Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71724
Title: | บทบาทของฝ่ายค้านในสมัยรัฐบาล ชวน หลีกภัย |
Other Titles: | Roles of the opposition in the Chuan Leekpai's Government |
Authors: | อุดมศักดิ์ จิตตธรรม |
Advisors: | วิทยา สุจริตธนารักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บทบาท ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2535-2538 ชวน หลีกภัย, 2481- |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึง บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน ในสมัยรัฐบาล ชวน หลีกภัย ซึ่งอยู่ในอำนาจการบริหารงานรัฐบาล ระหว่างวันที่ 13 กันยายน 2535 ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 ( รวมระยะเวลา 2 ปี 7 เดือน ) โดยสนใจศึกษาบทบาทการดำเนินการทำหน้าที่ในการควบคุมรัฐบาลเป็นสำคัญ นอกเหนือไปจากหน้าที่ในด้านนิติบัญญัติ โดยเน้นศึกษาการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจเป็นสำคัญ จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า เป็นไปตามสมมุติฐาน 2 ข้อ กล่าวคือ การยุบสภาผู้แทนราษฎรในสมัยรัฐบาล ชวน หลีกภัย มีสาเหตุมาจาก 1. การควบคุมรัฐบาลของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน ในสมัยรัฐบาล ชวน หลีกภัย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้รัฐบาลไม่มีทางออกในการแกไขปัญหาทางอื่น นอกจากตัดสินใจ “ยุบสภา” 2 2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านในสมัยรัฐบาล ชวน หลีกภัย มีความพร้อมและสามารถใช้สื่อมวลชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการรวบรวมพยานหลักฐานในการชี้แจงให้เห็นเกี่ยวกับ เรื่องความไม่ชอบธรรมทางการเมืองของรัฐบาล ชวน หลีกภัย ในเรื่องการใช้นโยบายออก สปก.4.-01 มาเป็นเครื่องมือ ล้มบีบบังคับให้รัฐบาลต้องยอมยุบสภา |
Other Abstract: | The research aims at studying the role of the opposition in the House of Representatives in the Chuan Leekpai’s administration especially the role of controlling the government by means of non - confidence debate. The findings agree with the hypothesis ; that is the dissolution of the House of Representatives is caused by : 1. Effective control of the opposition giving the government no other choice than the House dissolution , and 2. Readiness and effective use of mass media by the opposition to supply evidences pointing to political illegitimacy and the land reform policy on of the government. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71724 |
ISBN: | 9746356011 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Udomsak_ji_front_p.pdf | 891.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Udomsak_ji_ch1_p.pdf | 917.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Udomsak_ji_ch2_p.pdf | 2.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Udomsak_ji_ch3_p.pdf | 2.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Udomsak_ji_ch4_p.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Udomsak_ji_ch5_p.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Udomsak_ji_back_p.pdf | 821.3 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.