Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70287
Title: เครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับแอปพลิเคชันแอนดรอยด์เพื่อเด็กอายุ 6 – 12 ปี
Other Titles: Heuristic-based usability evaluation tool for android applications for kids ages 6 – 12
Authors: ณัฏฐิกา ศรีเกียรติวงศ์
Advisors: ทวิตีย์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Twittie.S@Chula.ac.th
Subjects: แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์)
โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
ตัวเชื่อมประสานกับผู้ใช้ (ระบบคอมพิวเตอร์) -- การออกแบบ
Android (Electronic resource)
Mobile apps
User interfaces (Computer systems) -- Design
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกแบบโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับเด็กนั้นมีความแตกต่างจากการออกแบบโมไบล์แอปพลิเคชันสำหรับผู้ใช้งานที่เป็นผู้ใหญ่เนื่องจากเด็กมีพฤติกรรมและพัฒนาการที่ต่างกับผู้ใหญ่ และยังต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้และความสามารถในการใช้งานอีกด้วย การประเมินเชิงฮิวริสติกเป็นวิธีการประเมินความสามารถในการใช้งานส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ที่ได้รับความนิยม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความสามารถในการใช้งานทำการเปรียบเทียบการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้กับแนวทางการออกแบบหรือฮิวริสติกว่ามีความขัดแย้งกับแนวทางการออกแบบแต่ละข้อหรือไม่ แต่เนื่องจากแนวทางการออกแบบมีเป็นจำนวนมากจึงทำให้เป็นภาระในการประเมิน ทำให้บ่อยครั้งเกิดการตรวจพบข้อผิดพลาดได้ไม่ครบถ้วน จึงทำให้การประเมินเชิงฮิวริสติกมีประสิทธิภาพไม่ดีนัก งานวิจัยนี้ได้ทำการรวบรวมและปรับปรุงแนวทางการออกแบบความสามารถในการใช้งานเชิงฮิวริสติกสำหรับโมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อเด็กอายุ 6–12 ปี มาจากหลายแหล่ง แล้วนำไปประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้สำหรับโมไบล์แอปพลิเคชัน แนวทางการออกแบบที่ได้จะแบ่งออกเป็น 12 หมวด รวมทั้งหมด 94 รายการ จากนั้นได้ทำการพัฒนาเครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้งาน ซึ่งสามารถประเมินจากรหัสต้นฉบับของแอปพลิเคชันแอนดรอยด์ตามแนวทางการออกแบบเฉพาะในส่วนที่สามารถตรวจสอบได้อย่างอัตโนมัติจำนวน 25 รายการ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประเมินในการประเมินความสามารถในการใช้งานส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ จากการทดสอบการประเมินความสามารถในการใช้งานของ 5 แอปพลิเคชันสำหรับเด็กบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ตามรายการประเมิน 25 รายการที่สามารถตรวจสอบได้อย่างอัตโนมัติพบว่า เครื่องมือสามารถตรวจหาข้อผิดพลาดในการออกแบบที่ผู้ประเมินทั้งที่เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้และที่เป็นนักพัฒนาแอปพลิเคชันไม่สามารถตรวจพบได้ ในขณะที่เครื่องมือเองยังมีข้อจำกัดที่ทำให้ตรวจไม่พบข้อผิดพลาดที่ผู้ประเมินตรวจพบได้เช่นกัน ถึงอย่างนั้นก็ตามค่าเฉลี่ยของจำนวนจุดที่พบข้อผิดพลาดในการออกแบบเมื่อประเมินด้วยเครื่องมือมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ประเมินทั้งสองกลุ่มที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และจากการทดสอบประสิทธิภาพด้านเวลายังพบว่า เครื่องมือสามารถช่วยลดเวลาในการประเมินได้อีกด้วย
Other Abstract: Mobile application design for kids is different from that for adults because kids have different behavior and development requirements. The design needs to consider user experience and usability, and heuristic evaluation is a popular method for evaluating usability of user interface. Heuristic evaluation is performed by usability experts by inspecting the user interface on each screen and comparing it with usability design guidelines or heuristics whether there are any design violations. Since there are a large number of design guidelines, it is often that some design violations are missed, making the heuristic evaluation inefficient. This research collected and modified heuristic-based usability design guidelines for mobile applications for kids ages 6-12 from various sources and had them evaluated by experienced mobile UI designers. The resulting guidelines were divided into 12 categories, with a total of 94 guidelines. Also, a usability evaluation tool was developed for inspection of Android Applications source code based on 25 guidelines that can be automatically evaluated. The purpose of the tool is to relieve the burden of evaluators in the UI usability evaluation task. In an experiment to evaluate usability of five Android Applications for kids against the 25 guidelines that can be automatically evaluated, it was found that the usability evaluation tool could identify design violations that were missed by the evaluators who are experienced mobile UI designers and mobile developers. The tool, meanwhile, had some limitations and could not identify some violations that were reported by the evaluators. Nevertheless, the average number of violations detected by the tool was greater than that detected by the evaluators at a statistical significance level of 0.05. Furthermore, the tool could help reduce time needed for evaluation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมซอฟต์แวร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70287
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1267
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1267
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6071008421.pdf6.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.