Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70231
Title: การศึกษาชั้นแอลฟาเคสและโครงสร้างเฉพาะบริเวณในโลหะผสมไทเทเนียม Ti-6Al-4V ที่ผ่านการขึ้นรูปด้วยกระบวนการหล่อแบบขี้ผึ้งหายและเทคนิคการพิมพ์สามมิติ
Other Titles: An investigation of alpha-case layer and local structure in titanium alloy Ti-6Al-4V produced by lost wax casting and 3D printing technique
Authors: ธนชัย บุญชูดวง
Advisors: บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน
เชษฐา พันธ์เครือบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Boonrat.Lo@Chula.ac.th
Chedtha.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โลหะไทเทเนียมผสม ถูกนำมาวิจัยพัฒนาการใช้งานในทางการแพทย์และทันตกรรมอย่างแพร่หลาย โดยนิยมใช้กระบวนการหล่อแบบขี้ผึ้งหายในการขึ้นรูปเนื่องจากสามารถออกแบบได้ง่ายและได้ชิ้นงานใกล้เคียงกับที่ออกแบบไว้ แต่การผลิตชิ้นงานด้วยกระบวนการนี้มักมีโครงสร้างแบบหนึ่งที่เรียกว่า ชั้นของแอลฟาเคส ซึ่งมีความแข็งสูงและมีความเปราะ ไม่เหมาะกับการนำไปใช้งาน งานวิจัยนี้ได้อาศัยเทคนิคการดูดกลืนของรังสีเอกซ์และเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์เพิ่มจากเทคนิคทั่วไปในการตรวจสอบชั้นของแอลฟาเคส ผลการศึกษาพบว่า จุดเริ่มต้นชั้นของแอลฟาเคสเกิดเมื่อโลหะไทเทเนียมหลอมเหลวสัมผัสกับแบบหล่อแล้วเกิดสารประกอบซับออกไซด์ที่ไม่เสถียร ซึ่งเกิดจากการที่ออกซิเจนละลายเข้าไปในโลหะไทเทเนียมเป็นจำนวนมากเกินสมดุล หลังจากเย็นตัว สารประกอบซับออกไซด์จะเปลี่ยนเป็นไทเทเนียมเฟสแอลฟาที่มีออกซิเจนละลายอยู่ โดยความหนาของชั้นแอลฟาเคสจะขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นงาน สารประกอบที่ทำปฏิกิริยา รวมถึงค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของออกซิเจนในแต่ละเฟสของไทเทเนียมที่ประกอบอยู่ในโครงสร้าง ผลการตรวจสอบพบว่าออกซิเจนจะไปละลายอยู่ในตำแหน่ง interstitial site ของโครงสร้างผลึกแบบ HCP ในส่วนของชิ้นงานไทเทเนียมผสมที่ผ่านการขึ้นรูปแบบพิมพ์สามมิติไม่พบโครงสร้างชั้นของแอลฟาเคส แต่จะพบลักษณะการบิดเบี้ยวของโครงสร้างที่ทำให้ความแข็งสูงกว่าปกติ
Other Abstract: Titanium alloys were researched and developed in dental and medical applications. The most attractive manufacturing technique for titanium is lost wax casting owing to two main advantages: economics and near net-shape capability. However, lost wax casting usually has reaction at the surface called alpha-case layer which could negatively contribute to the bulk mechanical properties of the cast such as high hardness and lower ductility. This research was used more conventional technique such as X-ray absorption spectroscopy and X-ray diffraction. Formation of alpha-case layer begins when molten titanium reacts with investment, forming a metastable suboxide (Ti3O) which occurs from supersaturated dissolve of oxygen in titanium at high temperature. Subsequently, prior-formed Ti3O phase is transformed into oxygen-rich-α-titanium phase (alpha-case layer). The thickness of alpha-case layer depends on thickness of casted sample, investment materials and oxygen diffusion coefficient in solid phase(s) of casted titanium. In 3D printed sample, alpha-case was not detected but it had heavy distortion in crystal structure which effect to hardness of sample.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโลหการและวัสดุ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70231
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1228
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1228
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5971416321.pdf8.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.