Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71467
Title: | กลยุทธ์การสื่อสารของชุมชนบ้านครัว ในการสร้างความเข้มแข็งภายในชุมชน ในกรณีพิพาทโครงการก่อสร้างถนนรวมและกระจายการจราจร |
Other Titles: | Communication strategies stregthening "Baan Krua" community to protest against the CD road project |
Authors: | โศจิวัจน์ บุญประดิษฐ์ |
Advisors: | ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Subjects: | การสื่อสาร การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน ชุมชนบ้านครัว (กรุงเทพฯ) |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ของชาวชุมชนบ้านครัว ลักษณะและปัจจัยที่ชาวชุมชนแสดงออกถึงความรู้สึกผูกพัน ความรู้สึกติดถิ่น และผลานความร่วมมือภายในชุมชน กลยุทธ์การสื่อสารของแกนนำชุมชนในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในกรณีพิพาทฯ โดยใช้การวิจัยเอกสาร วิจัยภาคสนามการสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก และการสนทนากลุ่ม กลุ่ม เป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วย คณะทำงานเฉพาะกิจ กรรมการชุมชน และชาวชุมชนบ้านครัว จำนวน 20 คน ผลการวิจัย พบว่า บฏิสัมพันธ์ของชาวชุมชนเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีลักษณะลองทาง แบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ ระดับบุคคล ได้แก่ การทักทาย การพูดคุย ระดับกลุ่ม ได้แก่ การประชุม การพูดคุยของคนกลุ่มต่าง ๆ ระดับชุมชน เป็นการสื่อสารระหว่างกลุ่มหลาย ๆ กลุ่มที่มีความซับซ้อนกัน ลักษณะที่ชาวชุมชนแสดงถึงความรู้สึกผูกพัน ความรู้สึกติดถิ่น และผสานความร่วมมือต่าง ๆ เช่น กิจกรรมทางศาสนา การเมือง สุขภาพและอนามัย การพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในชุมชน การแข่งขันกีฬา การบริจาค และการประชุม ปัจจัยที่ชาวชุมชน แสดงถึงความผูกพันต่อชุมชน ได้แก่ ความเป็นมุสลิม ลักษณะของกิจกรรม แกนนำริเริ่มกิจกรรม และผลกระทบจากกรณีทางด่วน กลยุทธ์การสื่อสารของแกนนำชุมชนในการจัดการปัญหาได้แก่ การใช้ศาสนาอิสลามในการรวมคนในชุมชน การประสานกลุ่มแกนนำ การจัดการในชุมชน การใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสาร การกระจายข่าวสารอย่างรวดเร็วภายในชุมชน การใช้สื่อเฉพาะกิจโดยเสนอเรื่องราวจากแนวคิดทางศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาที่กระชับ เข้าใจง่าย ใช้สื่อมวลซนเผยแพร่ข่าวสารให้เป็นประเด็นข่าวในระดับประเทศ และการสร้างพันธมิตร ภายนอก กลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างความเข้มแข็งภายในชุมชน ได้แก่ การสื่อสารภายในชุมชน ซึ่งเกิดจากการสร้างปฏิสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นภายในชุมชนโดยใช้ “กิจกรรม” ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนในการดึงคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ การใช้หลักศาสนาในการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนและการใช้ คนนอก ได้แก่ นักวิชาการและสื่อมวลชนที่ช่วยเผยแพร่เรื่องราวของชุมชนให้เป็นที่แพร่หลายในระดับประเทศ |
Other Abstract: | The objective of this research is to study the interaction of Baan Krua community members, the characteristic and factors leading to community’s ties, attachment and involvement, including the communication strategies of leaders for setting the dispute over the CD road. Research methodology are documentary research, field research, observation, In-depth interview and focus group. The target group consist of 20 representatives from the ad-hoc committee, community board and Baan Krua community. The finding of the research are as follows : The interaction of Baan Krua community members is two-way interpersonal communication ; which has, three levels : personal level - - greeting and chatting ; group level - - meeting and discussion ; and community level - - communication among complexity group. The characteristic of the community ties can be detected from the attachment of community members towards theirs community, mosque and cemetery. The activities which the community members regard as important and mostly participate in are religious, political and health activity community development, sport competition, including donation and meeting. The factors leading to community’s ties attachment and involvement are religious factor (Muslim), activities that reinforce community gatherings, initiate leaders and the social impact of the expressway case. The communication strategies used by Baan Krua community leaders in strengthening community include communication among members, initiating by activities, which calling for public involvement; religious principles to build unity ; academic and media cooperation to distribute communication stories at the national level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71467 |
ISBN: | 9741311516 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sojiwachana_bo_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 775.44 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sojiwachana_bo_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 922.85 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sojiwachana_bo_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sojiwachana_bo_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 764.94 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sojiwachana_bo_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sojiwachana_bo_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 883.3 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sojiwachana_bo_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 3.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.