Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7170
Title: การติดตามการเจริญและการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตโดย Pseudomonas sp. สายพันธุ์ A41 ในอาหารที่มีน้ำมันและกรดไขมันเป็นแหล่งคาร์บอน : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Growth and production of biosurfactant produced from Pseudomonas sp. using oils and fatty acids as carbon sources
Authors: จิราภรณ์ ธนียวัน
ณัฐชนัญ ลีพิพัฒน์ไพบูลย์
นพรัตน์ วานิชสุขสมบัติ
Email: jiraporn.Th@chula.ac.th
natchanun.l@chula.ac.th
nopparat@biotec.or.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ
ซูโดโมนาส
จุลินทรีย์ -- การเพาะเลี้ยงและอาหารเพาะเชื้อ
น้ำมันปาล์ม
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Pseudomonas sp. สายพันธุ A41 คัดแยกได้จากน้ำทะเลในอ่าวไทย มีความสามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพสูงสุดในภาวะที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นแหล่งคาร์บอน และใช้ NH4N03 เป็นแหล่งไนโตรเจน ในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวกำหนดสูตรโดยมีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจนเท่ากับ 10.29 ค่าความเป็นกรดเป็นด่างเท่ากับ 7.0 บ่มที่อุณหภูมิห้อง (30±℃), เขย่าที่ 200 รอบต่อนาที เป็นเวลา 72 ชั่วโมง มีค่า production yield (YP/S) 0.125 กรัมต่อกรัม ซึ่งมีค่ามากกว่าผลิตโดยใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นแหล่งคาร์บอนซึ่งมีค่า production yield (YP/S) 0.113 กรัมต่อกรัม เมื่อนำสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้ทำให้บริสุทธิ์ด้วยการสกัดโดยตัวทำละลายอินทรีย์พบว่ามีค่า critical micelle concentration (CMC) เท่ากับ 50 มก.ต่อ ลิตร สามารถลดแรงตึงผิวที่ค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 2-12 เสถียรที่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 2-12 เสถียรต่อความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์มากกว่า 5.0% ที่อุณหภูมิ 100℃นาน 15 ชั่วโมง และ 121℃ นาน 240 นาที สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่บรีสุทธิ์บางส่วนสามารถเกิดอิมัลชั่นกับสารไฮโดรคาร์บอนได้หลากหลายเมื่อวัดค่าอิมัลชั่น อินเด็กช์ และอิมัลชั่นจะเสถียรตลอด 30 วันกับ ไดคลอโรมีเทน เฮกเซน โทลูนอีน ไชลีน คลอโรฟอร์ม และน้ำมันพาราฟิน และมีความสามารถในการละลายได้กับตัวทำละลายอินทรีย์หลายชนิดหากละลายได้ดีที่สุดกับคลอโรฟอร์มและเมทานอล และไม่ละลายในเฮกเซน ยิ่งไปกว่านั้นสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่บริสุทธิ์บางส่วนมีความสามารถในการกระจายน้ำมันไม่ด้อยไปกว่าสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ เมื่อทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีโครมาโตกราฟีเและ ทำเคมีวิเคราะห์ด้วย LC-MS และ IR spectrum สามารถกล่าวได้ว่าสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้เป็นแรมโนลิปิด
Other Abstract: Pseudomonas sp. strain A41, an organism isolated from Gulf of Thailand has been shown capable of producing biosurfactant. When cultivated เท chemical defined medium using palm oi! as a carbon source, NH4NO3 as a nitrogen source while adjusted C/N ratio to 10.29, pH to 7.0 and incubated at room temperature (30±2℃) with 200 rpm of agitation for 72 hours. The organism gave production yield (Yp,s) 0.125 g/g which is higher than 0.113 g/g that of when glucose was employed as a carbon source. The partially purified biosurfactant demonstrated CMC value of 50 mg/l and showed its surface active activity in broad pH rang (2-12). In additional, the biosurfactant thereof was found stable to pH 2-12, NaCI up to 5%, 100℃ 15 hours and 240 minutes at 121℃. High emulsion index emulsion could be formed with various organic solvents and oil while emulsion formed were stable even after 30 days in dichloromethane, hexane, toluene, xylene, chloroform and paraffin oil. This biosurfactant showed good solubility in numbers of organic solvent in which chloroform and methanol were the better one but insoluble in hexane. Its respective oil displacement activity was as good as if not better than various know chemical surfactants and finally its LC-MS pattern and IR spectrum indicated a rhamnolipid in nature.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7170
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jiraporn.pdf6.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.