Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70721
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการสนับสนุนทางสังคม กับความสามารถในการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationships between personal factors and social support with self-care abilities at home of chronically ill patients, hospitals under the jurisdiction of Bangkok metropolitan administration
Authors: จุฑารัตน์ กมลศรีจักร
Advisors: พวงเพ็ญ ชุณหปราณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Paungphen.C@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ป่วย -- การดูแล
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -- การดูแลที่บ้าน
โรคเรื้อรัง
Care of the sick
Self-care, Health
Chronically ill -- Home care
Chronic diseases
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการสนับสนุนทางสังคมกับความสามารถในการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และหาตัวพยากรณ์ความสามารถในการดูแลตนเองที่บ้านของ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตัวอย่างประชากรคือผู้ป่วยโรคเรื้อรังซึ่งกำลังรับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในอายุรกรรม โรงพยาบาลสังกัด กรุงเทพมหานคร จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีอยู่ในระดับสูงค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.54 เมื่อจำแนกรายด้านพบว่าความสามารถในการดูแลตนเองที่จำเป็นตามระยะพัฒนาการอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 ส่วนความสามารถในการดูแลตนเองที่จำเป็นเมื่อมีปัญหาทางด้านสุขภาพและโดยทั่วไปอยู่ในระตับปานกลางมีค่าเฉลี่ย 3.48 และ 3.44 ตามลำดับ 2. การสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีอยู่ในระดับปานกลางค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.32 เมื่อจำแนก รายด้านพบว่าการสนับสนุนทางด้านอารมณ์อยู่ในระดับสูงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 ส่วนด้านการได้รับการยอมรับนับถือ, ด้านวัตถุ และด้านข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.40, 3.35 และ 2.72 ตามลำดับ 3. ปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ ระดับการศึกษา ลักษณะที่อยู่อาศัย ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาและ รายได้มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านวัตถุและด้านข้อมูล ข่าวสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ปัจจัยส่วนบุคคลคือ ระดับการศึกษา ลักษณะที่อยู่อาศัยและผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาการสนับสนุนทางสังคมด้านการได้รับการยอมรับนับถือสามารถพยากรณ์ความสามารถในการดูแลตนเองที่บ้านของ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ร้อยละ 26 สมการทำนายความสามารถในการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง คือ Z = .328 การสนับสนุนทางสังคมด้านการได้รับการยอมรับนับถือ + .205 ระดับการศึกษา + .166 ลักษณะที่อยู่อาศัย - .184 ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษา
Other Abstract: The purpose of this study were to study the relationships between personal factors and social support with self-care abilities at home of chronically ill patients and the predictor of self-care abilities at home of chronically ill patients. Sample consisted of 150 chronically ill patients, admitted in department of medicine, hospitals under the jurisdiction of Bangkok Metropolitan Administration. Data were collected by using structured inteviews, developed by the researcher. The interview form consisted of social support and self-care abilites at home of chronically ill patients. The instruments were tested for content validitiy and reliability. The results of this study were as follows : 1. The arithmetic mean of self-care abilities at home of chronically ill patients was at high level (X =3.54). Self-care abilities at home concerning developmental self-care was at high level (X = 3.72). But health-deviation self-care and univeral self-care were at moderate level, (X = 3.48 and 3.44 respectively.) 2. The arithmetic mean of social support of chronically ill patients was at moderate level (X =3.32). Social support in the aspect of emotion was at high level (X =3.81). But esteem, tangible and information aspect were at moderate level, (X =3.40,3.35 and 2.72 respectively.) 3. The personal factors were sex, education, home style, benefactor and family income were related with self-care abilities at home of chronically ill patients and significantly at the .05 level. Social support in the aspect of emotion, esteem, tangible and information were positively related with self-care abilities at home of chronically ill patients and significant at the .05 level. 4. Personal factors predictors in self-care abilities at home of chronically ill patients were education, home style, benefactor and social support in the aspect of esteem, and they could predict at 26 percent. Derived equation was as follow Z = .328 B + .205 Ed + .166 Home - .184 Who
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70721
ISSN: 9746389564
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutharath_ka_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ323.77 kBAdobe PDFView/Open
Chutharath_ka_ch1.pdfบทที่ 1698.18 kBAdobe PDFView/Open
Chutharath_ka_ch2.pdfบทที่ 21.25 MBAdobe PDFView/Open
Chutharath_ka_ch3.pdfบทที่ 3348.92 kBAdobe PDFView/Open
Chutharath_ka_ch4.pdfบทที่ 4703.82 kBAdobe PDFView/Open
Chutharath_ka_ch5.pdfบทที่ 51.1 MBAdobe PDFView/Open
Chutharath_ka_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.