Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71019
Title: | การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง 4 รูปแบบในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของการพัฒนาทางกายและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษา |
Other Titles: | A comparison of efficiency among four latent variable growth curve models in studying longitudinal changes in physical and mathematical achievement development of elementary school students |
Authors: | อิทธิพงษ์ ตั้งสกุลเรืองไล |
Advisors: | นงลักษณ์ วิรัชชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Nonglak.W@chula.ac.th |
Subjects: | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนประถมศึกษา พัฒนาการของเด็ก คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน Academic achievement School children Child development Mathematics -- Study and teaching |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประยุกต์ใช้และตรวจสอบความตรงของโมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง 4 รูปแบบ คือ โมเดลพัฒนาการเชิงเส้นโค้งที่มีตัวแปรแฝงและกำหนดค่าพารามิเตอร์อิสระ โมเดลพัฒนาการเชิงเส้นโค้งที่มีตัวแปรแฝงและกำหนดค่าพารามิเตอร์คงที่ โมเดลพัฒนาการเชิงเส้นตรง และโมเดลพัฒนาการพื้นฐานที่ไม่มีค่าความชัน ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของพัฒนาการดานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และพัฒนาการทางกายภาพด้านนํ้าหนักและส่วนสูงของนักเรียนประถมศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง 4 รูปแบบ โดยใช้ดัชนี 4 ประเภท เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ ได้แก่ ค่าสถิติไค - สแควร์ ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน ดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษเหลือ และ ค่าความคลาดเคลื่อนในรูปคะแนนมาตรฐานสูงสุด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนประถมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครและกรมสามัณศึกษา จำนวน 406 คน ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 592 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และแบบบันทึกการตรวจสุขภาพของนักเรียน ข้อมูลสำหรับการวิจัยเป็นข้อมูลระยะยาว 5 ครั้ง และผู้วิจัยวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์โมเดลลิสเรลแบบมีตัวแปรแฝง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า โค้งพัฒนาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีลักษณะเป็นเส้นโค้งพาราโบลาควํ่า ในขณะที่น้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียนมีลักษณะเป็นเส้นโค้งพาราโบลาหงาย ผลจากการประยุกต์ใช้โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง 4 รูปแบบ ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระยะยาว พบว่า โมเดลลิสเรลในรูปโมเดลพัฒนาการเชิงเส้นโค้งที่มีตัวแปรแฝงและกำหนดค่าพารามิเตอร์อิสระชนิดความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนไม่เท่ากันมีประสิทธิภาพในการศึกษาพัฒนาการเกี่ยวกับการวัดการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวของ พัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และพัฒนาการทางกายภาพด้านน้ำหนักและส่วนสูงได้ดีที่สุด |
Other Abstract: | The purposes of this research were to apply and to validate the four latent variable growth curve models : latent growth curve model with free parameter ; latent growth curve mooel with fixed parameter ; linear growth model and no slope baseline growth model in studying longitudinal changes in development on mathematics achievement and in physical development on weight and height of the elementary school students ; and to compare the efficiency among four latent variable growth curve models by using four criteria : the chi-square, the goodness- of-fit index, the root mean squared residual and the largest standardized residual. The sample consisted of 406 Prathom Suksa 6 students and 592 Mathayom Suksa 1 students in schools uncer the jurisdiction of Bangkok Metropolis, the Department of General Education and the Office of Pitsanulok Primary Education, respectively. The research instruments were mathematics achievment test and student’s health checklist record. Longitudinal data were collected for five time points, and analyzed using the analysis of LISREL model with latent variables. The major findings were as follows : the growth curve of the students’ mathematics achievement was a downward parabola while the curves of the students’ weight and height were upward parabola. The result from an application of four latent variable growth curve models indicated that the LISREL model in the form of the latent growth curve model with free parameter and unequal disturbance variance was the best efficient one in studying longitudinal changes in development on mathematics achievement and in physical development on weight and height. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71019 |
ISBN: | 9746395238 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Itthiphong_ta_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Itthiphong_ta_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Itthiphong_ta_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Itthiphong_ta_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Itthiphong_ta_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 3.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Itthiphong_ta_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Itthiphong_ta_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 3.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.