Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70348
Title: ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนสูตรน้ำยาโฟมที่มีผลต่อความแข็งของเบาะรถยนต์
Other Titles: The relationship of foam formula ratio affecting hardness of automobile seat cushion 
Authors: จารุวัตร จินดาทองประภา
Advisors: สมเกียรติ ตั้งจิตสิตเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Somkiat.Ta@Chula.ac.th
Subjects: รถยนต์ -- ชิ้นส่วน -- การผลิต
Automobile -- Parts
Automobiles -- Seats
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ของอัตราส่วนสูตรน้ำยาโฟมเบาะรถยนต์ที่มีต่อความแข็งของเบาะรถยนต์ เนื่องจากพบปัญหาเบาะรถยนต์มีค่าความแข็งที่ไม่ได้ตรงตามมาตรฐานของลูกค้าจำนวนมาก ถึง 34.95 เปอร์เซ็นต์ ของลูกค้าที่มีการผลิตสูงสุดในโรงงานกรณีศึกษา วิเคราะห์สาเหตุด้วยแผนภูมิก้างปลา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อค่าความแข็งของโฟมนั้นคือ สูตรน้ำยาโฟม ซึ่งประกอบด้วย 1) น้ำยาโฟม PA  ที่มีส่วนผสมระหว่าง Polyol น้ำ สารลดแรงตึงผิว สารฟู เจล และซิลิโคน ในสัดส่วนเท่ากัน 2) น้ำยาโฟม PC  ที่มีส่วนผสมระหว่าง โคพอลิเมอร์ (ระหว่าง Polyoxyalkylenepolol กับ styrene-acrylonitrile polymer) สารลดแรงตึงผิว สารฟู เจล และซิลิโคน ในสัดส่วนเท่ากัน 3) น้ำยาโฟม ISO หรือ ที่เรียกว่า ไอโซไซยาเนต  ออกแบบการทดลองโดยมีสูตรน้ำยาโฟมเป็น 3 ปัจจัย และ ระดับของปัจจัยละ 3 ระดับ ทั้งหมด 27 การทดลอง ภายใต้ข้อจำกัดของ ระยะเวลาในการบ่ม 6 นาที และ  อุณหภูมิของแม่พิมพ์ 65 องศาเซลเซียส วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยโปรแกรม Minitab โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณและการถดถอยแบบขั้นตอนผสมระหว่างการเลือกแบบก้าวหน้าและการตัดทิ้งแบบถอยหลัง  ซึ่งพบว่าที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95 % นั้น PA, PC, ISO, ISO*ISO และ ISO*PC มีผลต่อค่าความแข็งของโฟมเบาะรถยนต์อย่างมีนัยสำคัญโดยที่ค่าความแข็งของโฟมเบาะรถยนต์มีทิศทางเพิ่มขึ้นนั้นเมื่อ น้ำยาโฟม PC และ น้ำยาโฟม ISO เพิ่มปริมาณขึ้น ขณะที่เมื่อเพิ่มปริมาณ น้ำยาโฟม PA นั้นมีผลต่อค่าความแข็งของโฟมเบาะรถยนต์ในทิศทางลดลง โดยค่าความแข็งและปัจจัยต่างๆมีความสัมพันธ์กันดังสมการ ค่าความแข็งของโฟม = 4551 - 2.991 PC - 30.70 ISO - 0.2407 PA + 0.05192 ISO*ISO + 0.01288 PC*ISO  มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจของสมการเท่ากับ ถึง 98.6 เปอร์เซ็นต์ สำหรับความแม่นยำของสมการนั้นมีค่าเท่ากับ 98.15 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาน้ำหนักชิ้นงานที่ 1,180 กรัม ซึ่งอยู่ในมาตรฐานที่ลูกค้ากำหนด  
Other Abstract: The purpose of this research is to study the relative of PU (Polyurethane foam) mixing ratio affecting on hardness of automobile seat cushion. Due to the high defect rate of the seat cushion hardness being 34.95% of production in a case study factory. By Using fish bone analysis, The studied factors were 1) PA consisted of polyol, blowing catalyst, gelling catalyst, surfactant, silicone and H2O; 2) PC consisted of copolymer (being Polyoxyalkylenepolol with Styrene-acrylonitrile polymer),blowing catalyst, gelling catalyst, surfactant and silicone; and 3) ISO (Isocyanate). This experiment has 3 factors with 3 difference levels of each, totally 27 experiments, under condition of foam formation time for 6 mins with molding temperature at 65 °C then, it was analyzed by MINITAB program with multiple regression method. The result was shown as 95% reliability, the mixing ratio of PA PC ISO ISO*ISO and ISO*PC was effect on hardness significantly. The hardness increased when PC and ISO increased, On the other hand, the more amount of PA increased; the more hardness decreased. The relationship equation of the hardness and the factors was found as  Hardness = 4551-2.991PC-30.70ISO-0.2407PA+0.05192ISO*ISO+0.01288PC*ISO with 98.6% prediction coefficient. The accuracy of this model is 98.15% where the weight of work piece was 1,180 grams, and also met the standard requirement of customer.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70348
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1304
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1304
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6170910321.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.