Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71606
Title: | สถานะทางกฎหมายของสะพานมิตรภาพไทย-ลาว |
Other Titles: | Legal status of the mittaphab bridge between Thailand and Lao People's democratic republic |
Authors: | พรนภา เลิศปัญญาวิทย์ |
Advisors: | ชุมพร ปัจจุสานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | กฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญา สะพานมิตรภาพไทย -- ลาว ไทย -- ความสัมพันธ์ต่างประเทศ -- ลาว ลาว -- ความสัมพันธ์ต่างประเทศ -- ไทย |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษา และวิเคราะห์หลักกฎหมายตามที่ปรากฏในสนธิสัญญาต่าง ๆ และทางปฏิบัติของนานาชาติ (state practice) ในเรื่องสะพานระหว่างประเทศตลอดจนสนธิสัญญาที่กล่าวถึงเรื่องอื่นที่ใกล้เคียงกับเรื่องสะพานระหว่างประเทศ เช่น เรื่องอุโมงค์ระหว่างประเทศ โดยจะศึกษาเปรียบเทียบกับสนธิสัญญาดังกล่าว กับความตกลงว่าด้วยสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ว่าสะพานมิตรภาพแห่งนี้มีบทบัญญัติที่สอดคล้องกับสนธิสัญญาอื่น และแนวทางปฏิบัติของนานาชาติหรือมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างไร ผลของการวิจัยพบว่าสถานะทางกฎหมายของสะพานมิตรภาพไทย-ลาวไม่ปรากฎว่ามี สถานะทางกฎหนายที่เป็นพิเศษ เพราะความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยสะพานมิตรภาพไทย-ลาวยังคงยึดถือตามแนวทางปฏิบัติ ของนานาชาติเพียงแต่ก็มีความแตกต่างกันบ้างในบางกรณี อย่างไรก็ตามระบบกฎหมายที่เกี่ยวกับสะพานระหว่างประเทศถึงแม้จะมีทางปฏิบัติของนานาชาติที่สอดคล้องและมีทิศทางไปในแนวทางเดียวกันอยู่บ้าง แต่ก็ปรากฏว่าทางปฏิบัติของนานาชาติเองก็มีแนวทางที่แตกต่างกันไปอันเป็นผลทำให้ไม่สามารถสรุปทางปฏิบัติที่แน่นอนตายตัว ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ายังไม่ปรากฎว่ามีหลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ถือว่าเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับได้โดยทั่วไปในเรื่องที่เกี่ยวกับสะพาน ระหว่างประเทศ และคงมีแต่เพียงแนวโน้มในทางปฏิบัติของนานาชาติ ซึ่งเป็นเพียงทางปฏิบัติที่อาจ กลายเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศต่อไปได้ในอนาคตเท่านั้น ซึ่งก็ไม่เป็นการตัดสิทธิของรัฐที่เกี่ยวข้องที่จะทำสนธิสัญญาที่มีลักษณะเป็นการยกเว้น และเปลี่ยนแปลงหลักกฎหมายเหล่านั้น โดยตกลงกันให้ใช้หลักการอื่นขึ้นมาแทนที่ในลักษณะที่เป็นกฎหมายที่อยู่ในรูปของสนธิสัญญา (Conventional Law) ดังนั้นแนวทางปฏิบัติที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดการแบ่งเขตอำนาจรัฐบนสะพานของประเทศไทย กับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งจะก่อสร้างขึ้นในอนาคต ปรากฏว่าแนวทางปฏิบัติของนานาชาติที่ละเว้นโดยไม่กล่าวถึงเส้นแบ่งเขตอำนาจรัฐบนสะพานน่าที่จะเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย |
Other Abstract: | The objective of this research is to study and analyze the principle of law in relation to the international bridge appeared in the treaties and the state practice. The study is also including other treaties similar to the international bridge such as the international tunnels. Comparative study between these treaties with the Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of Lao People’s Democratic Republic concerning the Mittaphab Bridge have been made to see whether its provisions are similar or different from those of the other treaties and state practice.The result of this research indicates that the Mittaphab Bridge does not establish any special legal status since the Mittaphab Bridge follows the state practice even though there are some differences in certain cases. However, although the state practice in respect of the legal system in relation to the international bridge are correspondent and under similar conditions, there are some state practice that are not in the same direction as the aforesaid state practice resulting that there is no definite state practice at this time. Therefore, there is the customary international law governing the international bridge is in effect but only the trend of the state practice which may become the customary international law in the future. In this regard, the concerning states can still be entitled to the treaties omitted or changed such principle of law by using other principle (ท the form of Conventional Law. Thus, in the case of constructing the new bridge between the Kingdom of Thailand and other neighboring states in the future, the state practice which shall be used to determine for the jurisdiction should be the state practice which omits the เท on the new bridge. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71606 |
ISBN: | 9746360094 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pornnapa_le_front_p.pdf | 962.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornnapa_le_ch0_p.pdf | 991.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornnapa_le_ch1_p.pdf | 3.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornnapa_le_ch2_p.pdf | 2.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornnapa_le_ch3_p.pdf | 983.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornnapa_le_ch4_p.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornnapa_le_ch5_p.pdf | 805.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornnapa_le_back_p.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.