Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71705
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทวัน สุชาโต-
dc.contributor.authorดลฤดี สุวรรณคีรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-01-04T07:03:39Z-
dc.date.available2021-01-04T07:03:39Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746359673-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71705-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการพฒนาทรัพยากรมนุษย์บ้านเกร็ดตระการ และการวิเคราะห์ทัศนคติของหญิงที่เข้ารับการอบรมตามโครงการฯ ที่มีต่อตนเองและอาชีพโสเภณี โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการฯ และการทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของอดีตหญิงโสเภณีผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวนทั้งสิ้น 87 คน ถึงทัศนคติที่มีต่อโครงการฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ได้ใช้ทฤษฎีการปรับและฟื้นฟูสภาพจิตใจรวมทั้งการเสาะแสวงหาข่าวสารเพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าผู้เข้ารับฯ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 20 - 25 ปี ภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ มีระดับการศึกษาประถมปีที่ 5-6 และเป็นโสเภณีมา 1-3 ปี และต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว สาเหตุที่เข้ามาประกอบอาชีพโดยรวมเนื่องจากยากจน ผู้เข้ารับฯ ส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อการทำกลุ่มบำบัดและการให้ข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งให้ความเห็นว่าสื่อบุคคลเป็นสื่อที่สร้างความเข้าใจได้มากที่สุด จากการวิจัยยังพบอีกว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์ การเปิดรับสื่อต่างๆ ในโครงการฯ รวมทั้งประสบการณ์จากโครงการฯ ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับตนเอง และต่ออาชีพโสเภณีของ ผู้เข้ารับฯ เนื่องจากโครงการฯ ได้เน้นการให้การฝึกอบรมทางอาชีพมากเกินไปและไม่ได้ให้ความสำคัญกับการปรับฟื้นฟูสภาพจิตใจ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อที่มีต่ออาชีพโสเภณี จึงทำให้หญิงเหล่านี้โดยส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะกลับไปประกอบอาชีพดังกล่าวอีก โดยมีการปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ในด้านการดำเนินชีวิตและการฝึกอบรมทางอาชีพ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to evaluate the effectiveness of the Kredtrakarn resource development project. Focus was also on an analysis of respondents’ attitudes towards themselves and prostitution after a completion of the project. Data collection was conducted through participation observation , in-depth interview , and self-administered questionaires of 87 former prostitutes from the project. Findings demonstrated that most respondents were 20 - 25 years of age and originally from the North. Their education was only at 5 or 6 Grade level. The majority have been prostitutes for 1-3 years. Problems of poverty and a need for family financial support were claimed as main factors for becoming prosititutes. Most of these women reflected their favorable attitudes towards group therapy. They admitted that interpersonal medium was the best way to comprehend the subject matter learned in the group. It was also found that there was no significant relationships between variables of SES, media exposure, group participation and women’s attitudes towards themselves and prostitution. Emphasis on occupation training instead of rehabilitation quality failled to facilitate changes in these women’s attitudes and beliefs towards their occupation. Around 80-90 % of them reported that they Wished continue prostitution activities and were uninterested in training for new careers.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสื่อสารen_US
dc.subjectโสเภณีen_US
dc.subjectจิตบำบัดen_US
dc.subjectการรับรู้en_US
dc.subjectCommunicationen_US
dc.subjectProstitutesen_US
dc.subjectPsychotherapyen_US
dc.subjectPerceptionen_US
dc.titleพฤติกรรมการบริโภคสารและการรับรู้ต่ออาชีพโสเภณี ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในโครงการบ้านเกร็ดตระการen_US
dc.title.alternativeInformation consumption and perception towards prostitution among female participants in Kredtrakarn Rehabilitation Programen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Donrudee_su_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ392.76 kBAdobe PDFView/Open
Donrudee_su_ch1.pdfบทที่ 1558.27 kBAdobe PDFView/Open
Donrudee_su_ch2.pdfบทที่ 2654.27 kBAdobe PDFView/Open
Donrudee_su_ch3.pdfบทที่ 3245.45 kBAdobe PDFView/Open
Donrudee_su_ch4.pdfบทที่ 45.38 MBAdobe PDFView/Open
Donrudee_su_ch5.pdfบทที่ 5845.5 kBAdobe PDFView/Open
Donrudee_su_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.