Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7152
Title: | ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการณ์ลักษณะทางไวยากรณ์กับการณ์ลักษณะประจำคำ : กรณีศึกษาโครงสร้างอกรรมแบบสลับในภาษาไทย |
Other Titles: | Interactions between grammatical aspect and lexical aspect : A case study of alternating intransitive constructions in Thai |
Authors: | คเชนทร์ ตัญศิริ |
Advisors: | กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kingkarn.T@chula.ac.th |
Subjects: | ภาษาไทย -- ไวยากรณ์ ภาษาไทย -- การใช้ภาษา |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเภทเหตุการณ์หรือประเภทการณ์ลักษณะประจำคำของเหตุการณ์ที่แสดงโดยโครงสร้างอกรรมแบบสลับในภาษาไทย และจัดประเภทโครงสร้างอกรรมแบบสลับออกเป็นประเภทย่อยตามประเภทของการณ์ลักษณะประจำคำ และวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้การณ์ลักษณะทางไวยากรณ์สามตัวคือ กำลัง อยู่ และ แล้ว กับโครงสร้างอกรรมแบบสลับประเภทต่างๆ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้: โครงสร้างอกรรมแบบสลับแสดงเหตุการณ์ที่เป็นการณ์ลักษณะประจำคำประเภทต่างๆได้ 6 ประเภทคือ สภาพการณ์ชั่วคราว สภาพการณ์ถาวร การณ์กระทำ การณ์ก่อผล การณ์สัมฤทธิผลและการณ์ฉับพลัน โครงสร้างอกรรมแบบสลับแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มที่หนึ่งคือโครงสร้างอกรรมแบบสลับแสดงเหตุการณ์ไม่ซับซ้อนซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทย่อยดังนี้ โครงสร้างอกรรมแบบสลับแสดงเหตุการณ์ไม่ซับซ้อนประเภทการณ์กระทำ การณ์ฉับพลัน สภาพการณ์ชั่วคราว และสภาพการณ์ถาวร โครงสร้างอกรรมแบบสลับกลุ่มที่สองแสดงเหตุการณ์ซับซ้อนประกอบด้วยเหตุการณ์ย่อย 2 เหตุการณ์เกิดขึ้นต่อเนื่องกันซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทย่อยดังนี้ โครงสร้างอกรรมแบบสลับแสดงเหตุการณ์ซับซ้อนประเภทการณ์ก่อผลตามด้วยสภาพการณ์ชั่วคราว การณ์ก่อผลตามด้วยสภาพการณ์ถาวร การณ์สัมฤทธิผลตามด้วยสภาพการณ์ชั่วคราว และการณ์สัมฤทธิผลตามด้วยสภาพการณ์ถาวร กำลัง เป็นตัวบ่งชี้การณ์ลักษณะทางไวยากรณ์ไม่สมบูรณ์ประเภทกำลังเกิดขึ้น เนื่องจาก กำลัง ทำหน้าที่เลือกเน้นเฉพาะส่วนกลางที่มีลักษณะพลวัต และแสดงความหมายเชิงการณ์ลักษณะว่าเหตุการณ์ที่อ้างถึงนั้นกำลังเกิดขึ้น ณ เวลาอ้างอิงหรือเวลา วัจนกรรม ดังนั้น กำลัง จึงสามารถปรากฏร่วมกับเหตุการณ์พลวัตแบบกินเวลาเท่านั้น อยู่ เป็นตัวบ่งชี้การณ์ลักษณะทางไวยากรณ์ไม่สมบูรณ์ประเภททรงสภาพ เนื่องจาก อยู่ เลือกเน้นเฉพาะส่วนกลางเหตุการณ์โดยไม่มีการอ้างถึงขอบเขตเหตุการณ์ อยู่ มีข้อจำกัดการปรากฏน้อยกว่า กำลัง เนื่องจาก อยู่ สามารถเลือกเน้นได้ทั้งส่วนกลางเหตุการณ์ที่มีลักษณะพลวัตและส่วนกลางเหตุการณ์ที่มีลักษณะสภาพ ดังนั้น อยู่ จึงสามารถปรากฏกับทั้งเหตุการณ์พลวัตแบบกินเวลา และเหตุการณ์สภาพได้ อย่างไรก็ตาม อยู่ ไม่สามารถปรากฏร่วมกับเหตุการณ์พลวัตแบบฉับพลันได้ ในกรณีที่ อยู่ เลือกเน้นส่วนกลางที่มีลักษณะสภาพจะแสดงความหมายว่า ผู้ร่วมเหตุการณ์ได้ทรงสภาพอยู่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพ แต่ถ้าหาก อยู่ เลือกเน้นส่วนกลางที่มีลักษณะพลวัต อยู่ จะแสดงสภาพภายนอกของเหตุการณ์พลวัตว่าเป็นสภาวะคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพหรือยังไม่จบสิ้นลง เนื่องจากตัวบ่งชี้การณ์ลักษณะทางไวยากรณ์ อยู่ ได้ผ่านกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์มาจากคำหลักประเภทกริยาแสดงความหมายว่า มีหรือปรากฏสิ่งโคจร ณ ตำแหน่งซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงพื้นที่กับสิ่งอ้างอิง เมื่อ อยู่ ปรากฏใช้เป็นตัวบ่งชี้การณ์ลักษณะทางไวยากรณ์ อยู่ ยังคงเค้าความหมายเดิม และแสดงความหมายว่า มีหรือปรากฏเหตุการณ์ที่อ้างถึงกำลังเกิดขึ้นหรือดำเนินอยู่ ณ ตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งของเวลาอ้าอิงหรือ เวลาวัจนกรรมบนเส้นเวลา แล้ว มีความกำกวมทางความหมาย กล่าวคือ แล้ว สามารถแสดงความหมายได้หลายความหมายซึ่งสามารถจัดประเภทเป็นได้ทั้ง ความหมายการณ์ลักษณะทางไวยากรณ์แบบสมบูรณ์ (perfective) และความหมายความสมบูรณ์ของเหตุการณ์ (perfect) อย่างไรก็ตามทุกๆความหมายที่ แล้ว แสดงนั้นต่างมีความหมายโดยนัยร่วมกันคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพ (change of state) ความหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพจัดได้ว่าเป็นความหมายสำคัญของ แล้ว เนื่องจาก แล้ว สามารถปรากฏกับโครงสร้างอกรรมแบบสลับได้ทุกประเภทซึ่งแสดงเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพ ยกเว้นโครงสร้างอกรรมแบบสลับแสดงเหตุการณ์สภาพการณ์ถาวรประเภทสภาพการณ์ถาวรดั้งเดิมซึ่งเป็นเหตุการณ์ทรงสภาพที่มีสภาวะคงที่สูง ไม่สามารถมีการเปลี่ยนแปลงสภาพได้ |
Other Abstract: | The objectives of this study are 1) to analyze the situation types or the lexical aspect of situations denoted by alternating intransitive constructions in Thai and subcategorize them into subtypes and 2) to analyze the interactions between each of the three grammatical aspect markers, namely /kamlan/ /yu/ and /leew/, and the lexical aspect of the situations denoted by each sub-type of alternating intransitive constructions. It is found that the alternating intransitive constructions in Thai can denote 6 basic lexical aspect classes, namely, transitory state, inherent state, activity, accomplishment, achievement and semelfactive. The alternating intransitive constructions in Thai can be sub-classified into 2 major types: 1) the alternating intransitive constructions denoting simple situations, and 2) the alternating intransitive constructions denoting complex situations composed of two sub-events occurring sequentially. The former type comprises 4 subtypes, namely, the alternating intransitive constructions denoting activity, semelfactive, transitory state, and inherent state. The latter type comprises 4 sub-types, namely, the alternating intransitive constructions denoting a complex situation consisting of an accomplishment followed by a transitory state, an accomplishment followed by an inherent state, an achievement followed by a transitory state, and an achievement followed by an inherent state. /kamlan/ is considered a dynamic progressive aspect marker because it functions to profile the dynamic phase of the situation and construes it as the on-going process. /kamlan/ is, therefore, compatible with the dynamic durative situations but incompatible with static and punctual ones. /yu/ is considered a stative progressive aspect marker because it profiles only the intermediate phase of a situation without referring the boundaries. Unlike /yu/ can profile either the static or dynamic phase. Therefore, /yu/ can co-occur with either the dynamic of static situation which is durative. It /yu/ co-occurs with the static situation, the situation will be construed as the state persisting at the reference time or the speech-act time. If/yu/ co-occurs with a dynamic one, it refers to the progressive situation, which is viewed as static. Since the grammatical aspect maker /yu/ is grammaticalized from the lexical verb meaning "to exist, there is remnant of that meaning when /yu/ function as the grammatical aspect marker. Consequently, the grammaticalized aspect marker /yu/ conveys the meaning that there exists a static of dynamic situation on the time line at the referernce time or the speech-act time. On the other hand /leew/ is ambiguous because it conveys the meanings which can be considered as either the perfective aspect or the perfect meaning. However, every meaning conveyed by /leew/ shares the same basic meaning which is the change of state. Therefore, /leew/ can co-occur with every type of alternating intransitive construction except the alternating intransitive construction denoting the original inherent state. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7152 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.813 |
ISBN: | 9741438451 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.813 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kachen.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.