is straight in order to simplify the production process. The blade tip, designed for cutting and throwing soil, contains slice angle to avoid every portion of the cutting edge from impacting the soil surface at the same time. It also contains scoop surface to avoid the abrasion of blades outer surface from the soil, hence reducing the soil resistance. In experiments, slice angles of 10 ํ, 15 ํ, 20 ํ and 25 ํ are employed in order to determine the relationship between the impacting forces with slice angle and the rotational angle of rotary shaft. Four prototype blades with different slice angles are then tested on the testing set EOR (Extend Octagonal Ring), composing of a moving soil bin and a stationary rotating rotary shaft. The experiments results showed that every design of the blade gives satisfying flat tilled-soil bed and tillage depth of 15 cm. At tillage pitch of 4 cm, the increasing of slice angle from 10 ํ to 25 ํ results in a significantly decreasing reaction force. The maximum reaction force for the blade decreases 25 percent when the angle is increased from 10 ํ to 20 ํ. However, a slice angle above 20 ํ can no longer reduce the reaction force. Whereas for the pitches of 6 and 8 cm, the practical value of actual soil tillage pitch, the increasing of slice angle from 10 ํ to 25 ํ can slightly decrease the reaction force. From this experiment, it can be concluded in view of that the designed blade with the slice angle of 10 ํ is the most appropriate.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7012
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.914
ISBN: 9741743041
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.914
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kavee.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.