Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71149
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดกับในวุ้นลูกนัยน์ตาของคนไทยที่เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุจราจรทางบก |
Other Titles: | Comparative study of blood and vitreous humor alcohol concentrations in Thai postmortem traffic accidental victims |
Authors: | วิเชียร ตั้งธนานุวัฒน์ |
Advisors: | สมทรง ลาวัณย์ประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Subjects: | แอลกอฮอล์ในเลือด แอลกอฮอล์ในวุ้นลูกนัยน์ตา การดื่มสุรากับอุบัติเหตุทางถนน |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การพิจารณานำค่าความเข้มข้นแอสกอฮอล์ (ในการวิจัยนี้หมายถึงเอทานอล)ในชีววัตถุอื่น มาพยากรณ์ค่าความเข้มข้นแอลกอฮอล์ในเลือด ในกรณีที่เก็บตัวอย่างเลือดจากศพไม่ได้หรือตัวอย่างเลือดถูกเจือปน จะทำได้ต่อเมื่อความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดและในชีววัตถุเหล่านั้นมีสหสัมพันธ์กันสูง การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างความเข้มข้นแอลกอฮอล์ในเลือดกับในวุ้นลูกนัยน์ตาโดยเก็บชีววัตถุเหล่านี้จากคนไทยที่เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุจราจรทางบกจำนวน 110 ราย นำมาวิเคราะห์ความเข้มข้นแอลกอฮอล์ด้วยเครื่องแก๊สโครมาโตกราฟี แบบเทคนิคเฮดสเปซ ผลการทดลองพบว่า ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือด (BAC) และความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในวุ้นลูกนัยน์ตา (VHAC) มีความสัมพันธ์กันในเชิงเส้นตรงในทางบวก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.932 และสมการถดถอยเชิงเส้นตรง ± 95% PI คือ BAC = 1.02 VHAC + 8.13 . 64.96 V ( 111/110) + [(VHAC - 203)2/737878] (R2 = 0.868) ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนระหว่างความเข้มข้นแอลกอฮอล์ในเลือดต่อวุ้นลูกนัยน์ตา(conversion factor) เท่ากับ 1.06 นำสมการถดถอยเชิงเส้นตรง และ conversion factor ที่ได้มาทดสอบกับข้อมูลชุดที่สองจำนวน 84 ราย พบว่า ค่าความเข้มข้นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการ พยากรณ์โดยใช้สมการถดถอยเชิงเส้นตรงและ conversion factor ไม่แตกต่างกับค่าความเข้มข้นแอลกอฮอล์ที่วัดได้จริงอย่างมีนัยสำกัญทางสถิติ (P = 0.960 และ P = 0.938 ตามลำดับ) การพยากรณ์ความเข้มข้นแอลกอฮอล์ในเลือดจากวุ้นลูกนัยน์ตา โดยใช้สมการถดถอยเชิงเส้นตรง ± 95 % PI ช่วยให้การพยากรณ์มีความแม่นยำและสามารถอธิบายความเชื่อมั่นได้ ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการนำค่า VHAC มาใช้พยากรณ์ค่า BAC ในกรณีที่ไม่มีตัวอย่างเลือดที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ BAC ได้ อย่างไรก็ตาม การนำไปใช้ในทางปฏิบัติสำหรับกลุ่มประชากรไทยทั่วประเทศ ควรมีการเพิ่มขนาดตัวอย่างและสุ่มตัวอย่างครอบคลุมคนไทยในจังหวัด/ภาคอื่น ๆ ของประเทศ |
Other Abstract: | To utilize alcohol (referring to ethanol) concentrations in other biological specimens to estimate a blood alcohol concentration (B A C) when suitable postmortem blood sample is unavailable or contaminated, a good correlation between alcohol concentrations in blood and in those biological specimens is needed. In this study, alcohol concentrations in blood and vitreous humor were comparatively studied. Specimens were collected from 110 Thai postmortem traffic accidental victim s and analyzed for ethanol by gas chromatography with headspace technique. The result showed a positive linear relationship between BAC and vitreous humor alcohol concentration (VHAC) with a correlation coefficient of 0.932 . Simple linear regression analysis yielded the equation BAC = 1.02 VHAC + 8.13 + 64.96 V (111/110) + [(VHAC - 203)2/737878] (R 2 = 0.868). The ratio between BAC and VHAC (conversion factor) was 1.06. The linear regression equation and the conversion factor were then utilized to predict BAC from the other group of data obtained from 84 Thai post mortem traffic accidental victims. The result showed that there were no significant difference between the observed BAC and the predicted BAC calculated via both methods. Prediction of BAC from VHAC via linear regression equation ± 95 % PI was advantageous of giving a prediction with explainable confidence. This preliminary study suggests a possibility of using VHAC to estimate BAC when proper blood samples are unavailable. Extrapolation the data to Thai population, sample size should be larger and sampled from more regions of the country. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71149 |
ISBN: | 9743467505 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wichian_tu_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 877.12 kB | Adobe PDF | View/Open |
Wichian_tu_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 691.05 kB | Adobe PDF | View/Open |
Wichian_tu_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wichian_tu_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 905.15 kB | Adobe PDF | View/Open |
Wichian_tu_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wichian_tu_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 794.09 kB | Adobe PDF | View/Open |
Wichian_tu_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.