Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71177
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมชาย จงวุฒิเวศย์-
dc.contributor.authorรัตนา เตียงทิพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-12-01T07:09:57Z-
dc.date.available2020-12-01T07:09:57Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741308892-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71177-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543-
dc.description.abstractโรค cryptosporidiosis เป็นโรคติดเชื้อจากโปรโตซัวชนิดหนึ่งในกลุ่มคอคซิเดีย ใน genus Cryptosporidium ซึ่งพบการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยเฉพาะในผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ในปัจจุบันมีการจำแนกสปีชีส์ ของเชื้อ Cryptosporidium ได้ 10 สปีชีส์โดยอาศัยคุณลักษณะความจำเพาะของโฮสต์รูปร่าง ลักษณะของโอโอชีสต์ ตำแหน่งของการติดเชื้อ และการวิเคราะห์ทางอณูชีววิทยา เนื่องจากในปัจจุบันไม่มียาชนิดใดที่ให้ผลในการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นการป้องกันและการควบคุมการแพร่กระจายของโรคจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ปัจจุบันการศึกษาสปีชีส์ ของเชื้อ Cryptosporidium ในกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวียังมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นจึงได้ทำการวิเคราะห์ Cryptosporidium จำนวน 30 ตัวอย่างจากอุจจาระของผู้ป่วยเอชไอวี ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างปี ค.ศ.1966 ถึง ค.ศ. 2000 ผู้ป่วยทั้งหมดมีอาการท้องเสียเรื้อรัง และมีปริมาณลิ้มโฟไซต์ชนิด CD4+ ตํ่า (ค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 121.07 ± 152.39) การทำให้ดีเอ็นเอบริสุทธิ์โดยการย่อยด้วยโปรตีนเนสเค และการสกัดโปรตีนส่วนเกินออกโดย ฟีนอล/คลอโรฟอร์ม หลังจากการทำให้โอโอซีสต์เข้มข้นขึ้นโดย การลอยตัวในสารละลายนํ้าตาลแล้วทำการเพิ่มปริมาณในส่วนของยีน small subunit ribosomal ribonucleic acid (SSU rRNA) โดยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพสิเมอร์เรส ซึ่งครอบคลุมความยาว 670 คู่เบส การหาลำดับเบสของดีเอ็นเอ โดยการวิเคราะห์จาก 2 ทิศทาง ผลการศึกษาพบ Cryptosporidium ทังสิน 4 สปีชีลัได้แก่ C. parvum (human genotype) มี จำนวน 25 ราย C. meleagridis 3 ราย c. muris 1 ราย และ c. felis 1 ราย โอโอซีสต์ ของ c. muris และ C. parvum ไม่มีความแตกต่างจากการวัดความกว้างและความยาว อย่างไรก็ตาม โอโอซีสต์ของ C. muris มีขนาดใหญ่กว่า โอโอซีสต์ ของ Cryptosporidium species อื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในขณะที่ โอโอซีสต์ของ C. felis มีขนาดเล็กสุดเป็นที่น่าสังเกตว่าเชื้อ c. meleagridis และ C. murisพบในเด็กที่มีการติดเชื้อเอชไอวีส่วน C. parvum human genotype พบมากในผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอซไอวีแสดงว่าการแพร่กระจายระหว่างคนนั้นมีความสำคัญ ในกลุ่มผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี ในประเทศไทยนอกจากนี้ในกลุ่มอายุที่แตกต่างกันจะพบการติดเชื้อจากสปีชีส์ที่ต่างกัน และ/หรือ จากแหล่งที่มาของเชื้อที่ต่างกัน-
dc.description.abstractalternativeCryptosporidiosis, an infectious disease caused by a coccidian protozoa in the genus Cryptosporidium, has been recognized increasingly among immunocompromised patients, especially those infected with human immunodeficiency virus (HIV). At present, 10 species of Cryptosporidium have been considered to be valid based on host range, oocyst morphology, predilection site of infection and molecular analysis. Since no effective anti-cryptosporidial agents are available, prevention and control of disease transmission are of primary importance. To date, little has been known regarding species of Cryptosporidium infecting HIV-infected individuals. Therefore, 30 isolates of Cryptosporidium from diarrheal stools of HIV-infected patients attending King Chulalongkorn Memorial Hospital during 1996-2000 were recruited for analysis. All of these patients suffered from chronic diarrhea and had low level of CD4+ lymphocytes (mean ± SD = 103.72 ±134.20). After sugar flotation, Cryptosporidium DNA was purified from each isolate by proteinase K digestion followed by phenol/chloroform extraction. Amplification of a polymorphic region encompassing 670 bp of the small subunit ribosomal RNA (SSU rRNA) gene was performed by nested polymerase chain reaction (PCR). Direct sequencing of the amplified DNA was determined from both directions. Results have shown that 4 species of Cryptosporidium were identified, i.e, C. parvum (human genotype), C. meleagridis, C. muris and C. felis occuring in 25, 3, 1 and 1 isolates, respectively. Oocysts of C. meleagridis and C. parvum are indistinguishable based on their dimensions. However, C. muris possesses a significantly larger oocysts dimension than those of other species while oocysts of C. felis are the smallest. It is of note that only C. meleagridis and C. muris were found in HIV-infected children whereas C. parvum (human genotype) predominates among HIV-infected adults. These findings suggest that anthroponotic transmission plays an important role among HIV-infected adults and that different age groups of HIV-infected Thai patients are vulnerable to infection from different species of Cryptosporidium and/or from different sources.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม -- การวินิจฉัยโรค-
dc.subjectAcquired immunodeficiency syndrome -- Diagnosis-
dc.subjectคริปโตสปอริเดียม-
dc.subjectผู้ติดเชื้อเอชไอวี-
dc.subjectนิวคลิโอไทด์-
dc.titleการวิเคราะห์ลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อ คริปโตสปอริเดียมในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โดยการหาลำดับดีเอ็นเอ-
dc.title.alternativeGenetic analysis of Cryptosporidium from human immunodeficiency virus-infected patients in King Chulalongkorn Memorial Hospital by DNA sequencing-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineปรสิตวิทยาทางการแพทย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattana_ti_front_p.pdfหน้าปก สาารบัญ และบทคัดย่อ787.21 kBAdobe PDFView/Open
Rattana_ti_ch1_p.pdfบทที่ 1709.84 kBAdobe PDFView/Open
Rattana_ti_ch2_p.pdfบทที่ 21.26 MBAdobe PDFView/Open
Rattana_ti_ch3_p.pdfบทที่ 3837.3 kBAdobe PDFView/Open
Rattana_ti_ch4_p.pdfบทที่ 41.52 MBAdobe PDFView/Open
Rattana_ti_ch5_p.pdfบทที่ 5694.15 kBAdobe PDFView/Open
Rattana_ti_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก810.34 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.