Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71381
Title: การจัดบริการสุขภาพตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Health service dilivery according to marketing mix strategy, outpatient department, governmental hospitals, Bangkok metropolis
Authors: อรัญญา มานิตย์
Advisors: พนิดา ดามาพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Panida.D@Chula.ac.th
Subjects: บริการทางการแพทย์
การตลาด
บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
Medical care
Marketing
Hospital nursing services
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดบริการสุขภาพตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ กลยุทธ์ด้านบริการ ราคาค่าบริการ สถานที่และช่องทางการจัดบริการ และการส่งเสริม การบริการ ในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร สุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่าง โรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 แห่ง แล้วเลือกน้องตรวจในแผนกผู้ป่วยนอก ได้แก่ ห้องตรวจอายุรกรรม ศัลยกรรม ศัลยกรรมกระดูก สูติกรรม หู คอ ตา จมูก และห้องตรวจ ผู้รับบริการที่มีบัตรประกันสังคม ได้ห้องตรวจ จำนวน 31 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสังเกตการจัดบริการสุขภาพตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสม ทางการตลาดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากแนวคิดกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด มีค่าความเที่ยง 0.93 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดบริการสุขภาพตามกรอบกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร มีดังนี้ 1.1) กลยุทธ์ด้านบริการ มีบริการหลักที่จัดได้ ร้อยละ 100 ได้แก่ การคัดกรองผู้รับบริการ การให้บริการเบื้องต้น การให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพ มีแพทย์และมีคลินิกเชี่ยวชาญเฉพาะทาง บริการที่ผู้รับบริการคาดหวัง ได้แก่ อาคารสถานที่มีแสงสว่างเพียงพอ ใช้สีสบายตา จัดวางวัสดุ อุปกรณ์เป็นระเบียบ บุคลากรแต่งกายสะอาด สวยงาม บริการเสริม ได้แก่ มีตู้บริการเงินด่วน ตู้เครื่องดื่มอัตโนมัติ ศักยภาพของการบริการ ได้แก่ มีโครงการขยาย จำนวนเตียง กลยุทธ์ด้านบริการที่ยังไม่ได้ใช้ ได้แก่ ตู้ขายหนังสือพิมพ์อัตโนมัติ บริการเบ็ดเสร็จในจุดเดียว 1.2) กลยุทธ์ด้านราคาค่าบริการ กลยุทธ์ที่ใช้ร้อยละ 100 ได้แก่ การรักษาแบบให้เปล่าในชุมชน ให้การรักษาก่อนการชำระเงิน (เบิกต้น สังกัด) การคิดค่าบริการแบบเหมาจ่ายในผู้ประกันตน กลยุทธ์ด้านราคา ที่ยังไม่ได้ใช้ ได้แก่ การให้ส่วนลดแก่บริษัทคู่สัญญา หลักของโรงพยาบาล และในโอกาสพิเศษหรือวันสำคัญ 1.3) กลยุทธ์ด้านสถานที่และช่องทางการจัดบริการ กลยุทธ์ที่ใช้ ร้อยละ 100 ได้แก่ จัดคลินิกพิเศษนอกเวลาโรงพยาบาลอยู่ในย่านชุมชน การจราจรสะดวกและจัดให้มีเส้นทางการติดต่อ สื่อสารที่ทำให้การไหลเวียนของผู้รับบริการเป็นไปอย่างสะดวก มีทางลาดสำหรับรถเข็น ลิฟท์สำหรับผู้รับบริการ มีสัญลักษณ์แสดงการติดต่อระหว่างหน่วยงาน มีระบบการนัด มีการประสานงานการส่งต่อผู้รับบริการ มีรถ รับ-ส่ง กรณีส่งต่อ และบริการรถพยาบาลเคลื่อนที่ กลยุทธ์ด้านสถานที่และช่องทางการจัดบริการที่ยังไม่ได้ใช้ ได้แก่ ใบนำทางการตรวจ และแผนผังแสดงขั้นตอนการเข้ารับบริการ 1.4) กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการบริการ กลยุทธ์ที่ใช้ร้อยละ 100 ได้แก่ การชี้แจงรายละเอียดในการให้บริการโดยใช้แผ่นพับ การใช้สัญลักษณ์ของหน่วยงานหรือโรงพยาบาล การประชาสัมพันธ์ ภายใน โดยการประกาศเสียงตามสาย กล่องรับความคิดเห็น ฉายวิดีทัศน์ จัดนิทรรศการ ใช้โทรทัศน์วงจรปิด จัดบรรยายวิชาการ การประชาสัมพันธ์ผ่านทางวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ จัดสัมมนาด้านสุขภาพนอกสถานที่ ส่งวิทยากรเผยแพร่ความรู้ จัดกิจกรรมทางสุขภาพ โครงการป้องกันโรคตามฤดูกาล กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการบริการที่ยังไม่ได้ใช้ ได้แก่ การใช้ป้ายโฆษณา ใบปลิวและการส่งจดหมายข่าวไปยังประชาชนหรือบริษัทที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 2. ปัญหาและอุปสรรคของจัดบริการสุขภาพตามกรอบการกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด แผนกผู้ป่วยนอก ได้แก่ งบประมาณมีจำกัด ปริมาณงานมีมากเกินกำลังเจ้าหน้าที่ และขาดการวางแผนงานทางการตลาด
Other Abstract: The purposes of this research were to study the health service delivery according to marketing mix strategy in outpatient departments, governmental hospitalร, Bangkok Metropolis. The sample of 5 governmental hospitals, Bangkok Metropolis were selected through stratified sampling methods, then 31 departments at outpatient departments; namely medicine, surgery, orthopedic, obstetric or gynecology, EENT, and social insure person room, were selected. The research instrument which developed by researcher was an observation form. The reliability of the instrument was 0.93. The data was analyzed by using frequency and percentage. The results of the study revealed as follows : 1. Marketing mix strategies which were used for health service delivery in outpatient departments, governmental hospitals, Bangkok Metropolis were; 1.1) Product/ service strategy, core service; health screening, primary care, health counseling, special clinic. Expected service; appropriate light, and color, in order of equipment, clean and pretty uniform of health personal. Augmented service; automate teller machine, vending machine, Potential service; extended bed project. Strategies which were not had been used were autonomic newspaper machine and one stop service. 1.2) Price strategy which were used 100 percents were free of charge service, pay later service, whole sale service for insured person. Price strategy which were not had been used were discounting during special opportunity or special day. 1.3) Place and distribution channel strategy which were used 100 percents were, evening clinic, situated in crowded community, convenience traffic, slide stage for wheel chair, elevator for customers, media or symbol for communication, appointment system, referral system and ambulance. Strategy which were not had been used were leading slip and flow operation. 1.4) Promotional strategy which were used 100 percents were, pamphlet, logo. Public relation inside hospital by paging, feedback box, audio visual aid, health exhibition, closed system television, lecture. Public relation outside hospital by radio, television, health seminar, health activity, seasonal preventive program. Strategy which were not used were advertising by billboard, leaflet, direct mail to target group. 2. The problem of nursing marketing mix strategy at outpatient departments were limited budget, employee work overload and no marketing plan.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71381
ISBN: 9746391836
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arunya_ma_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ393.49 kBAdobe PDFView/Open
Arunya_ma_ch1.pdfบทที่ 1290.26 kBAdobe PDFView/Open
Arunya_ma_ch2.pdfบทที่ 2955.6 kBAdobe PDFView/Open
Arunya_ma_ch3.pdfบทที่ 3287.77 kBAdobe PDFView/Open
Arunya_ma_ch4.pdfบทที่ 41.23 MBAdobe PDFView/Open
Arunya_ma_ch5.pdfบทที่ 5705.58 kBAdobe PDFView/Open
Arunya_ma_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.