Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71368
Title: การปรับปรุงวิธีการทางสถิติเพื่อการควบคุมคุณภาพ : กรณีศึกษาโรงงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า
Other Titles: Improvement of statistical quality control : a case study of the transformer manufacturing industry
Authors: มาลีญา ฉิมพาลี
Advisors: ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ
สุทธิชัย ไชยจงมี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การสุ่มตัวอย่าง
โรงงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า
การควบคุมคุณภาพ -- ระเบียบวิธีทางสถิติ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการปรับปรุงใช้วิธีการทางสถิติในการพัฒนาแผนการชักสิ่งตัวอย่างเดี่ยวเพื่อการยอมรับ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการประกันคุณภาพทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคให้กับโรงงานตัวอย่าง โดยนำวิธีการของสถิติเอ็มพิริกัลเบย์ (Empirical Bayes Statistics) มาประยุกต์ใช้ จาการสำรวจและศึกษาพบว่า แผนการชักสิ่งตัวอย่างที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนส่งมอบให้ลูกค้าของโรงงานตัวอย่าง กำหนดขึ้นโดยมิได้มีการประเมินถึงระดับความเสี่ยงของผู้ผลิตและผู้บริโภค การวิจัยนี้ได้แสดงกระบวนการในการหาแผนการชักสิ่งตัวอย่างตั้งแต่การกำหนดระดับคุณภาพที่ยอมรับ (AQL) และร้อยละสัดส่วนผลิตภัณฑ์บกพร่องที่ยอมรับได้ (LTPD) การสร้างเส้นโค้งโอซี อีกทั้งยังได้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อช่วยในการคำนวณ ผลงานวิจัย พบว่าการกำหนดค่า AQL จากค่าผลเฉลี่ยการผลิตมีความเหมาะสมกว่าการใช้ค่า AQL จากจุดคุ้มทุน ได้ทำการเปรียบเทียบขนาดวัดตัวอย่างแผนการชักสิ่งตัวอย่างแบบคลาสสิคัลและแผนการชักสิ่งตัวอย่างเอ็มพิริกัลเบย์สำหรับแผนกผลิต ERL และ SBT พบว่าแผนการชัดสิ่งตัวอย่างเอ็มพิริกัลเบย์จะให้ขนาดตัวอย่างเท่ากับศูนย์เนื่องจากประวัติคุณภาพในอดีตดี จึงเสนอให้โรงงานตัวอย่างทำการสุ่มตรวจสอบโดยใช้แผนการชักสิ่งตัวอย่าง MIL-STD-105E ที่ระดับการตรวจสอบแบบผ่อนคลายเพื่อเป็นข้อมูลป้อนกลับให้กับแผนกผลิต และเพื่อเป็นข้อมูลในการนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการของสถิติเอ็มพิริกัลเบย์ต่อไป
Other Abstract: The objective of this research is to determine single acceptance sampling plans for specified consumers and producer risks. Empirical Bayes single sampling plan procedures are derived in which past lots history is used in a supplementary manner to estimate hyperparameters of beta prior distribution. Study in the sample departments found that outgoing inspection plans used by Quality Assurance Department was not based on specified producer and consumers risks. The procedures are developed here for obtaining Shilling-Johnson single sampling plan by both classical method and Empirical Bayes method. Computer programs were written to conduct the calculation and search. Performance of AQL obtained from process average is better than those obtained from BEQ. The sample sizes obtained by Empirical Bayes sampling plans for ERL and SBT visual inspection are zero according to good past lot history. MIL-STD-105E sampling plan is recommended here in order to keep quality record for future Empirical Bayes analysis and be feedback to production unit.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71368
ISBN: 9741304307
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Maleeya_ch_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ902.17 kBAdobe PDFView/Open
Maleeya_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1766.87 kBAdobe PDFView/Open
Maleeya_ch_ch2_p.pdfบทที่ 21.59 MBAdobe PDFView/Open
Maleeya_ch_ch3_p.pdfบทที่ 31.23 MBAdobe PDFView/Open
Maleeya_ch_ch4_p.pdfบทที่ 4940.12 kBAdobe PDFView/Open
Maleeya_ch_ch5_p.pdfบทที่ 5964.42 kBAdobe PDFView/Open
Maleeya_ch_ch6_p.pdfบทที่ 6710.99 kBAdobe PDFView/Open
Maleeya_ch_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.