Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7064
Title: การใช้ถ่านกัมมันต์จากไม้ยูคาลิปตัส (Eucalyptus camaldulensis Dehnh. ) และไม้กระถินเทพา (Acacia mangium Willd. ) เพื่อการกำจัดโครเมียม และนิเกิล จากน้ำเสียสังเคราะห์
Other Titles: Using activated carbon from eucalyptus (Eucalyptus camaldulensis Dehnh. ) and Acacia (Acacia mangium Willd.) for cromium and nickel removal from synthetic wastewater
Authors: ธวัชชัย สิงหศิริ
Advisors: ธเรศ ศรีสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thares.S@chula.ac.th
Subjects: ยูคาลิปตัส
กระถินเทพา
คาร์บอนกัมมันต์
นิเกิล
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโครเมียม
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการกำจัดโครเมียมและนิเกิลจากน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ถ่านกัมมันต์จากไม้ยูคาลิปตัส และไม้กระถินเทพา ที่ผ่านกระบวนการกระตุ้นทางเคมีโดยใช้โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ผลการทดลองในขั้นตอนการเตรียมถ่าน พบว่า ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากไม้ยูคาลิปตัสและไม้กระถินเทพาโดยทำการเผาคาร์บอไนซ์ที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 นาที ผลผลิตมีค่าสูงสุดถึงร้อยละ 59.01 และร้อยละ 60.91 ตามลำดับ แช่สารกระตุ้นเกลือแกงตามอัตราส่วนโดยน้ำหนักของวัตถุดิบต่อสารกระตุ้นเกลือแกงที่ อัตราส่วน 1 : 2 และเผากระตุ้นอีกครั้งที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ได้ผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ยูคาลิปตัสและไม้กระถินเทพามีค่าไอโอดีนนัมเบอร์สูงสุดเท่ากับ 612 มิลลิกรัมต่อกรัม และ 701 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากไม้ยูคาลิปตัสและไม้กระถินเทพามีพื้นที่ผิวเท่ากับ 368.68 ตารางเมตรต่อกรัม และ 408.64 ตารางเมตรต่อกรัม ปริมาตรโพรงเท่ากับ 0.27 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม 0.34 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัมขนาดโพรงเฉลี่ยเท่ากับ 13.55 อังตรอม และ 18.04 อังสตรอม ตามลำดับ การทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟลุนดลิช ที่ pH9 พบว่า ถ่านกัมมันต์จากไม้ยูคาลิปตัส ไม้กระถินเทพา และ Calgon Filtrasorb 300 มีค่า K ของการดูดติดผิวโครเมียม ซึ่งมีค่า 1.36, 12.57 และ 24.64 มิลลิกรัมต่อกรัม และการดูดติดผิวนิเกิล ซึ่งมีค่า 38.24, 50.31 และ 217.99 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ การทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับโดยใช้ถังดูดซับแบบแท่ง (adsorption column) เลือกใช้ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากไม้กระถินเทพาบรรจุในคอลัมน์ที่ระดับความสูงของคอลัมน์ 30, 60, 90 และ 120 เซนติเมตร โดยสามารถกำจัดโครเมียมในน้ำ เสียสังเคราะห์คิดเป็น 82.34 52.94, 43.14 และ 41.18 BV ที่ความเข้มข้นโครเมียมเริ่มต้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตรตามลำดับ และสามารถกำจัดนิเกิลในน้ำเสียสังเคราะห์คิดเป็น 129.41, 70.59, และ 50.00 BV ที่ความเข้มข้นนิเกิลเริ่มต้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ และได้นำถ่านกัมมันต์จากไม้กระถินเทพาไปผ่านการฟื้นฟูสภาพ (Regeneration) โดยการผ่านของสารละลายกรดไฮดรอคลอริก (HCI) ความเข้มข้น 5% พบว่ามีค่าไอโอดีนนัมเบอร์ เท่ากับ 388 มิลลิกรัมต่อกรัม และ 421 มิลลิกรัมต่อกรัม ของถ่านกัมมันต์ที่มีการดูดติดผิวโครเมียมและนิเกิล ตามลำดับ
Other Abstract: The objective of this research is to study the adsorption of cromium and nickel from synthetic wastewater by activated carbon from Eucalyptus (Eucalyptus camaldulensis Dehnh.) and Acacia (Acacia mangium Willd.). The chemical activated process was sodium chloride. In the activated carbon preparation process, the results showed that the temperature suitable for carbonization of the raw material was 300 degree Celsiuses at 120 minutes, which gave the heighest yield percent at 59.01 % and 60.91 % for both charcoal materials respectively. The appropriate ratio by weight of charcoal material to sodium chloride was 1:2 for both activated carbon at temperature 800 degree Celsiuses for 1 hour, which gave the heighest iodine number at 612 and 701 milligrams per gram respectively. The activated carbon from eucalyptus and acacia had surface area 368.68 and 408.64 meters square, pore volume 0.27 and 0.34 centimeters cubic, average pore size 13.55 and 18.04 A[superscript 0] respectively. Freundlich adsorption isotherm, it was found that K value of activated carbon from eucalyptus acacia and Calgon Filtrasorb 300, at pH 9 can adsorbed cromium 1.36, 12.57 and 24.64 milligram per gram and nickel for 38.24, 50.31 and 217.99 milligram per gram respectively. In adsorption column test, activated carbon from acacia was used for packing in the column. The result showed that activated carbon can treated cromium from synthetic wastewater for 82.34, 52.94, 43.14 and 41.18 BV with 10 milligrams per liter of cromium influent concentration respectively and at depth of adsorbent 30, 60, 90 and 120 centimeters of column test, activated carbon from acacia can treated nickel from synthetic wastewater for 129.41, 70.59, 50.98 abd 50.00 BV with 10 milligrams per liter of nickel influent concentration respectively. For activated carbon regeneration studies, by using 5% by weight of hydrochloric acid as a regenerant it found that the iodine number of activated carbon value was 388 and 421 milligram per gram on cromium and nickel adsorption respectively.
Description: วิทยานิพนธ์(วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7064
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1463
ISBN: 9741739672
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1463
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thawatchai.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.