Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71171
Title: | การจัดตารางการผลิตในโรงงานผลิตเส้นด้าย |
Other Titles: | Production scheduling in a textured yarn factory |
Authors: | รัติยา จารุศรีวรรณา |
Advisors: | มานพ เรี่ยวเดชะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | การกำหนดงานการผลิต การวางแผนการผลิต โรงงานผลิตเส้นด้าย |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการศึกษาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขั้นจากการขาดการวางแผนในการจัดตารางการผลิตที่เหมาะสม โดยเลือกศึกษาโรงงานผลิตเส้นด้ายเป็นกรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยด้ายหลายชนิด และการผลิตมีลักษณะเป็นแบบ Flexible flow shop ที่มีสินค้าระหว่างผลิตในแต่ละกระบวนการผลิฅ ด้ายแต่ละชนิดผลิตในสายการผลิตเดียวกันตามขั้นตอน แต่ละชนิดไม่จำเป็นต้องผ่านการผลิตครบทุกกระบวนการ ขั้นตอนการผลิตมีหลายกระบวนการ แต่ละกระบวนการประกอบด้วยเครื่องจักรหลายเครื่อง มีทั้งที่มีคุณสมบัติเหมือนกันและต่างกัน ในปัจจุบันโรงงานทำการผลิตโดยไม่มีการวางแผนที่ชัดเจน อาศัยความชำนาญ และประสบการณ์ของผู้จัด ทำให้เกิดปัญหาการผลิตสินค้าส่งไม่ทันสำหรับบางงาน และบางงานมี ปริมาณสินค้าคงคลังสูง ส่งผลให้คุณภาพของด้ายลดลง และควบคุม ดูแลสินค้าคงคลังลำบาก ทั้งนี้เนื่องจากขาดการจัดสมดุลระหว่างกระบวนการผลิต ซึ่งมีปัจจัยการตั้งเครื่องจักรที่ไม่ต้องการให้มีมากเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การจัดตารางการผลิตที่พัฒนาขั้น ใช้หลักการเทคนิคการจัดกลุ่ม (Group Technology) จัดตารางการผลิตตามกลุ่มจากหลังไปหน้า (Backward Scheduling) โดยยึดตามวันกำหนดส่งสินค้า และจัดให้ผลิตแบบพอดีเวลา (JIT) ระหว่างแต่ละกระบวนการจะมีการจัดสมดุลตามหลักการจัดสมดุล (Line Balancing) การผสมผสานหลักการต่าง ๆ เข้าด้วยก้น จึงได้จัดวิธีการจัดตารางการผลิตขั้น ซึ่งสามารถลดปัญหาทั้งเรื่องการส่งสินค้าไม่ทันกำหนดส่ง และปริมาณสินค้าคงคลัง โดยไม่มีผลกระทบต่อปัญหาการตั้งเครื่องจักร แม้ว่าปัญหาต่าง ๅ จะไม่ถูกแก้ไขจนหมดไปก็ตาม |
Other Abstract: | This thesis studies and analyzes problems occurred from inappropriate production scheduling process a yarn factory. The factory has many types of products. The production utilizes a flexible flow with a buffer at each stage. Each type of yam is produced in the same production line but does not necessarily pass all steps of the line. The production line has many processing steps, each step consists of many machines, some of which are different. At present, the factory does not have a clear production planning, relying only on skill and experience of the production schedulers, This results in the delay of deliveries and high inventory level. It also results in the reduction in quality of yarns are the difficulties in controlling the level of inventory. One main reason is because the production line is not properly balanced with machine setups, which has to be minimal being taken into consideration. The developed production scheduling method uses "Group Technology” scheduling technique that schedules the production from back to front (backward scheduling) and considers the due date and just in time production. Line balancing is considered in each step of the process. The production scheduling method established in this thesis helps reduce the problems both in deliveries and the inventory level without increasing machine setups. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71171 |
ISBN: | 9741304145 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ratiya_ja_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 783.46 kB | Adobe PDF | View/Open |
Ratiya_ja_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 934.43 kB | Adobe PDF | View/Open |
Ratiya_ja_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 942.98 kB | Adobe PDF | View/Open |
Ratiya_ja_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Ratiya_ja_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 966.04 kB | Adobe PDF | View/Open |
Ratiya_ja_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 749.79 kB | Adobe PDF | View/Open |
Ratiya_ja_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 2.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.