Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70659
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิชญดา เกตุเมฆ | - |
dc.contributor.author | เดือนเต็มดวง เดชสุภา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-11-11T15:00:58Z | - |
dc.date.available | 2020-11-11T15:00:58Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70659 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | - |
dc.description.abstract | สภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพของงานศิลปะ ภายในพิพิธภัณฑ์จึงมีข้อกำหนดเพื่อควบคุมปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเสื่อมสภาพ อย่างไรก็ตามยังมีงานศิลปะจำนวนมากที่ไม่ได้ถูกเก็บรักษาภายในสถานที่ที่มีการควบคุม ดังนั้นหากสามารถทำนายกระบวนการเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นและมีการป้องกันแก้ไขทันที จะสามารถช่วยรักษางานศิลปะนั้นให้อยู่ในสภาพดีและยืดเวลาที่ต้องบูรณะออกไปได้ งานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาผลของการจำลองการเสื่อมสภาพที่มีสาเหตุจากแสงและความชื้นต่อสมบัติทางกายภาพและเคมีของสารสี เพื่อใช้ในการติดตามการเสื่อมสภาพขององค์ประกอบของชิ้นงานศิลปะ โดยทดลองกับสารสีจำลองที่พบในพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และพระบรมราชินีนาถ ที่หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ประการแรกคือการวิเคราะห์สารสีที่ใช้ในพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยการถ่ายภาพเชิงเทคนิคและเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์สเปกโทรสโกปี ประการที่สองคือการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารสีในแผ่นสีตัวอย่าง เมื่อผ่านการจำลองการเสื่อมสภาพที่ระยะเวลาการเร่งการเสื่อมสภาพด้วยแสงที่ 5, 30, 50, 70 และ 100 ชั่วโมง และที่ระดับความชื้นสัมพัทธ์ 55% และ 75% ตรวจสอบผลด้วยอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีและรามานสเปกโทรสโกปี ร่วมกับการวิเคราะห์ความต่างสีระหว่างแผ่นสีตัวอย่างภายใต้สภาวะควบคุมและแผ่นสีตัวอย่างที่ผ่านการเร่งการเสื่อมสภาพ ประการสุดท้ายคือการทำนายการเสื่อมสภาพของพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยการเปรียบเทียบระหว่างสเปกตรัมการสะท้อนที่ได้จากสีในพระบรมสาทิสลักษณ์และแผ่นสีตัวอย่าง จากผลการวิจัยที่เทียบกับแผ่นชาร์ทสารสี CHSOS คาดว่ามีการใช้สารสีจำนวน 12 ชนิดในพระบรมสาทิสลักษณ์ เมื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารสีในแผ่นสีตัวอย่างที่ผ่านการเร่งการเสื่อมสภาพและแผ่นสีตัวอย่างภายใต้สภาวะควบคุม พบว่าสารสีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสเปกตรัมอินฟราเรด ได้แก่ สารสีสีดำงาช้าง สารสีสีน้ำตาลอัมเบอร์ สารสีสีแดงอะลิซาริน สารสีจากดินแดง สารสีสีเหลืองโครเมียม สารสีจากดินเหลือง และสารสีสีน้ำเงินมายา และสารสีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสเปกตรัมรามาน ได้แก่ สารสีสีขาวไททาเนียมและสารสีสีขาวสังกะสี เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างสี พบว่าตัวอย่างสีที่ความชื้นสัมพัทธ์ 75% มีแนวโน้มที่จะให้ความแตกต่างสีมากกว่าตัวอย่างสีที่ความชื้นสัมพัทธ์ 55% อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงจากการจำลองการเสื่อมสภาพนี้ยังไม่มากพอที่จะใช้ทำนายการเปลี่ยนแปลงในภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ได้อย่างแม่นยำ เพียงแต่ระบุได้ว่าการเสื่อมสภาพของสารสีในพระบรมสาทิสลักษณ์เทียบได้กับการเสื่อมสภาพมากกว่า 20 ปี ของการเก็บรักษางานศิลปะไว้ในพิพิธภัณฑ์ | - |
dc.description.abstractalternative | The environment is one of the most important factors affecting the deterioration of artworks, there are the regulations to control the factors causing the deterioration of works of art in museum. However, there are still many works of art that are not preserved in regulated condition. The research aimed to study the effects of the simulation of deterioration caused by light and humidity on physical and chemical properties of pigments in the artwork of the royal painting of King Rama V and his Queen at memorial hall of Chulalongkorn university. The investigations were divided into 3 parts: 1) identification of pigments used in the royal painting by technical photography and X-ray fluorescence spectroscopy 2) investigation of the difference between pigment samples in controlled conditions and in aging conditions, including exposure to light at 5, 30, 50, 70 and 100 hours under 55% and 75% RH, using infrared spectroscopy and Raman spectroscopy in cooperate with color difference. 3) estimation of the deterioration of the royal painting by comparing spectral reflectance obtained directly from royal painting and pigments sample under the simulated deterioration. The results were found that there are about 12 pigments used in royal painting. The FTIR technique indicated that the raw umber, Alizarin red, red ochre, chrome yellow, yellow ochre and Maya blue pigment were changed in chemical structure. The Raman spectroscopy shown that only the titanium white and zinc white changed. The color differences in color samples at 75%RH were higher than 55%RH. The spectral reflectance of the colors in the royal painting were difference from all the pigment sample conditions. However, these changes are not sufficiently large to accurately predict the deterioration processes. The time and/or the abruptly change of the factors caused deterioration should be increased to obtain reliable results. At least it could be estimated that the royal painting might have deteriorated more than the preservation of art in museums for 20 years based on the maximum of the simulated condition in this study. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.618 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | สี -- การเสื่อมสภาพ | - |
dc.subject | ภาพเขียน -- การเสื่อมสภาพ | - |
dc.subject | Color -- Deterioration | - |
dc.subject | Painting -- Deterioration | - |
dc.subject.classification | Materials Science | - |
dc.title | การจำลองการเสื่อมสภาพของสารสีในพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และพระบรมราชินีนาถ ที่หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เกิดจากแสงและความชื้น | - |
dc.title.alternative | Simulation of deterioration of pigments in the royal painting of King Rama V and his queen at memorial hall of Chulalongkorn University caused by light and humidity | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีทางภาพ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Pichayada.K@Chula.ac.th | - |
dc.subject.keyword | Heritage science | - |
dc.subject.keyword | Pigment identification | - |
dc.subject.keyword | Pigment deterioration | - |
dc.subject.keyword | Museum year | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.618 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6171958723.pdf | 12.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.