Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70161
Title: การเตรียมโซเดียมอะลูมิเนตจากของเสียอะลูมินาจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อกำจัดฟอสฟอรัสในน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียฟาร์มสุกร
Other Titles: Preparation of sodium aluminate from alumina waste from petroleum industry for phosphorus removal from domestic wastewater and swine wastewater
Authors: วิไลวรรณ เทียนกระจ่าง
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
เรวดี อนุวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Orathai.C@Chula.ac.th
Rewadee_A@Tistr.or.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาแนวทางการจัดการของเสียอะลูมินาจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้ดูดซับความชื้นจากอากาศในห้องปฏิบัติการ โดยนำมาใช้เป็นวัตถุดิบเริ่มต้นในการเตรียมโซเดียมอะลูมิเนต ซึ่งจุดมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการเตรียมโซเดียมอะลูมิเนตจากของเสียอะลูมินาจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและศึกษาการนำโซเดียมอะลูมิเนตที่เตรียมได้มาทดลองกำจัดฟอสฟอรัสจากน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียฟาร์มสุกร ซึ่งจะทำการทดลองเตรียมโซเดียมอะลูมิเนตโดยการละลายของเสียอะลูมินาในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ปรับเปลี่ยนความเข้มข้นของ โซเดียมไฮดรอกไซด์และอัตราส่วนโดยโมลของโซเดียมออกไซด์ต่ออะลูมินา (Na2O:Al2O3) จากผลการศึกษาพบว่าโซเดียมอะลูมิเนตที่เตรียมได้จากการใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ 6 โมลาร์  และอัตราส่วนโดยโมลของโซเดียมออกไซด์ต่ออะลูมินาที่ 2:0.75 มีผลการวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (X-ray Diffraction : XRD) ได้กราฟการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์คล้ายกับโซเดียมอะลูมิเนตมาตรฐาน (บริสุทธิ์) และไม่มีตำแหน่งกราฟของของเสียอะลูมินาที่ใช้เป็นวัตถุดิบเหลืออยู่ และมีค่าร้อยละการเกิดผลึกสูงที่สุด (93.62%) โครงสร้างผลึกส่วนใหญ่คล้ายกับโซเดียมอะลูมิเนตมาตรฐานซึ่งมีรูปร่างเป็นออร์ทอรอห์มบิกและมีรูปร่างทรงสี่หน้า รวมทั้งมีองค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่คล้ายกับโซเดียมอะลูมิเนตมาตรฐาน เมื่อนำโซเดียมอะลูมิเนตมากำจัดฟอสฟอรัสในน้ำเสียสังเคราะห์พบว่าอัตราส่วนโดยมวลของอะลูมิเนียมต่อฟอสฟอรัสที่อัตราส่วน 3:1 และค่าพีเอชที่ 6.5 เป็นสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดฟอสฟอรัส และเมื่อศึกษากำจัดฟอสฟอรัสในน้ำเสียชุมชนพบว่าอัตราส่วนโดยมวลอะลูมิเนียมต่อฟอสฟอรัสที่เหมาะสมของการกำจัดออโธฟอสฟอรัสและฟอสฟอรัสทั้งหมดโดยใช้โซเดียมอะลูมิเนตที่เตรียมได้และโซเดียมอะลูมิเนตที่ขายทางการค้ามีอัตราส่วนใกล้เคียง คือ 6:1 และ 7.3:1 ตามลำดับ เมื่อศึกษาการกำจัดฟอสฟอรัสในน้ำเสียฟาร์มสุกรพบว่าอัตราส่วนโดยมวลของอะลูมิเนียมต่อฟอสฟอรัสที่เหมาะสมของการกำจัดออโธฟอสฟอรัสและฟอสฟอรัสทั้งหมดโดยใช้โซเดียมอะลูมิเนตที่เตรียมได้และโซเดียมอะลูมิเนตที่ขายทางการค้าใกล้เคียง คือ  7.5:1 ถึง 9:1
Other Abstract: In this research, alumina waste from absorb moisture from the air in laboratories in the petrochemical industry was used to recycle as raw material for preparation of sodium aluminate. The aim of this research is to determine the optimum conditions for preparation sodium aluminate from such alumina waste from petrochemical industry. Then, sodium aluminate prepared from alumina waste was used for precipitate phosphorus from domestic wastewater and swine wastewater. Sodium aluminate was prepared by the dissolution of alumina waste in a sodium hydroxide. The amount of alumina waste and the concentration of sodium hydroxide were adjusted to the mole ratio of sodium oxide and alumina (Na2O:Al2O3). The results showed that the optimum concentration of sodium hydroxide was 6M and the ratio of Na2O: Al2O3 was 2:0.75. The results from prepared sodium aluminate analysis showed that it had the XRD spectra similar to sodium aluminate standard graph.The highest percentage of sodium aluminate crystal (93.62%). The structures are approximately similar to the sodium aluminate standard. It mostly consisted of orthorhombic and tetrahedral crystals. It was observed that the optimum ratio of aluminium (Al content in sodium aluminate) and phosphorus for phosphorus removal from synthesis wastewater was the ratio 3:1 at pH 6.5. However, the optimum ratio of aluminium and phosphorus for ortho phosphorus and total phosphorus removal from domestic wastewater and swine wastewater was about 2 time higher than from synthesis wastewater.  The optimum ratio of aluminium and phosphorus for ortho phosphorus and total phosphorus removal from domestic wastewater and swine wastewater were 6:1 and 7.5:1, respectively and 7.5:1 and 9:1, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70161
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570379221.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.