Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71395
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต | - |
dc.contributor.author | มนต์จันทร์ อินทรจันทร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-12-08T06:24:37Z | - |
dc.date.available | 2020-12-08T06:24:37Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9743466126 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71395 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาวรรณคดีเสภาจำนวน 26 เรื่องในต้านลักษณะเฉพาะ และพัฒนาการด้านรูปแบบ เนื้อหา วัตถุประสงค์ และการนำเสนอ โดยแบ่งวรรณคดีเสภาออกตามยุคสมัยที่แต่งได้ 3 ช่วง คือ วรรณคดีเสภาที่แต่งขึ้นในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 วรรณคดีเสภาที่แต่งขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 7 และวรรณคดีเสภาที่แต่งขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 8 จนถึงสมัยรัชกาลปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า ด้านรูปแบบนั้น วรรณคดีเสภาใช้รูปแบบของกลอนเสภาที่มักขึ้นต้นวรรคว่า “ครานั้น” เป็นส่วนใหญ่ ต่อมามีพัฒนาการด้านการขึ้นต้นวรรคและชนิดคำประพันธ์ กล่าวคือ ด้านการขึ้นต้นวรรค มีการนำเอากลอนบทละคร และกลอนเพลงยาวมาใช้ในการขึ้นต้นกลอนเสภาด้วย ส่วนด้านชนิดคำประพันธ์ นอกจากกลอนเสภาแล้ว ยังมีการนำเอาโคลง ร่าย ฉันท์ และเพลงพื้นบ้านมาแทรกไว้ด้วย แม้จนปัจจุบันส่วนใหญ่ยังมีการสืบเนื่องของการใช้รูปแบบกลอนเสภาแบบเดิม ส่วนพัฒนาการด้านเนื้อหาของวรรณคดีเสภาพบว่า วรรณคดีเสภา ส่วนมากมีเนื้อหาประเภทนิทาน ภายหลังเพิ่มเนื้อหาอื่นๆ ขึ้นอีก คือ เนื้อหาประเภทสั่งสอน นอกจากนียังมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสังคมและการเมือง และเนื้อหาประเภทอำนวยพรด้วย ส่วนพัฒนาการด้านวัตถุประสงค์ของวรรณคดีเสภา แต่เดิมวรรณคดีเสภาส่วนใหญ่มุ่งเล่าเรื่องและยังคงยึดวัตถุประสงค์เช่นเดิมมาโดยตลอด จากนั้นจึงพัฒนาโดยเพิ่มการสั่งสอน การแสดงความคิดเห็น และการอำนวยพร ด้านพัฒนาการในการนำเสนอ วรรณคดีเสภาช่วงแรกใช้ ประกอบการแสดง คือ ใช้ขับสำหรับฟังเพื่อความสนุกสนาน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 จึงเริ่มขับประกอบการแสดงปี่พาทย์ จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เพิ่มการนำเสนอในรูปแบบเสภารำ และละครเสภา หลังมีการพิมพ์ และคนมีการศึกษามากขึ้น วรรณคดีเสภาจึงใช้สำหรับอ่านมากยิ่งขึ้นจนถึงในปัจจุบัน จากการศึกษาพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของวรรณคดีเสภาทำให้เห็นลักษณะเฉพาะของวรรณคดีเสภา 2 ประการ คือ ลักษณะเฉพาะของฉันทลักษณ์ และลักษณะเฉพาะของการเป็นเรื่องเล่า | - |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims at studying twenty-six - sepha literary works in terms of their characteristics and their development in forms, subject matters, objectives and presentations. These sepha works are divided according to the period of their composition into three periods: those composed during the Ayutthaya era to the reign of king Rama IV< those composed during the of King Rama V to the reign of King Rama VII and those written during the reign of King Rama VIII till the present reign. The study has found that most of the sepha literary works were originally written in the form of Klon Sepha with each stanza beginning with the word kra nan. Later, there was a development of the use of the beginning words and forms of versification. As for the beginning words, the poet makes use of the beginning words of Klon Bot Lakon and Klon Phleng Yaow. As for the forms of versification, the poet inserts Klong, Rai, Chan and verse forms of folk songs into the sepha. The original forms of the sepha literary works have been handed down to most of the sepha literary works at present. In terms of the development in subject matters, it has found that they were mainly tales. Later, other subject matters were added: stories with didactic lessons, those dealing with social and political issue and those meant to give blessings. In the aspect of the development of their objectives, most sepha literary works initially aimed at narrating stories and this objective has continued to prevail, yet later objectives to teach lessons, to express opinions and to give blessings were added. In terms of their presentations, sepha literary works of earlier period were presented in accompaniment of performances, that is they were recited to entertain listeners. In the reign of King Rama II, they were sung to accompany the phipat traditional Thai orchestra. In the reign of King Rama V, they were performed in accompaniment of dances, known as sepha rum and dramas, known as lakhon sepha. After the establishment of a printing press and improvement in people’s education, sepha literary works have been more widely read up till the present time. Studying different aspects in the development of sepha literary works shades light on their two characteristics - their specific versification and their nature of being narrative poetry. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | วรรณคดีไทย -- ประวัติและวิจารณ์ | - |
dc.subject | เสภา | - |
dc.subject | การวิเคราะห์เนื้อหา | - |
dc.title | เสภาและพัฒนาการของวรรณคดีเสภา | - |
dc.title.alternative | Sepha and the development of sepha literature | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วรรณคดีไทย | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Monchan_in_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 775.84 kB | Adobe PDF | View/Open |
Monchan_in_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 843.21 kB | Adobe PDF | View/Open |
Monchan_in_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Monchan_in_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Monchan_in_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Monchan_in_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Monchan_in_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 708.46 kB | Adobe PDF | View/Open |
Monchan_in_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 2.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.