Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71536
Title: ผลของเฮเทอโรโลกัสคอมบิเนชั่น ระหว่างธีโอฟิลลินติดฉลากเอ็มไซม์และอิมมูโนเจนต่อความไวและความจำเพาะของการวิเคราะห์ธิโอฟิลลินโดยวิธีเอ็มไซม์อิมมูโนแอสเสย์
Other Titles: Effect of heterologous combinations between enzyme labeled theophylline and immunogen on the sensitivity and specificity of enzyme immunoassay for theophylline
Authors: สุธาสินี พิชญวศิน
Advisors: เพ็ญศรี ทองนพเนื้อ
สุวรรณา หวังวีรวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: tphensri@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ธิโอฟิลลีน
เฮเทอโรโลกัสคอมบิเนชัน
โฮโมโลกัสคอมบิเนชัน
เอนไซม์ลิงค์อิมมูโนซอร์เบนท์แอสเส
Enzyme-linked immunosorbent assay
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อนุพันธ์ธิโอฟิลลีนสื่อนุพันธ์ได้ถูกสังเคราะห์ขึ้นเพื่อติดฉลากกับเอ็นไซม์เปอร์ออกชิเดสและเตรียมอิมมูโนเจน อนุพันธ์ที่มีความยาวของสายโซ่คาร์บอนต่างกัน ที่ตำแหน่งที่ 7 คือ 7-(3-carboxypropyl)-1,3- dimethylxanthine (ก.) และ 7-(4-carboxybutyl)-1,3-dimethylxanthine (ข.) และอนุพันธ์ ที่มีความยาวของสายโซ่คาร์บอนต่างกัน ที่ตำแหน่งที่ 8 ของแชนธีน คือ 8-(3-carboxypropyl)-1,3 dimethyixanthine (ค.) และ 8-(4-carboxybutyl)-1,3-dimethylxanthine (ง.) คอมบิเนชันทั้ง 16 ลักษณะ ระหว่างธิโอฟิลลีนติดฉลาก เอ็นไซม์และอิมมูโนเจนของอนุพันธ์ทั้งหมดนี้ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ธิโอฟิลลีนโดยหลักการแย่งที่ในเอ็นไซม์อิมมูโน แอสเสย์ โดยการสร้าง logic plot ระหว่างเปอร์เซ็นต์การจับ และความเข้มขันของธิโอฟิลลีนในเทอมของ log ของแต่ละคอมบิเนชัน พบว่าความไวของการวิเคราะห์ในรูปของความชันของเส้นกราฟภายใต้ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงเมื่อใช้บริดจ์ เฮเทอโรโลกัสคอมบิเนชันระหว่างสารติดฉลากของอนุพันธ์ ง. กับแอนติซีรัม ของอนุพันธ์ ค. จะดีกว่าการใช้ โฮโมโลกัสคอมบิเนชันจากอนุพันธ์ ง. และไซท์เฮเทอโรโลกัสคอมบิเนชันระหว่างสารติดฉลากเอ็นไซม์ของอนุพันธ์ ง. กับแอนติซีรัมของอนุพันธ์ ข. ซึ่งมีความชันเท่ากับ 34.18, 30.84 และ 20.04 ตามลำดับ ส่วนการใช้บริดจ์และไซท์เฮเทอโรโลกัสคอมบิเนชันให้ความไวที่ตํ่าที่สุด สำหรับการเกิดปฏิกิริยาข้ามของคาเฟอีนต่อธิโอฟิลลีนพบว่า บริดจ์ เฮเทอโรโลกัสคอมบิเนชันมีความจำเพาะเจาะจงต่อ ธิโอฟิลลีนดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับคอมบิเนชันลักษณะอื่นดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นคอมบิเนชันที่ดีที่สุดในการวิเคราะห์ธิโอฟิลลินโดย วิธีเอ็นไซม์อิมมูโนแอสเสย์ คือ บริดจ์ เฮเทอโรโลกัสคอมบิเนชันที่ใชัสารติดฉลากเป็น 8-(4-carboxybutyl)-1,3- dimethylxanthine กับแอนติซ็รัม เป็น 8-(3-carboxypropyl)-1,3-dimethylxanthine
Other Abstract: Four derivatives of theophylline were synthesized for labelling with peroxidase enzyme and preparing immunogens for theophylline. 7-(3-carboxypropyl)-1,3-dimethylxanthine (A) and 7-(4-carboxybutyl)-1,3-dimethylxanthine (B) contain different carbon chain at the same N-7 position while 8- (3-carboxypropyl)-1,3-dimethylxanthine (c) and 8-(4- carboxybutyl)-1,3-dimethylxanthine (D) contain different carbon chain at the N-8 positron of xanthine structure. Sixteen combinations of enzyme-labeled theophylline and immunogens of all derivatives were utilized in theophylline analysis via compettitive enzyme immunoassay. It is demonstrated that sensitivity and specificity of the analysis were dependent upon the combination studied. The logic plot between the percentage binding and log theophylline concentration of each combination were established to determine the sensitivity of the method in term of slope of the plot under regression analysis. The sensitivity of the analysis from bridge heterologous combination of enzyme-labelled derivative D and antiserum from c was better than the homologous combination from D and the site heterologous combination of enzyme-labelled derivative D and antiserum from B in which the slopes of the plot were 34.18, 30.84 and 20.04, respectively. The bridge and site heterolgous combinations were the worst combination studied. The cross reaction of theophylline with caffeine was also compared among these combinations. The same aforementioned bridge heterologous combination was the only one combination that specific only to theophylline. Thus the best combination for enzyme immunoassay of theophylline would be the bridge combination between 8-(4-carboxybutyl)-1,3-dimethylxanthine and antiserum from 8-(3- carboxypropyl)-1,3-dimethylxanthine.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71536
ISBN: 9746376349
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthasinee_pi.pdfฉบับสมบูรณ์6.5 MBAdobe PDFView/Open
Suthasinee_pi_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ625.99 kBAdobe PDFView/Open
Suthasinee_pi_ch1.pdfบทที่ 1178.06 kBAdobe PDFView/Open
Suthasinee_pi_ch2.pdfบทที่ 2696.71 kBAdobe PDFView/Open
Suthasinee_pi_ch3.pdfบทที่ 34.82 MBAdobe PDFView/Open
Suthasinee_pi_ch4.pdfบทที่ 472.68 kBAdobe PDFView/Open
Suthasinee_pi_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก134.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.