Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71693
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา แก้วเทพ-
dc.contributor.authorอุทุมพร เลื่องลือเจริญกิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-12-29T09:34:51Z-
dc.date.available2020-12-29T09:34:51Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746372114-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71693-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการศึกษาผู้รับสารโดยใช้แนวคิดและทฤษฎีการเลือกสรรข่าวสาร การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการชมละครโทรทัศน์ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ ความเชื่อและค่านิยมที่ได้รับจากการชมละครโทรทัศน์ของผู้ชาย โดยทำการเก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์เจาะลึกและใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ชาย จำนวน 30 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามอายุและลักษณะการดำเนินชีวิต คือ กลุ่มวัยเรียน วัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กับครอบครัวและมีเครื่องรับโทรทัศน์เป็นของตนเอง แต่กลับเลือกชมโทรทัศน์พร้อมกับสมาชิกในครอบครัว และตัดสินใจเลือกชมรายการต่าง ๆ ด้วยตัวเอง สำหรับพฤติกรรมการชมละครโทรทัศน์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างโดยเฉลี่ย 50 เปอร์เซ็นต์เปิดรับชมละครโทรทัศน์ในแต่ละเรื่องที่ออกอากาศ และตัดสินใจเลือกชมละครโทรทัศน์ด้วยตัวเอง โดยใช้เกณฑ์การตัดสินใจด้านดาราเป็นอันดับแรก ความตั้งใจ ชมละครโทรทัศน์ พบว่า ผู้ชายส่วนใหญ่ไม่มีความตั้งใจก่อนการชม และผู้ชายที่มีอายุและลักษณะการดำเนินชีวิตต่างกันมีความตั้งใจขณะชมละครโทรทัศน์ต่างกัน แต่ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องการแสดงความคิดเห็นในขณะชมละคร และการนำเรื่องราวที่ได้รับจากการชมละครไปใช้ประโยชน์หลังจากชมละครโทรทัศน์แล้ว ความพึงพอใจใจหลักที่ผู้ชายได้รับจากการชมละครโทรทัศน์ คือ ความพึงพอใจเพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อต้องการข่าวสาร เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ เพื่อใช้เวลาว่าง และเพื่อนำไปปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น นอกจากนี้ พบว่า จากประสบการณ์การชมละครโทรทัศน์ทำให้กลุ่มตัวอย่างได้รับความเชื่อ และค่านิยม 4 กลุ่ม ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวัตถุ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ค่านิยม ด้านศาสนา และค่านิยมของสังคมไทย-
dc.description.abstractalternativeThis research is a studying about audiences by using selective processes and uses and gratifications approaches. The purpose of the research is to investigate the soap opera viewing behavior of male, including uses and gratifications and beliefs and values gained from viewing soap opera. Depth interviewing and questionnaire^ were research methods used for the data collection from a total of 30 male sampling separated into 3 groups by ages and lifestyle, namely teenage, adult and the elderly. The results show that ฟthough most sampling stay with their family and have their own television set, they prefer watching programs together with their family members and choosing those programs by themselves, For soap opera viewing behavior it is found that 50 % of sampling explore each soap broadcasted and mainly Choose these programs by themselves. Most sampling used their favorite actors as the key criteria for viewing Soap. Moreover, most men have no intention before viewing. During viewing soap, the different ages and lifestyles create different intention in viewing. However, there are not differences in their comment, and utilizes the massages they received after their viewing. The key uses and gratifications which men received from soap opera were entertainment, surveillance, relaxing, rest time and personal relation. In addition, the researcher found that soap opera transmit beliefs and values to male audiences. There were 4 groups of beliefs and values, including, relation between human and objects, relation between human and human, religious value and Thai social value.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectละครโทรทัศน์en_US
dc.subjectบุรุษen_US
dc.subjectผู้ชมโทรทัศน์en_US
dc.subjectTelevision playsen_US
dc.subjectMenen_US
dc.titleแบบแผนการชมละครโทรทัศน์ของผู้ชายen_US
dc.title.alternativeMale audiences' viewing patterns of soap operaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKanjana.Ka@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Autumporn_lu_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ458.88 kBAdobe PDFView/Open
Autumporn_lu_ch1.pdfบทที่ 1923.12 kBAdobe PDFView/Open
Autumporn_lu_ch2.pdfบทที่ 21.17 MBAdobe PDFView/Open
Autumporn_lu_ch3.pdfบทที่ 3232.61 kBAdobe PDFView/Open
Autumporn_lu_ch4.pdfบทที่ 45.49 MBAdobe PDFView/Open
Autumporn_lu_ch5.pdfบทที่ 5633.67 kBAdobe PDFView/Open
Autumporn_lu_ch6.pdfบทที่ 61.26 MBAdobe PDFView/Open
Autumporn_lu_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก454.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.