Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71109
Title: ความรู้ เจตคติ และรูปแบบการสื่อสารของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาและโรงพยาบาลศรีธัญญา
Other Titles: Knowledge, attitude and communication patterns of the schizophrenic patients' carers at Somdet Chaopraya Hospital and Srithunya Hospital
Authors: สลิลลา มากะจันทร์
Advisors: นิพัทธิ์ กาญจนธนาเลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Nipatt.K@Chula.ac.th
Subjects: จิตเภท
ผู้ป่วยจิตเภท
ผู้ป่วย -- การดูแล
การสื่อสารทางการแพทย์
ทัศนคติ
Schizophrenia
Schizophrenics
Care of the sick
Communication in medicine
Attitude (Psychology)
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทต่อผู้ป่วย การศึกษาถึงตัวแปรด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ การเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ความรู้ เจตคติ ของผู้ดูแลผู้ป่วยมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรต่อรูปแบบ การสื่อสาร ตัวอย่างประชากรในงานวิจัย เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ผู้ป่วยและอยู่ร่วมครอบครัวเดียวกับ ผู้ป่วยมากกว่า 5 วัน/สัปดาห์ ในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา 132 ราย และโรงพยาบาลศรีธัญญา 218 ราย โดยใช้แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรง และความเที่ยงนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยจิตเภทส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สถานภาพสมรสเป็นโสด อายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ และไม่มีรายได้ มีระยะเวลาการเจ็บป่วย 2-10 ปี เคยเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล รอยละ 81.9 ข้อมูลทั่วไปของ ผู้ดูแลผู้ป่วย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 51-60 ปี อาชีพค้าขาย รายได้ 3001-6000 บาท ความสัมพันธ์เป็นพี่น้อง กับผู้ป่วย ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ดูแลผู้ป่วย 2-10 ปี ความเของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 6.960 ตัวแปรด้านการได้รับความรู้หรือการได้เข้ารับการอบรม และอาชีพของผู้ดูแลผู้ป่วย ที่แตกต่างกันมีความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < . 001และ P < .05 ตามลำดับ) เจตคติต่อผู้ป่วยผู้ดูแลผู้ป่วยมีคะแนน เจตคติทางบวกต่อผู้ป่วย ร้อยละ67.7 ทางลบร้อยละ 32.3 ตัวแปรด้าน การเคยและไม่เคยเข้ารับการรักษาเป็น ผู้ ป่วยในของโรงพยาบาล ระยะเวลาการเจ็บป่วย อายุและสถานภาพสมรส อาชีพและรายได้ของผู้ป่วยที่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์ต่อผู้ป่วย และอายุของผู้ดูแลผู้ป่วยที่แตกต่างกัน เจตคติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ด้านการรูปแบบการสื่อสารของผู้ดูแลผู้ป่วยพบว่า เป็นไปในทางบวกร้อยละ 53.4 รูปแบบการสื่อสารทางลบ ร้อยละ 46.6 ตัวแปรด้าน ระยะเวลาการเจ็บป่วย อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรสของผู้ป่วย และความสัมพันธ์ อายุ และระยะเวลาที่ดูแลผู้ป่วยที่แตกต่างกัน รูปแบบการสื่อสารมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เจตคติ ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและอาชีพของผู้ดูแลผู้ป่วยมีผลต่อการพยากรณ์รูปแบบการสื่อสารได้ 68.84% (R2=0.68842) โดยเจตคติมีผลในการพยากรณ์รูปแบบการสื่อสารมากกว่า มีปัจจัยด้านอื่น
Other Abstract: This study was descriptive research .The objective of the research was to study communication patterns of the Schizophrenic patients ‘ carers. The dependent variables are age. educational level , incomes, knownledges and attitudes. The sample populations were the carers who take care of patients and spend time daily with patients more than 5 days a weekThe sample size was 132 carers from Somdet Chaophaya Hospital and 218 carers form Srithunya hospital. The research questionnaires , which have been tested for validity and reliaoility, were used for this study. The research findings indicated that most Schizophrenic patients were male whose age were ranging 31-40 years old and had normally elementary school grades, unemployment and no income. Duration of patients’ illness was 2-10 years old and 81.9 % of patients were admitted. Patients’ carers are mostly female. whose age range from 51-60 years old , self employed which average incomes were 3001-6000 bath. Duration of care was 2-10 years. The level of knowledge’s to care for patients were moderate with the mean score of 6.960. Other variables such as : training for communication; occupation; knowledge’s of carers revealed some differences with statistic confidence level of p<0.001 and p< 0.05 . The carers' positive attitudes were 67.7% and negative attitudes for patients were 32.3%. The variables of the Schizophrenic patients’ income have different with statistical confidence level of p< 0.05. The communication patterns of the Schizophrenic patients’ carers were positive communication 53.4% and negative communication 46.6%. The variable compose of duration of illness, number of admissions, occupation, income, marital status and duration of care were difference with statistical confidence at level p<0.05. The Multiple Regression analysis; Stepwise could predict communication patterns 68.84% (R2=0.68842) and the most predictable factor was attitude.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71109
ISBN: 9746393936
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Slilla_ma_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.07 MBAdobe PDFView/Open
Slilla_ma_ch1_p.pdfบทที่ 1966.23 kBAdobe PDFView/Open
Slilla_ma_ch2_p.pdfบทที่ 23.59 MBAdobe PDFView/Open
Slilla_ma_ch3_p.pdfบทที่ 3919.6 kBAdobe PDFView/Open
Slilla_ma_ch4_p.pdfบทที่ 42.26 MBAdobe PDFView/Open
Slilla_ma_ch5_p.pdfบทที่ 51.74 MBAdobe PDFView/Open
Slilla_ma_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.