Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70714
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระพงษ์ บุญโญภาส-
dc.contributor.authorนภวรรณ เจนกลาง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-12T07:42:51Z-
dc.date.available2020-11-12T07:42:51Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741757085-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70714-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีศึกษาถึงมาตรการต่างๆ ในการคุ้มครองพยานในคดีอาญาเพื่อหา แนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดเป็นมาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยานที่เป็นข้าราชการ โดย ศึกษามาตรการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ประกอบกับศึกษา เทียบเคียงกับระบบคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ (WHISTLEBLOWER PROTECTION) และกฎหมายคุ้มครองพยานในต่างประเทศจากการศึกษาพบว่ามาตรการคุ้มครองพยานทั้งมาตรการทั่วไปและมาตรการพิเศษที่ กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ยังไม่เพียงพอในการที่จะให้ ความคุ้มครองแก่พยานบุคคลที่มีสถานภาพเป็นข้าราชการ เนื่องจากข้าราชการเป็นบุคคลที่มี ตำแหน่งหน้าที่ที่แน่นอน หากต้องเข้าสู่โครงการคุ้มครองพยานแล้วไม่อาจเปลี่ยนภูมิลำเนา เปลี่ยน ชื่อหรือเปลี่ยนอาชีพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีที่เกี่ยวกับการทุจริตในวงราชการซึ่งพยานสำคัญ ในคดีส่วนใหญ่ล้วนเป็นข้าราชการ การคุ้มครองพยานตามมาตรการทั่วไปและมาตรการพิเศษพบว่า ยังมีปัญหาบางประการ อาทิ ปัญหาเกี่ยวกับการจัดให้พยานอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัย ปัญหาเกี่ยวกับ การย้ายที่อยู่การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุลและการดำเนินการเพื่อให้มีอาชีพที่เหมาะสม ดังนั้น สมควร กำหนดมาตรการพิเศษขึ้นมาเสริมเพื่อให้มีมาตรการที่เหมาะสมในการคุ้มครองพยานที่เป็นข้าราชการ โดยให้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างสำนักงานคุ้มครองพยานกับสำนักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในการประสานงานกรณีที่พยานในคดีอาญาเป็นข้าราชการ นอกจากนี้ ควรจะมีการให้ความรับรองแก่พยานว่าจะไม่ถูกย้ายงานหรือลดตำแหน่งงานอันเนื่องมาจากการ หยุดงานเพื่อไปเป็นพยาน และพยานจะได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างแรงงาน เต็มจำนวนในช่วงเวลาที่ เป็นพยาน นอกจากนี้ควรนำระบบคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ (WHISTLEBLOWER PROTECTION) มาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมเพื่อให้การ คุ้มครองพยานที่เป็นข้าราชการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าต่อกระบวนการยุติธรรมต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThis thesis focuses on all sorts of methods relating to protect witness in criminal case for appropriate course to determine the extraordinary measure for protecting the public official witness by studying the measure of Witness Protection Act.B.E. 2003. Also, compares with whistleblower protection and International law involved with witness protection. This research 1 I found that both general measure and extraordinary measure which are legislated in Witness Protection Act.B.E. 2003 are improperly to protect the public official witness because the public officer has certainly official rank. If the public officer shall be in witness protection project, that person is unable to change his habitat, name or occupation which the case is particularly involved with governmental corruption and most of witnesses are public officers. Besides, some problem is regard with the general measure and the extraordinary measure such as problem relating to the safeguard place, removal, changing name or surname and appropriate occupation conduct, there should be extraordinary measure to support the public official witness protection. Also, there should be agreement of understanding between the Protection Witness Office and the Civil Service Commission Office for coordinating in case of witness of criminal case is public officer. Furthermore, there should be an certification which the public officer will not be person transfered or downgraded because that person stop working to be a witness in proceeding and witness shall receive full salary or wage in the term to be witness. Moreover, there should be the Whistleblower Protection System to adapt with the public official witness-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพยานบุคคล -- การคุ้มครองen_US
dc.subjectข้าราชการ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectWitnesses -- Protectionen_US
dc.subjectPublic officers -- Law and legislationen_US
dc.titleมาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยานที่เป็นข้าราชการen_US
dc.title.alternativeSpecial measures for protection the public official witnessen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorViraphong.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Napawarrn_ja_front_p.pdf947.94 kBAdobe PDFView/Open
Napawarrn_ja_ch1_p.pdf691.86 kBAdobe PDFView/Open
Napawarrn_ja_ch2_p.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Napawarrn_ja_ch3_p.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Napawarrn_ja_ch4_p.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open
Napawarrn_ja_ch5_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Napawarrn_ja_back_p.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.