Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70193
Title: การเร่งปฏิกิริยาดีไฮเดรชันของเอทานอลไปเป็นไดเอทิลอีเทอร์บนตัวเร่งปฏิกิริยาไฮดรอกซีอะพาไทท์และอะลูมินาที่ปรับปรุงด้วยแพลลาเดียม
Other Titles: Catalytic ethanol dehydration to diethyl ether over hydroxyapatide/alumina catalysts with palladium modification
Authors: ณัฏฐ์ดนัย ลิขิตพิริยะ
Advisors: บรรเจิด จงสมจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bunjerd.J@Chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบัน มีอัตราการเจริญเติบโตของประชากรที่สูงขึ้น จึงเป็นผลให้มีการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นในทุกวัน ซึ่งส่งผลให้ทรัพยากรที่ใช้ผลิตพลังงานดังกล่าวมีแนวโน้มที่ลดลง ดังนั้นเราต้องมีการคำนึงถึงพลังงานทางเลือกใหม่ที่สามารถลดการปล่อยมลภาวะได้ พลังงานชีวมวลเป็นพลังงานทางเลือกที่สามารถทำให้ลดใช้พลังงานจากแหล่งปิโตรเคมีได้ ในปัจจุบันได้มีการนำพลังงานชีวมวลมาใช้เป็นสารเติมแต่งให้กับน้ำมันเชื้อเพลิงจากปิโตรเคมี ไดเอทิลอีเทอร์ เป็นสารที่ให้พลังงานรูปแบบใหม่ เหมาะกับเป็นสารเติมแต่ง ในงานวิจัยเล่มนี้ได้ทำการศึกษาสภาวะการผลิตไดเอทิลอีเทอร์ จากปฏิกิริยาขจัดน้ำของเอทานอล โดยผ่านตัวเร่งปฏิกิริยาที่สังเคราะห์มาจากไฮดรอกซีอะพาไทท์และอะลูมินา โดยทำการศึกษาที่ส่วนผสมในร้อยละที่แตกต่างกัน เพื่อหาสัดส่วนมวลที่ดีที่สุด และนำไปผสมโลหะแพลเลเดียม เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวเร่งปฏิกิริยาให้ดีขึ้น การวัดคุณสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยา จะใช้เครื่องมือดังต่อไปนี้ การวิเคราะห์จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM), การวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุของวัสดุด้วยเทคนิคจุลวิเคราะห์ (EDX), เครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (XRD), การคำนวณพื้นที่ผิวโดยวิธีดูดซับทางกายภาพด้วยไนโตรเจน (N2 physisorption) และเทคนิคโปรแกรมอุณหภูมิเพื่อทดสอบการคายซับโดยใช้ก๊าซแอมโมเนีย (NH3-TPD) ปฏิกิริยาถูกทดสอบในสภาวะไอภายใต้ความดันบรรยากาศ ที่อุณหภูมิตั้งแต่ 200 ถึง 400 องศาเซลเซียส ซึ่งจากการทดลองพบว่า อัตราส่วนโดยน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับตัวเร่งปฏิกิริยาจากไฮดรอกซีอะพาไทท์และอะลูมินาเป็น 2 ต่อ 8 โดยน้ำหนัก โดยตัวเร่งปฏิกิริยาดังกล่าว มีค่าการเลือกเกิดของไดเอทิลอีเทอร์ได้สูงสุดร้อยละ 85.92 ที่อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส แต่เนื่องด้วยมีค่ายังผลที่ต่ำเท่ากับร้อยละ 10.8 จึงได้นำตัวเร่งปฏิกิริยาไปปรับปรุงโดยอาศัยแพลลาเดียมเป็นสารเติมแต่ง ซึ่งผลสามารถสรุปได้ว่า ค่ายังผลของไดเอทิลอีเทอร์สูงขึ้นเท่ากับ 22.5 ที่อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส
Other Abstract: At present, the population growth rate higher, resulting in an increase in energy consumption every day. As a result, the energy resource is likely to decline, so we have to consider alternative energy that can reduce pollution emissions. Biomass energy is an alternative energy that can reduce energy use from petrochemical resources, but currently biomass energy has been used as an additive to petrochemical fuels Diethyl ether is a new type of energy substance. Its has the feature value that beneficial effect on petroleum petrochemical oil. Therefore, it is suitable to be used as an additive to upgrade oil quality. This research was conducted to investigate the diethyl ether synthesis condition from catalytic dehydration reaction of ethanol through the catalysts composed of hydroxyapatite (HAP) and alumina (Al2O3) by studying the suitable mass ratios of hydroxyapatite to alumina catalyst to produce the high yield of diethyl ether. The various ratios of hydroxyapatite to alumina catalysts were characterized using the following tools; scanning electron microscope (SEM), energy-dispersive X-ray spectroscopy (EDX), X-ray diffraction (XRD), temperature-programmed desorption of ammonia (NH3-TPD) and N2-physisorption. The catalysts were tested under atmospheric pressure and temperature range from 200oC to 400oC. From the result, It was found that optimal ratio of hydroxyapatite to alumina catalyst was 2 to 8  by weight%. The catalyst exhibited the highest selectivity of diethyl ether as 85.9% at 350oC. However, the low value of diethyl ether yield as 10.8% was obtained. Therefore, it was improved by using palladium (Pd). It revealed that the value of diethyl ether yield increased to 22.5% at 350oC with Pd promotion.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70193
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1297
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1297
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5871004321.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.