Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71309
Title: | สัญนิยมในสื่อสารการแสดง "ลิเก" ยุคโลกาภิวัตน์ |
Other Titles: | Semiotics of Likay in globalized age |
Authors: | สุกัญญา สมไพบูลย์ |
Advisors: | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Subjects: | ละคร การสื่อสาร สุนทรียภาพ ลิเก |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง “สัญนิยมในสื่อสารการแสดง “ลิเก" ยุคโลกาภิวัตน์" นี้ เป็นการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (ethnographic) ที่ผู้วิจัยมีส่วนร่วม'ในการบันทึกข้อมุ]ล คือบันทึกการแสดงสด 10 ครั้ง และร่วมแสดงลิเกอีก 10 ครั้ง ตั้งแต่เดือนกันยายน 2543 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2544 นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องตั้งฝ่ายผู้แสดง จำนวน 22 คน และฝ่ายคนดู จำนวน 15 คน รวมตั้งข้อมูลจากเอกสารและสื่ออื่น ๆ ด้วย ซึ่งศึกษาวิเคราะห์ถึงพัฒนาการของลิเกในช่วง 25 ปี ที่ผ่านมา ศึกษาสัญนิยมรวมตั้งขนบของการแสดงที่สื่อผ่านทางสัญญะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำ การเจรจา การร้อง การร่ายรำ การแต่งกาย การแต่งหน้า เวที ฉาก แสง สี เสียง เนี้อเรื่อง และดนตรี รวมตั้งความต้องการหรือความนิยมชมชื่นลิเกของกลุ่มคนดู ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าลิเกมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยการนำของเก่าที่ยังคงเอกลักษณ์ของลิเก เช่น การร้องรานิเกลิง การแต่งกายแต่งหน้าที่สวยงามและเนี้อเรื่องที่ยังคงเกี่ยวกับเจ้ามาผสมผสานกับความทันสมัยหรือกลยุทธ์ในการแสดงใหม่ ๆ เพื่อสร้างรายได้ เช่นการปรับปรุงเครื่องแต่งกายให้วิจิตรอลังการมากขึ้น นำเพลงลูกทุ่งมาช่วยหารายได้ เปลี่ยนรูปแบบของรายการพิเศษ รวมทั้งการผันตัวเองไปเป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งของนักแสดงลิเก ตั้งนี้เนื่องมาจากพลังสื่อมวลชน ความทันสมัย และการสร้างช่องทางความอยู่รอดของลิเก ส่วนสัญนิยมในการแสดงนั้น เน้นที่ความสวยงามเป็นหลัก ตั้งการแต่งกาย แต่งหน้า เวที ฉาก แสง สีซึ่งช่วยสร้างความเพลิดเพลินและความลื่นไหลทางอารมณ์ในการชมการแสดงได้ ผู้แสดงลิเกต้องมีความสามารกในการร้อง รำ มีปฏิภาณไหวพริบที่ดี มีสีลาเฉพาะตัวที่ดึงดูดคนดู สามารถนำเหตุการณ์รอบตัวมาผสมผสานกับการแสดง และสามารทสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนดูได้ ประการสุดท้ายนั้น ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าคนดูมีความต้องการในการมาดูลิเก 3 ลักษณะ คือกลุ่มแรกมาเพื่อดูการแสดง กลุ่มที่สองมาเพื่อดูการแสดงและนักแสดง กลุ่มสุดท้ายมาเพื่อนักแสดงเป็นหลัก โดยมีความนิยมชมชื่นลิเก 4 ประการคือ ความนิยมในสัญญะด้านความงาม ความนิยมในคุณลักษณ์ของตัวละครและบทบาทการแสดง ความนิยมในศิลปวิธีปฏิสัมพันธ์ของนักแสดงลิเก และความนิยมความสัมพันธ์พิเศษ |
Other Abstract: | This ethnographic research aimed to investigate the areas of Development. Semiotics and Audience appreciation of Likay. Research methodologies for this study can be divided into essentially three approaches : 1) Observation of Likay performances and participation in the performing between September 2000 to February 2001 2) Inteiviews with key informants, performers and audience 3) Documentary Research Results of the research were as follows : Likay has developed and combined with traditional and modern performances, for example “Raniglueng” song, make-up costumes and stories are related to King and country. Today costumes are more elegant and income is increased with more Thai country songs performed during intermissions and conclusion which lead to release of country music albums. The form of special program is changed. These depend on the power of mass media 1 modernization and its own maintenance. Likay’s semiotics focus on beauty of costumes, make-up, stage, setting, light and sound, provide pleasure to audience. The performer should have singing, dancing and Improvisation skills and be interactive with audience. Audience can be classified in three groups 1) appreciate Likay performances only. 2) appreciate performances and actors. 3) appreciate actors only. The aesthetic factors of audience appreciation include 1) Beauty 2) Characters and performances 3) Interaction between performers and audience 4) special relationship between actors and audience. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วาทวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71309 |
ISBN: | 9741309856 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukanya_so_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 862.01 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sukanya_so_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 713.25 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sukanya_so_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sukanya_so_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 664.57 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sukanya_so_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 9.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sukanya_so_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sukanya_so_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.