Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71615
Title: กรณีศึกษาผลกระทบทางกฎหมายของเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่มีต่อโครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (AIJV)
Other Titles: Case study of legal impact of ASEAN Free Trade Area (AFTA) on Asean Industrial Joint Ventures (AIJV)
Authors: สุรชัย อภิปรัชญากุล
Advisors: สุธรรม อยู่ในธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กลุ่มประเทศอาเซียน -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ
สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร
การลงทุนของต่างประเทศ
เขตการค้าเสรีอาเซียน
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ รัฐจึงได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญ ที่มีทั้งมาตรการส่งเสริมและคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่การผลิต แต่เมื่อเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ได้เกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการค้าเสรีที่มีอัตราภาษีต่ำที่สุด และปราศจากข้อจำกัดที่มีใช่ภาษี จึงทำให้รัฐต้องปรับเปลี่ยนนโยบายโดยลดและยกเลิกมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อโครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (AIJV) ที่ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนด้วยมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองอุตสาหกรรมในโครงการ วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาในเรื่องการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (CEPT) สำหรับ AFTA จะส่งผลกระทบต่อมาตรการทางกฎหมายของ AIJV และนโยบายอุตสาหกรรมในประเทศ ทั้งนี้ผลการศึกษาปรากฎว่า AIJV มีข้อจำกัดหลายประการในกฎหมายระหว่างประเทศใน เรื่องสภาพบังคับทางกฎหมาย และการจำกัดและบิดเบือนทางการค้า รวมทั้งกฎหมายในประเทศที่เกี่ยวกับการผูกขาดทางการค้า การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว และกฎหมายเกี่ยวกับส่งเสริมการลงทุน จึงทำให้ AIJV ได้รับผลกระทบทางกฎหมายโดยตรงจากการขัดกันกับหลักการและวัตถุประสงค์ของ AFTA มาตรการตรึงอัตราภาษี และการสงวนสิทธิ์การแข่งขันของ AIJV ต้องยกเลิกไป ส่วนผลกระทบทาง กฎหมายโดยอ้อมจะเกิดขึ้นจากการที่รัฐได้ลดและยกเลิกมาตรการทางกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ จนส่งผลกระทบต่อการผลิตของกรณีศึกษาในโครงการ AIJV ฉะนั้นจากผลกระทบทางกฎหมายของ AFTA ที่มีต่อ AIJV จึงทำให้ AIJV ต้องล้มเลิกไปในที่สุด
Other Abstract: Industrial development effects on a whole national economics. The state has an important policy to protect local Industry and to provide international investment. This causes technology transfer and added value to the production. The Asean Free Trade Area is to promote the laissez-faire which provides low tax and non-tariff barriers, so the state has to ratify policy by revoking law measure in The Asean Industrial Joint Ventures. That effects on AIJV in respect of Asean-Economic co-orperation and law measure to protect an industrial project. It is the aim of this thesis to study on CEPT for AFTA to make a trend on AIJV law measure and industrial policy. It is found that there are still some restrictions about International Law; sanction, trade restriction and trade distortion as well as Domestic Law; antitrust law, alien business doing and investment law. The legal impact on AIJV has occured directly by theoretical and propositional conflicts of AFTA so as to prohibit AIJV previlege competition and suspending-tax rate. Indirect legal impact will occur if the state decrease or revoke law measure which has to protect local industry. So AFTA legal impact on AIJV cause an end to AIJV.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71615
ISBN: 9746344277
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surachai_ap_front_p.pdf911.2 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_ap_ch0_p.pdf741.74 kBAdobe PDFView/Open
Surachai_ap_ch1_p.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Surachai_ap_ch2_p.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open
Surachai_ap_ch3_p.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Surachai_ap_ch4_p.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Surachai_ap_ch5_p.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Surachai_ap_back_p.pdf706.44 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.