Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71696
Title: การรับรู้ของเยาวชนในเขตชุมชนคลองเตยเกี่ยวกับบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ ในการชักจูงเยาวชนไปสู่การสร้างพฤติกรรมเบี่ยงเบน
Other Titles: Perception of the youths in Klongtoey community on the role of the printed media in inducing them to deviated behavior
Authors: วรเชษฐ หอมจันทน์
Advisors: สุกัญญา สุดบรรทัด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sukanya.S@chula.ac.th
Subjects: การรับรู้
จิตวิทยาสังคม
Perception
Social psychology
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการรับรู้ของเยาวชนในเขตชุมชนคลองเตย และความสัมพันธ์กับตัวแปร ได้แก่ ปริบททางสังคมต่าง ๆ การเปิดรับสื่อสิ่งพิมพ์ และะการเข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิดวงประทีป โดยผู้วิจัยได้ศึกษาถึงพฤติกรรมการเปิดรับสื่อหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือการ์ตูน และหนังสือทางเพศบางฉบับ ที่สามารถนำมาวัดผลทางการวิจัยได้ และหลังจากนั้น จึงนำมาวิเคราะห์กวามคิดเห็นของเยาวชนเกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์ที่อาจมีต่อตนเอง โดยเน้นในเรื่องบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ในการสร้างพฤติกรรมเบี่ยงเบน ได้แก่ การละเมิดกฎหมาย วัฒนธรรม ศีลธรรม จารีต ประเพณี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา มีจำนวนทั้งสิ้น 401 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ในการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไคสแควร์ และ T-TEST ซึ่งประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จ SPSS/PC+ ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวแปรทางด้านปริบททางสังคม ประกอบด้วย สถานภาพทางครอบครัว การศึกษา ฐานะทางบ้าน ครู ที่โรงเรียน และเพื่อน มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลียนแบบที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการเปิดรับสื่อสิ่ง พิมพ์ 2. เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิดวงประทีป มีความคิดเห็นต่อบทบาทของสื่อในการสร้างพฤติกรรมเบี่ยงเบนไม่แตกต่างจากเยาวชนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิดวงประทีป 3. การเลือกเปิดรับสื่อสิ่งพิมพ์ทุกประเภทของเยาวชนในเขตชุมชนคลองเตย มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นด้านการสร้างพฤติกรรมเบี่ยงเบน
Other Abstract: This Study aimed at studying on the roles of printed media in inducing youth’s to words deviant behavior as perceived by the youths in klongtoey community together with studying how their social background, exposure to printed media and participation in Duangprateep Foundation releted to their perception. The youths behavior when exposed to certain types of printed media i.e. newspapers, magazinees, cartoons and some pornographhic magazines, was analyzed to determine their perception of the role of this media which might induce them towords deviant behavior .namely noconformation to laws, culture, moreal code of ethics, customs, and tradition. The sample size was 40%. The data was collected from Questionnaires which was analyzed by the SPSS/PC+ program and presented in terms of frequency distribution, percentage, average scores "standard diviation, Qui-Square and T-Test Findings : 1.Varibles on social background i.e. family’s social status, education, income, classroom teachers and friends had influence on the youth’s opinions on imitating behavior which might occur agfter having been exposed to the printed media. 2. The youths participating in Duangprateep Foundation shared the printed media in inducing deviant behavior to those of the non-participating youths. 3. There was a correlation between the youths’ exposure to printed media and their opinions on deviant behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การหนังสือพิมพ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71696
ISBN: 9746380699
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vorachest_ho_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ931.98 kBAdobe PDFView/Open
Vorachest_ho_ch1.pdfบทที่ 12.38 MBAdobe PDFView/Open
Vorachest_ho_ch2.pdfบทที่ 21.85 MBAdobe PDFView/Open
Vorachest_ho_ch3.pdfบทที่ 3618.4 kBAdobe PDFView/Open
Vorachest_ho_ch4.pdfบทที่ 43.55 MBAdobe PDFView/Open
Vorachest_ho_ch5.pdfบทที่ 51.5 MBAdobe PDFView/Open
Vorachest_ho_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก4.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.