Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7062
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เริงรัชนี นิ่มนวล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-05-28T09:38:01Z | - |
dc.date.available | 2008-05-28T09:38:01Z | - |
dc.date.issued | 2538 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7062 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพิ่อเปรียบเทียบคุณลักษณะและผลงานของอาจารย์ภาษาฝรั่งเศสระดับอุดมศึกษาช่วงต้นแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2531) และช่วงกลางแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2537) ประการที่สอง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสภาพการเรียนการสอนและปัญหาในการสอน ระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2537 และ พ.ศ. 2543 และประการสุดท้าย เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิวิชาภาษางฝรั่งเศสกับอาจารย์ภาษาฝรั่งเศสเกี่ยวกับปัญหาสำคัญและแนวทางการแก้ไขปัญหา ข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้ได้จากแบบสอบถามอาจารย์ภาษาฝรั่งเศส สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ 15 คณะ รวม 9 สถาบัน เป็นจำนวน 74 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 70.48 ของจำนวนแบบสอบถามทั้งสิ้น 105 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายร้อยละ ได้ผลการวิจัยโดยสรุปดังนี้ 1. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักสูตรวิชาภาษาฝรั่งเศสและจำนวนบุคลากร 1.1 โครงสร้างหลักสูตรวิชาภาษาฝรั่งเศส ในภาพรวมของหลักสูตรวิชาภาษาฝรั่งเศส 15 หลักสูตร ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับภาควิชาภาษาตะวันตก และภาควิชาภาษาฝรั่งเศสในสังกัดของคณะมนุษยศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์หรือคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรภาษาฝรั่งเศสมากที่สุดคือ 3 หลักสูตร คือมหาวิทยาลัยศิลปากร ในระดับปริญญาตรี จำนวนหน่วยกิตเฉลี่ยในหมวดวิชาเอกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 56 หน่วยกิต เป็น 59 หน่วยกิต ในหมวดวิชาโทมีแนวโน้มลดลงจาก 29 หน่วยกิต เหลือ 23 หน่วยกิต และในหมวดวิชาเอกคู่และวิชาเอกเดี่ยวไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในระดับปริญญาโท จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 44 หน่วยกิต เป็น 48 หน่วยกิต ส่วนในระดับปริญญาเอกซึ่งเริมเปิดสอนปีการศึกษา 2538 มีจำนวนหน่วยกิตเท่ากับ 66 หน่วยกิต และคาดว่าจะเท่ากับปัจจุบันคือ 66 หน่วยกิต ในปี 2543 1.2 จำนวนบุคลากร จำนวนบุคลากรประจำหลักสูตรทั้ง 15 คณะ มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละระดับแตกต่างกันคือ ในระดับปริญญาตรีมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่จำนวนอาจารย์ที่สอนทั้งระดับปริญญาตรีกับระดับบัณฑิตศึกษา และมีสอนเฉพาะระดับบัณฑิตศึกษาอย่างเดียวมีจำนวนเพิ่มขึ้นในภาพรวมจำนวนอาจารย์ภาษาฝรั่งเศสเพิ่มจาก 120 คน ในปี พ.ศ. 2531 เป็น 130 คน ในปี พ.ศ. 2537 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 139 คน ในปี พ.ศ. 2543 2. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ ผลงานและความคาดหหวังของอาจารย์ภาษาฝรั่งเศส 2.1 ลักษณะกายภาพและคุณลักษณะทางด้านวิชาการ อาจารย์ภาษาฝรั่งเศสเป็นหญิงมากกว่าชาย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 36-45 ปี คุณลักษณะทางด้านวิชาการมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกด้าน ได้แก่ คุณวุฒิ ประสบการณ์ในการสอน ผู้ได้รับทุนจากรัฐบาลฝรั่งเศส ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ และปริมาณผลงานทางวิชาการ 2.2 คุณลักษณะทางด้านภาระงาน มีลักษณะคงที่ คือสอนสัปดาห์ละ 7-9 ชั่วโมง แต่ภาระงานสอนในระดับปริญญาตรีลดลงขณะที่ในระดับปริญญาโทเพิ่มขึ้น และมีภาระงานนอกเหนือจากการสอนคือ เป็นวิทยากร ที่ปรึกษาชมรมภาษาฝรั่งเศสหรือภาษาต่างประเทศ อาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการภายในคณะ 2.3 ความคาดหวังในอนาคต ส่วนใหญ่มีความคาดหวังว่าจะมีตำแหน่งทางวิชาการประสบการณ์ในการสอนและการเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มขึ้น และมีลักษณะงานที่สนใจจะทำมากที่สุดในอนาคตคืองานสอนและการผลิตผลงานทางวิชาการ 3. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านวิธีการสอนและกิจกรรมการสอน 3.1 วิธีการสอน อาจารย์ที่ใช้วิธีการสอนแบบผสมผสานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3.2 ลักษณะการเตรียมและการสอนที่มีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือการเตรียมการสอน แต่เดิมจะเตรียมการสอนตามลักษณะรายวิชาและเนื้อหาเท่าที่มีแต่ในปี พ.ศ. 2543 คาดว่าจะมีการศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นๆ ด้วย ส่วนการสอนวิชาที่เป็นเนื้อหา แต่เดิมจะเน้นที่สุดในเรื่องความเข้าใจในเนื้อหา แต่ในปี พ.ศ. 2537 และ พ.ศ. 2543 จะเน้นในเรื่องของการรู้จักคิดวิเคราะห์วิจารณ์มากที่สุด 4. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านใช้สื่อการสอน อาจารย์ที่ใช้สื่อการสอนเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่นิยมใช้มากที่สุดคือ เอกสารจริงประเภท Documents ecrits และ Documents sonores 5. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านการวัดและประเมินผลอาจารย์ ส่วนใหญ่มีแนวโน้มในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนสูงขั้นทุกด้าน ได้แก่ การสอบข้อเขียนโดยสอบตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า การมีจุดเน้นให้ผู้เรียนรู้จักใช้ความคิดพิจารณาหาเหตุผล และการนำผลไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการเรียนการสอน 6. ปัญหาสำคัญและแนวทางการแก้ไขปัญหา ผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์ภาษาฝรั่งเศสมีความคิดเห็นเหมือนกัน 3 ด้าน ดังนี้ 6.1 ปัญหาเนื่องมาจากตัวผู้เรียนและข้อเสนอแนะ ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ ผู้เรียนมีพื้นฐานความรู้ไม้เพียงพอ ข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้แก่ การปรับปรุงหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาลและอุดมศึกษาให้มีความต่อเนื่องกัน 6.2 ปัญหาเนื่องมาจากตัวผู้สอนและข้อเสนอแนะ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่าอาจารย์ภาษาฝรั่งเศสมีปัญหาด้านคุณภาพ แต่ได้เสนอแนะเหมือนกันคือ ให้ผู้บริหารจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เอื้อต่อการผลิตผลงานทางวิชาการให้แก่อาจารย์ 6.3 ปัญหาอันเนื่องมาจากสื่อการสอนและข้อเสนอแนะ กลุ่มผุ้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่าขาดแคลนสื่อการสอนที่ทันสมัย ขณะที่กลุ่มอาจารย์มีความเห็นว่า สื่อการสอนไม่เพียงพอ แต่มีข้อเสนอแนะต่างกันคือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะให้ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส ขณะที่กลุ่มอาจารย์ได้เสนอแนะให้จัดตั้งศูนย์บริการสื่อการสนอนที่สามารถใช้ร่วมกันได้ระหว่างมหาวิทยาลัย | - |
dc.description.abstractalternative | The aims of this research were, first, to compare French language teachers' characteristics and their works at the higher Education level between the beginning phase of the Sixth National Development Education Scheme (1989) to the middle phase of the Seventh National Development Education Scheme (1994). Second, to compare French language teachers' state and problems in teaching French in the years 1989, 1994, and 2001. Third, to compare the opinions of French language specialists and French language teachers concerning important problems in teaching French and suggestions to solve the problems. The data of this research were collected form 105 questionnaires which were sent to French language teachers in 15 faculties of 9 Government universities. 74 of 105 questionnaires (70.48%) were returned. The results of this research were as follows: 1. Trends of changes in French language curricular structure and number of personnels. 1.1 French language curricula structure: there were 15 French language curricula.The majority was under the Western Language curricula. The majority was under the Western Languages Department or the French Language Department of the Faculty of Humanities and the Faculty of Education. At the Undergraduate level, the average credits increased from 56 to 59 in the French language major program, and decreased from 29 to 23 in the minor program. There were no changes in the two-major and the One-major programs. At the Graduate level the average credits increased from 44 to 48. At the Doctoral level, the academic year 1995 and the number of credits was expected to remain unchanged in 2001 1.2 Number of personnels : there were change in the number of personnels in 15 curricula at each level. The number of Undergraduate teachers decreased while the number of those who taught at both the Undergraduate and Graduate levels and only the Graduate level increased. On the whole, then were 120 teachers in 1989, 130 teachers in 1994 and 139 teachers were expected in 2001. 2. Trends of changes in French language teachers, characteristics, works and expectation. 2.1 Physical and academic characteristics: most French language teachers were female with ages ranged from 36-45 years old. Academic characteristics in creased in terms of qualifications, teaching experience, scholarships from French Government, academic positions, and quantity of academic works. 2.2 Characteristics in work load: the work load did not changed. Most French language teachers taught an average of 7-8 hours a week. However, their work load decreased at the Undergraduate level and increased at the Graduate level. Besides, many of them were entrusted with other duties such as being guest lecturers at other institutes, advisors to the French or Foreign languages Club, academic advisors, and members of the Faculty committee. 2.3 Expectations in their future: the majority of teachers expected higher academic positions and teaching experience. In the future, the type of work they were interested in doing was teaching and producing academic works. 3. Trends of changes in methods of teaching and activities. 3.1 Methods of teaching: the application of a eclectic method increased. 3.2 Characteristics of teaching preparations and instruction: the teaching preparations clearly changed. Previously, they prepared the lessons according to the course descriptions and available content. However, 10 2001, they expected that they could study from other sources. Regarding the teaching content, they used to concentrate the most on content comprehension, but in 1194 and 2001, they did and would concentrate on critical thinking. 4. Trends of changes in using instructional media, there was increase in the use of instructional media. The majority of teachers was in favor of using printed authentic materials and sound authentic materials. 5. Trends of changes in measurement and evaluation. Most teachers had a tendency to engage in activities concerning measurement and evaluation such as the pre-scheduled written examinations, the evaluation for analytical and critical thinking, and the application of test results to improve the learning and teaching. 6 Important problems and suggestions. The French language specialists and the French language teachers had the some opinions regarding 3 important areas: 6.1 Problems concerning learners and suggestions. The most important problem was the learners' lack of basic knowledge in French. The French language specialists and the French language teachers suggested that there be a continuity of the Secondary and Undergraduate curricula. 6.2 Problems concerning teachers and suggestions that the French language teachers had a small number of academic works while the French language teachers thought that their works had problem in quality. However the 2 groups had the same suggestion. The is, the administrators had to make an effort to provide them with the facilities to support the production of academic works. 6.3 Problems concerning instructional media. The French language specialists and the French language teachers had the some opinion that there was a lack of modern instructional media. The French language specialists suggested the institutes to request the aids from the French Government. The French language teachers in the other hand, suggested an establishment of instructional media and Document center for the use among universities. | - |
dc.description.sponsorship | ทุนวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ปี พ.ศ. 2537 | en |
dc.format.extent | 15276357 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อาจารย์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ครูภาษาฝรั่งเศส -- ไทย | en |
dc.subject | ภาษาฝรั่งเศส -- การศึกษาและการสอน | en |
dc.title | แนวโน้มเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนคุณลักษณะและผลงานของอาจารย์ภาษาฝรั่งเศสระดับอุดมศึกษาในยุคโลกาภิวัฒน์ : รายงานการวิจัย | en |
dc.title.alternative | Trends of State instruction, characteristics and works of French language teachers at the higher education level in globalization | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Reungratchanee(trends).pdf | 14.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.