Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71017
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกัลยาณี คูณมี-
dc.contributor.advisorดิเรก ปัทมสิริวัฒน์-
dc.contributor.authorสมบัติ แซ่แฮ่-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-25T09:26:50Z-
dc.date.available2020-11-25T09:26:50Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746336452-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71017-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539-
dc.description.abstractการศึกษามีจุดประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อประมาณการอุปสงค์ของบริการการท่องเที่ยวชมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรูปแบบใหม่ (2) เพื่อประมาณการราคาค่าบริการที่นักท่องเที่ยวยินดีจ่ายของการบริการแต่ละ ชนิด (3) เพื่อประมาณการระดับรายได้ที่จะได้รับจากการจัดบริการใหม่ การบริการที่นำเสนอมี 5 ชนิด คือ บริการห้างดูสัตว์ บริการสะพานแขวนหรือสถานที่สำหรับดูนก บริการยานพาหนะนำเที่ยวอุทยาน บริการอุปกรณ์พักค้างแรม และบริการเจ้าหน้าที่นำทางเดินป่า กรอบแนวความคิดที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ วิธีการ ประเมินคุณค่าจากความเป็นไปได้ (Contingent Valuation Method : CVM) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ ข้อมูลปฐมภูมิด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2537 จำนวน 625 ตัวอย่าง ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Sampling) ทำการวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองโลจิท (Logit Model) ประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีการภาวะความน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum Likelihood Estimation ะ MLE) ผลการศึกษา พบว่า ความต้องการบริการของนักท่องเที่ยวแต่ละคนที่มีต่อบริการแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ตัวแปรที่มีผลต่อความน่าจะเป็นที่จะเลือกใช้หรือไม่เลือกใช้บริการ ได้แก่ ตัวแปรพฤติกรรมการ เลือกในอดีต (การมีข้อมูลเกี่ยวกับบริการเดิมและการประกอบกิจกรรมในอดีต) และตัวแปรส่วนบุคคล (ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ระดับรายได้) ส่วนผลการประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีความต้องการบริการ ระดับราคาค่าบริการที่นักท่องเที่ยวยินดีจ่าย และระดับรายได้จากการจัดบริการ พบว่า บริการห้างดูสัตว์ บริการสะพานแขวนสำหรับดูนก บริการยานพาหนะนำเที่ยวอุทยาน บริการอุปกรณ์พักค้างแรม และบริการเจ้าหน้าที่นำทางเดินป่า แต่ละบริการจะมีนักท่องเที่ยวที่มีความต้องการใช้บริการประมาณร้อยละ 31.1 20.6 14.8 38.1 และ 36.3 ของ จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด ตามลำดับ ระดับราคาค่าบริการแต่ละชนิดที่นักท่องเที่ยวยินดีจ่ายอยู่ที่ระดับ 20 20 10 80 และ 50 บาท ตามลำดับ และรายได้จากการจัดบริการแต่ละชนิดประมาณ 6.22 4.12 1.48 30.48 และ 18.15 ล้านบาท/ปี ตามลำดับ-
dc.description.abstractalternativeThe present study was conducted with the following three objectives: 1. to estimate the demand for new ecotourism services; 2. to estimate the amount park tourists would be willing to pay to use these services; and 3. to estimate the revenue that could be generated by providing the services. The services considered for the study were: 1. treetop observation platforms for wildlife-watching; 2. hanging bridges for bird-watching; 3. park vehicles for tourist transportation inside the park area; 4. provision of camping equipment; and 5. provision of guides. The study used the Contingent Valuation Method (CVM) for the collection of data through a questionnaire survey conducted on 625 tourists during November-December, 1994. The tourist population was sampled using the simple random sampling method. The data was analysed using the Logit Model, employing the Maximum Likelihood Method (LME). The results indicate that the demand for the services varies with the respondents’ personal characteristics, such as age, income, education and past experience of using similar services. The study estimates the number of tourists who would be willing to use the above services, their maximum willingness to pay for the services and the revenue that could be generated by providing these services were provided. For the five services mentioned above (viz. treetop observation platforms, hanging bridges for bird-watching, park vehicles for tourist transportation, provision of camping equipment, and availability of guides) the estimated percentages of tourists who would use the services are, 31.1, 20.6, 14.8, 38.1, and 36.3 percent; respectively; the maximum willingness to pay is 20, 20, 10, 80, and 50 baht, respectively, and the estimated revenue that could be earned by providing the services is 6.22, 4.12, 1.48, 30.48 and 18.15 million baht/year, respectively.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectอุปทานและอุปสงค์-
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ-
dc.subjectการท่องเที่ยว -- ค่าใช้จ่าย-
dc.subjectอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่-
dc.titleการศึกษาอุปสงค์ต่อการท่องเที่ยวชมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่-
dc.title.alternativeDemand for outdoor recreation services : a case study of Khao Yai National Park-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sombat_sa_front_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_sa_ch1_p.pdf726.74 kBAdobe PDFView/Open
Sombat_sa_ch2_p.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_sa_ch3_p.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_sa_ch4_p.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_sa_ch5_p.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_sa_ch6_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_sa_back_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.