Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71739
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย | - |
dc.contributor.author | ธวัฒน์ชัย สุดใจศิริบูล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-01-15T09:06:49Z | - |
dc.date.available | 2021-01-15T09:06:49Z | - |
dc.date.issued | 2528 | - |
dc.identifier.isbn | 9745649937 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71739 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 | - |
dc.description.abstract | เมื่อกล่าวถึงคำว่า “เงินตรา” มนุษย์ทุกรูปทุกนามรู้ว่าเงินตราเป็นสิ่งซึ่งมนุษย์สามารถนำไปใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภคและบริการ และรู้ว่าเงินตราเป็นเครื่องมือกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสินค้าต่อสินค้า หรือราคาเป็นหน่วยของเงินตรา ซึ่งเป็นเครื่องวัดมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค และบริการมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้แล้ว มนุษย์ยังรู้อีกด้วยว่าเงินตราเป็นมาตรฐานการชำระหนี้ในอนาคตและเป็นเครื่องรักษามูลค่า การที่เงินตราทำหน้าที่สำคัญ ในการเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน เป็นเครื่องวัดมูลค่า เป็น[มาตรฐาน]การชำระหนี้ในอนาคต และเป็นเครื่องรักษามูลค่า ลักษณะหน้าที่สำคัญดังกล่าวนี้ ทำให้เงินตรามีหน้าที่อื่น ๆ ประกอบตามมาอีกด้วยหลายประการ คือทำหน้าที่เป็นเครื่องมือชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เป็นหลักประกันฐานะของลูกหนี้ เป็นเครื่องโอนย้ายมูลค่า เป็นเครื่องมือให้การกระจายรายได้เป็นไปโดยสะดวก และเป็นสื่อกลางของให้และของให้ยืม ทำให้เงินตรามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมแต่โดยที่ในแต่ละประเทศมีความสามารถในการผลิตสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคและบริการอย่างจำกัดไม่ว่าเป็นเพราะสภาพภูมิประเทศ เทคโนโลยีหรือเงินทุน ในประเทศเหล่านี้จึงมีความจำเป็นต้องสั่งซื้อสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภคและบริการจากประเทศอื่น ก่อให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันขึ้นในระหว่างประเทศ ในระยะแรกนั้นการซื้อขายในระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ทำด้วยการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า และด้วยสาเหตุที่ระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า เป็นขบวนการที่ทำให้สิ้นเปลืองเวลาในการแสวงหา ผู้ซึ่งมีความปรารถนาจะแลกเปลี่ยนด้วย ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างต้องตกลงราคาในการแลกเปลี่ยนกันนั้นเป็นอัตราส่วนจำนวนเท่าใด ระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศจึงเปลี่ยนมาใช้ทองคำเป็นสื่อกลาง หรือทำหน้าที่เป็นเงินตราระหว่างประเทศ ปัญหาความยุ่งยากในการขนส่งทองคำไปชำระหนี้ระหว่างประเทศ จึงเข้ามาแทรกแซง และปรากฏว่า ในบรรดาประเทศทั้งหลายได้แก้ปัญหานี้ด้วยการผลิตเงินตรากระดาษ หรือธนบัตรหมุนเวียนขึ้นใช้แทนทองคำ แต่ในชั้นแรกนั้นค่าของเงินตรากระดาษยังไม่แน่นอน ทั้งยังปรากฏว่าได้มีการผลิตขึ้นใช้กันอย่างเกินสมควรทำให้เงินตรากระดาษมีค่าลดต่ำลง และขาดการเชื่อถือ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้แก้ไขปัญหาด้วยการตกลงยอมรับแลกเปลี่ยนเงินตรากระดาษเป็นทองคำตามราคาที่กำหนดตายตัว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่ารัฐบาลในประเทศต่าง ๆ ได้นำเอาทองคำมาเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ และกำหนดราคาหรือค่าเสมอภาคเทียบกับทองคำ และเรียกระบบเงินตราระบบนี้ว่า ระบบมาตรฐานทองคำ ในระบบมาตรฐานทองคำนั้น เงินตราทุกสกุลสามารถแลกเปลี่ยนกลับคืนสู่ทองคำได้ ในลักษณะนี้ ทำให้เงินตราทุกสกุลสามารถทำหน้าที่เป็นเงินตราระหว่างประเทศเหมือนทองคำ แต่อย่างไรก็ตามปรากฏว่าในหลายประเทศได้ทำการสะสมทองคำไว้ และไม่ยินยอมขายหรือรับแลกเปลี่ยนทองคำด้วยเงินตราสกุลของตน ทำให้เกิดการขาดแคลนทองคำ และสภาพเงินตราสกุลต่าง ๆ ขาดความ เชื่อถือ ในที่สุดจึงได้มีการค้นหาเงินตราระหว่างประเทศชนิดอื่นมาใช้แทนทองคำ ซึ่งจากการศึกษา ปรากฏว่าบางประเทศได้ถือเอาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา และเงินปอนด์สเตอร์ลิงอังกฤษเป็นเงินตราระหว่างประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ให้เป็นเงินตราสำรองหลัก ทั้งนี้เพราะว่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาสามารถแลกเปลี่ยนเป็นทองคำและสินทรัพย์สำรองชนิดอื่น ๆ ได้ การทำหน้าที่เป็นเงินตราระหว่างประเทศของเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ตกเป็นภาระหนักต่อดุลการชำระเงินของสหรัฐอเมริกา ทั้งยังปรากฏด้วยว่าบรรดาประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ซึ่งมีปัญหาในดุลการค้าและดุลการชำระเงินอยู่แล้วนั้น ต้องประสบปัญหาการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศไว้ใช้จ่ายและส่งผลกระทบต่อค่าเงินตราของตน ซึ่งมีผลต่อระบบเศรษฐกิจภายในและการอยู่ดีกินดีของประชาชนประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้ จึงได้พยายามดึงดูดเอาเงินทุนต่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาดุลการค้าและดุลการชำระเงิน แต่ทว่าเงินทุนต่างประเทศนั้นก็ไม่เพียงพอ และการช่วยเหลือจากต่างประเทศก็ได้กำหนดเงื่อนไขมากเป็นภาระหนักแก่ประเทศกำลังพัฒนา ระบบการค้าและการเงินระหว่างประเทศเป็นไปในทางเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน บรรดาประเทศทั้งหลายจึงจำกัดควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและการค้าต่างประเทศ ยิ่งทวีปัญหาการขาดดุลการชำระเงินให้สหรัฐอเมริกามากยิ่งขึ้น บรรดาประเทศต่าง ๆ นำโดยสหรัฐอเมริกา จึงได้ตกลงร่วมมือกันจัดตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้เกิดระบบการชำระเงินหลายฝ่ายและจำกัดการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ซึ่งขัดขวางความเจริญการค้าโลก [ข้อตกลงกองทุนการเงิน มาตรา I (iv)] พร้อมทั้งให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐสมาชิก เพื่อแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงิน โดยจัดสรรสิทธิพิเศษถอนเงิน ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติที่สร้างขึ้นใช้เป็นสินทรัพย์สำรองระหว่างประเทศแทนทองคำและลดบทบาทของเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาลง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความในมาตรา I (iv) แห่งข้อตกลงกองทุนการเงินจะได้ขจัดการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินแก่รัฐสมาชิกก็ตาม แต่ก็ยังคงเป็นที่ตระหนักของกองทุนการเงินว่าระบบของกองทุนการเงินไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาได้ จึงกำหนดบทยกเว้นให้รัฐสมาชิกทำการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินได้ตามความจำเป็น เพื่อป้องกันทรัพยากรทางการเงินของประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้รัฐสมาชิกร่วมกันตกลงยอมรับการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินของรัฐสมาชิกอื่น ๆ [มาตรา VIII (2) (b)] มาบังคับแก่คดีของศาล ทั้งในทางที่สนับสนุนและปฏิเสธ โดยอาศัยหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายอยู่หลายคดีด้วยกัน สำหรับปัญหาอันเกิดจากระบบกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและการค้าต่างประเทศโดยทั่ว ๆ ไป ได้แก่ปัญหาการแลกเปลี่ยนนอกกฎหมาย ซึ่งเกิดขึ้นไม่เฉพาะแต่มีสาเหตุมาจากข้อจำกัดต้องห้ามตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมทั้งสาเหตุจากการจัดเก็บกำแพงภาษีศุลกากร ภาษีท้องถิ่น ภาษีการค้า และภาษีเงินได้ เหล่านี้ ก็นับได้ว่ามีส่วนจูงใจในการแลกเปลี่ยนนอกกฎหมายอยู่ด้วย ปัญหาการแลกเปลี่ยนนอกกฎหมายที่เกิดขึ้นจากระบบกฎหมายดังกล่าวที่เป็นปัญหาสำคัญ ๆ ได้แก่ปัญหาใบอนุญาตนำเข้าและส่งออกนอกกฎหมาย เช่น ใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกที่ได้รับมาโดยการติดสินบนเจ้าพนักงานและใบอนุญาตที่ได้รับโอนมาอีกทอดหนึ่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาบัญชีแสดงรายการสินค้าเท็จ เช่นการนำเข้าหรือส่งออก น้อยหรือมากกว่าบัญชีแสดงรายการสินค้าการสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าหรือสูงกว่าราคาที่แท้จริงหรือการชดเชยสินค้าเสื่อมคุณภาพ ผิดคุณภาพ หรือขาดปริมาณอันเป็นความเท็จ และปัญหาการค้าของผิดกฎหมาย ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดการโอนเงินออกนอกประเทศ ทั้งสิ้น สำหรับปัญหาอันเกิดจากระบบกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและการค้าต่างประเทศของประเทศไทยที่สำคัญ ๆ ในกรณีอื่น ๆ ได้แก่ 1. กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกบการควบคุมการค้าต่างประเทศมีลักษณะในทางเอื้ออำนวยต่อการนำเข้ามาก คือสินค้าชนิดใดที่กำหนดไว้ว่าต้องห้ามนำเข้าสินค้าชนิดนั้นก็ไม่อาจนำเข้าได้และสินค้าชนิดใดต้องได้รับอนุญาตก่อนการนำเข้า สินค้าชนิดนั้นก็จะต้องได้รับอนุญาตก่อนการนำเข้า ส่วนสินค้าชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ได้กำหนดไว้ก็สามารถนำเข้าได้โดยเสรี ซึ่งในลักษณะการเอื้ออำนวยต่อการนำเข้าเช่นนี้ ก่อให้เกิดปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลการชำระเงินของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง 2. ปัญหาความล่าช้าในการดำเนินตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบถึงสองฉบับ คือพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 โดยผ่านทางกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 โดยผ่านทางธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง ซึ่งปัญหาความล่าช้าอันเกิดจากระบบกฎหมายดังกล่าวนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าเกษตรกรรมของประเทศไทยที่จะส่งออกเป็นอย่างมาก 3. ปัญหาความยุ่งยากและสลับซับซ้อนของกฎหมายและระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและการค้าต่างประเทศ กล่าวคือกฎหมายและระเบียบควบคุมการค้าต่างประเทศ มีทั้งพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศและระเบียบต่าง ๆ นับเป็นจำนวนร้อย ๆ ฉบับ บางฉบับปรากฏว่าออกใช้บังคับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 บางฉบับก็[ปรากฏ]ว่าได้กำหนดสาระสำคัญของสินค้าชนิดเดียวเท่านั้น และบางฉบับ[ปรากฏ]ว่าได้มีการปรับปรุงแก้ไขซ้อนขึ้นมาหลายครั้งจนไม่สามารถทราบได้ว่าฉบับใดมีผลบังคับใช้ ส่วนกฎหมายและระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินก็มีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนเป็นเช่นเดียวกัน คือมีทั้งกฎกระทรวง ประกาศกระทรวงการคลัง คำสั่งกระทรวงการคลัง ให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย คำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และระเบียบพิธีการอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสับสนในการศึกษาทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง 4. ปัญหาการโอนหรือส่งเงินออกนอกประเทศนอกระบบ เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ดำเนินธุรกิจรับแลกเปลี่ยนเงิน ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการบังคับและปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบพิธีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินอาศัยโอกาสที่ตนทำหน้าที่นั้น ลักลอบโอนหรือส่งเงินออกนอกประเทศ ซึ่งถึงแม้ว่าจะได้มีระเบียบพิธีการในการตรวจสอบสมุดบัญชีและเอกสารในการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีหนทางใดที่จะสามารถที่จะเข้าไปตรวจสอบการลักลอบโอนหรือส่งเงินออกนอกประเทศที่ไม่[ปรากฏ]ในสมุดบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ 5. บทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นความผิดและโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 มาตรา 8 และมาตรา 8 ทวิ ยังมีความเหลื่อมล้ำกันในอัตราโทษที่ขัดต่อหลักเหตุผลอยู่ กล่าวคือ มาตรา 8 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบทั่ว ๆ ไป มีอัตราโทษต่ำกว่าอัตราโทษตามมาตรา 8 ทวิ แต่การดำเนินคดีจะต้องกระทำโดยแต่ทางศาลเท่านั้น และมาตรา 8 ทวิ ซึ่งเป็นบท[บัญญัติ]ที่เกี่ยวกับการลักลอบส่งเงินออกนอกประเทศ ซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าอัตราโทษตามมาตรา 8 แต่เจ้าพนักงานมีอำนาจเปรียบเทียบปรับและระงับการฟ้องร้องคดีต่อศาล สำหรับข้อสรุปและปัญหาของระบบกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและการค้าต่างประเทศดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น วิทยานิพนธ์นี้ได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์โดยวิจัยเอกสารจากข้อมูล หนังสือ ตำราทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ วารสาร บทความสิ่งพิมพ์และเอกสารต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่อย่างกระจัดกระจาย ทั้งนี้เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงและหลักเกณฑ์ของกฎหมายและระเบียบพิธีการว่าด้วยการนำเข้าและส่งออกซึ่งเงินตราในระบบการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินในทางทฤษฎีและแนวความคิดทางกฎหมาย[ภายใต้]ข้อตกลงกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ทั้งของประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ ซึ่งจากการวิจัยนี้พอมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ดังนี้ 1. เพื่อความเป็นเอกภาพของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลว่าด้วยการควบคุมแลกเปลี่ยนเงิน สมควรที่จะได้มีการร่วมมือตกลงกันจัดทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการจำกัดควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินขึ้น 2. ในกรณีที่มีคดีอันเกี่ยวแก่สัญญาแลกเปลี่ยน ซึ่งผูกพันอยู่กับเงินตราของรัฐสมาชิกอื่นของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในศาลไทยควรวินิจฉัยปัญหาให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินของรัฐสมาชิกนั้น ทั้งนี้เพื่อความเป็นเอกภาพของกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และเพื่อสนองเจตนารมณ์ ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ... | - |
dc.description.abstractalternative | When we discuss the word “currency”, humans of all creed and build would comprehend that currency is an item which humans can use as a medium for purchase, sales and exchange of goods, consumer products and services, and they would also know that the currency is used as a standard exchange between goods or as price unit of the currency which is used to [evaluate] the price or cost of assets, goods, consumer products and services, in order to determine [the] cost-value of an item or service, apart from this, it is also a known fact to the average human that the currency is a medium for the payment of debts. It is also used to store value. Owing to the fact that the currency is a medium that serves important functions as a medium of exchange, cost-price valuation, a standard medium for the payment of debts and for the maintaining of value, therefore the nature of these important functions mentioned also entails numerous other functions [i.e.]. Used as a medium for the legal payment of debts, a standard guarantee for maintaining the status of the debtor, a medium used for the transference of value, for the convenience of income distribution, including the medium used for reimbursements and lending which expounds the importance of the currency towards the economic and social systems. But due to the fact that each country has a limited capacity in the production of goods, consumer products and services, no matter whether such incapacity is due to [geographical] factors, level of technology or amount of capital investment in such countries had necessitated purchases of goods, [consumer] products and services from other countries which in turn creates the system of purchase, sales and exchange between countries. During the early periods, commercial activities as purchase and sales which created the overseas economic system between countries, such commerce was conducted by the exchange of goods, and because commerce was generally conducted by the exchanging of goods, such practice was time consuming as the exchanger of goods with the same demand had to be found and in which case both the purchaser and the seller would have to reach an agreement on the actual value and percentage of the items to be exchanged, and therefore in the later periods the “barter system” was replaced by a new economic system which uses gold as the standard medium of exchange and/or used as the first form of currency in the overseas trading system. When gold came to be used as the medium of exchange, the system had its deficiencies, there were inconveniences and hazards involved in the transportation of gold between countries for the purpose of debt payments. This had prompted several of the leading overseas trading countries to overcome such inconveniences by printing and minting their own currency for circulation in replacement of gold, but during the early period of the currency system, the value of the currency was imperfect and not standardized and in addition, a frequent occurance was that the currency was over-printed causing inflation and the loss in value of the currency including the acceptance of its commercial value and therefore the governments in those days had solved the problem by agreeing to peg the value of the currency with the fixed standard gold value or in another words each of the trading governments had agreed to use their gold stock as a reserve capital which determins the value of currencies between countries and this system was called the Gold Standard system. The gold standard system had enabled all types of currencies to be exchanged back into gold, and in this aspect all the international currencies were able to be used as medium of exchange or as an equivalent of gold, but however, it occurred that many countries had kept their own gold stock but were reluctant to sell off or exchange their gold stock to standardize the value of their currency which had created the scarcity of gold which in turn had caused the loss of value and credibility of various currencies, and eventually efforts were made to seek for an alternative currency to be used instead of gold. From studies which have been made, we learn that various leading trading countries had chosen the dollar currency of the United States of American and the British pound sterling as their standard international currency. This was true the extent that the U.S. Dollar was internationally accepted as the principal currency and this was because the U.S. Dollar was readily convertible into gold and other types of reserve capital. As the U.S. Dollar became regarded and functioned as the major international currency it also became a burden for the United States in its balance of payments, while on top of such burdens it occurred that developing countries were experiencing problems concerning their trade deficits and balance of payments were faced with their own lack of foreign exchange for payment of external debts had in turn effected the value of their own currency with reprecussions to internal economic system including the well being of the population of the developing countries, and for this reason developing countries had tried to attract foreign investment into their countries to off-set their cronic trade deficit and balance of payment problems, in this case the crux of the problems is that developing countries often lack the sufficient amount of foreign exchange while overseas financial aid are often granted with numerous conditions which have proved to be a heavy burden to the developing countries concerned. In this light the international trading and economic systems are base on the advantage and disadvantage of the countries concerned, and this had prompted many countries to limit and control their currency exchange and increased international trade protectionism which had aggrevated the trade deficit and balance of payment for the United States. The international community led by the United States had therefore cooperated in establishing the International Monetary Fund (IMF) with the prime objective to promote and convenience the debt payment system for the international community and to overcome the problems of limited and strigent exchange control systems which were hindering the advancement of world trade (the Agreement of the International Monetary Fund : See Section I (iv)). The IMF provides advisory services, guidelines and financial assistance to [government] enterprises in order to help solve their payment deficits by the allocation of special drawing rights, which is an artificial international reserve fund to replace the gold standard which was instrumental for the reduction of the Dollar’s role in international lending. However, in spite the fact that the provisions under Section I (iv) of the International Monetary Fund eliminates the limitation or strigent exchange control by member countries, but IMF authorities are aware that the IMF system is unable to eradicate such problems and therefore a provision was made to allow the member states to control their own foreign exchange systems as deemed appropriate in order to preserve and protect the financial and economic resources of the countries concerned. Apart from this the IMF also supports and promotes efforts by the member states to reach a mutual agreement by which states would be allowed to oversee each other’s exchange control system (Section VIII (2) (b)). But in spite of these measures, in actual practice it had [occurred] that in [attribution] cases in the Law Courts of the member states the Section VIII (2) (b) had been used to enforce the law for both promotional and prohibitive actions. The cause of this problem is the dependency of the Law Courts on International Law pertaining to the legal contradictions of the laws of each country which had casted a grey area to numerous cases in the past. The problem which had prompted the legislation of international laws to govern and control the exchange system and international trading procedures in general were caused by the illegal or black-market exchange transactions which were spurned not only by the prohibitions and restrictions of such laws but also by the tax system ie. Custom and tariff barriers, provincial taxes, business tax and the income tax have been instrumental in encouraging tac evaders to conduct their transactions and exchanges on the black market. The problems caused by these illegal transactions and exchanges, caused by restrictive laws, had created other pressing problems ie. The acquisition of illegal transfer or import/export licences such as licences illegally acquired through bribing local authorities or permits which were acquired by the illegal transfer of the rights of ownership, including falsified documents as cargo manifests or bill of lading which are used to import or export goods in larger or smaller amounts than evidenced in the said documents, or for increasing or reducing the cost price of goods which are shown otherwise on the documents or for the illegal distribution of depreciated goods, the falsification of the quality or quantity of goods including problems of contra/band goods and smuggling activities. These are the major problems causing the continual drain of foreign exchange currency out of the country. The problems caused by the Exchange Control Law and restrictions governing external trade of Thailand which are considered as important in other cases are as follows :- 1. Laws and regulations which govern and control external trading activities were promulgated in a fashion which benefits the importation activities in this case deemed to be excessive. In such case where the provisions of law prohibits the importation of certain types of goods, then such goods could not be imported, while other types of goods, then such goods could not be imported, while other types of goods which have to apply for permission prior to their importation, then such goods could only be imported after acquiring the import permit for that category of goods, whereas other types of goods which are not listed under the Import Restriction Regulations could be freely imported. In such case, the excessive benefits granted to import goods has been one of the major factors which had created trade deficits and balance of payment problems for Thailand. 2. Sluggish legal and bureaucratic procedures in [implementing] the law and two sets of regulations ie. The Export to without and Import to within the Kingdom B.E. 2522, by having to pass through the bureaucratic procedures of the Foreign Trade Department, the Ministry of Commerce and the Exchange Control Act B.E. 2485 by having to conduct the transaction through licenced commercial banks of the Bank of Thailand, the Ministry of Finance, while the delay caused by these legal procedures had caused damage especially to Thailand’s agricultural products export industry. 3. The problem is also aggrevated by the confusion and complexity of the laws and regulations pertaining to the foreign exchange procedures and foreign trade activities, that is to say laws governing foreign trade activities consists of promulgated acts, ministerial regulations, announcements including other rules and regulations numbering hundreds of documents – some of which were promulgated and enforced since B.E. 2485. The worst of these pending legal obsticals are laws which were promulgated to give restriction to only one particular type of goods, while other laws or regulations have since been amended and revoked numerous times until the problem arises as to which edition of the amendments should be used. As for the laws and regulations governing the exchange control are equarlly complex, these consists of ministerial regulations, announcements of the Ministry of Finance, orders of the Ministry of Finance to be used by the representative of the licenced agent, Announcement of the Bank of Thailand, orders issued by the exchange control officials including other additional rules and procedures. Such problems had created unnecessary confusion for study and easy comprehension. 4. The problem of illegal transfers or reimbursements of money outside the country, which is conducted outside the exchange control system, are created by persons/institutions engaged in the business of currency exchange, which are regarded as representatives of the government responsible for the control and enforcement of all procedures to be in accordance with the law and regulations governing the exchange control, who use their positions and capacity of controlers of the exchange procedure to smuggle or make illegal financial transfers from the country. In this case, in spite the fact that there are already regulations and procedures to control and govern these transactions including a sound auditing system to scrutinize the accounts, legers and documents involved in such business activities, but there are no provisions or procedure which can scrutinize the illegal transactions and transfers which are not recorded in the account books or other documents concerned. 5. Penalty Clauses pertaining to punishment for illegal activities and the punishment to be dealt to the person breaching the law and provisions of the Exchange Control Act B.E. 2485, Section 8 and Section 8 (bis) clearly shows the uneven penalties which is an illogical contradiction ie. Section 8 : The provisions of this section governs the breach or neglectance of the law and general regulations provides a milder penalty that the provisions of Section 8 (bis) which all cases of breach or neglectance must be subjects to the ruling of the Courts of Law, while Section 8 (bis) which governs the illegal smuggling or transfer of money from the country which provides a harder penalty than Section 8, but the competent officials are given the power to make comparisions, claim for fines including the power to prevent the case from entering the Law Courts. Whereas this Excerpt Chapter on the Problems of the legal governing the currency exchange and foreign trade procedures as mentioned in brief above, this Thesis had been prepared by Study and analysis of documents containing the data on the subjects involved, text books written by both Thai and foreign authors, magazines, essay columns including various printed material and documents, which were acquired from various places, in this case in order to conduct a study of the facts and principles of the laws and regulations pertaining to the transference of foreign exchange from within and outside the country in order that comparisons could be made between the theoretical exchange control system and the legal school of thought under the International Monetary Fund agreement-which covers Thailand and other countries. Several guidelines for overcoming these mentioned problems have arisen from this study as follows, 1. In order to render exclusivity and individuality to the international law on cases pertaining to the Exchange Control system, necessitates cooperation and mutual agreement by the international community to draw up and enact an international treaty to govern the exchange of currency. 2. In the event of a legal case arising from or pertaining to the exchange procedures which concerns the currency of other member countries of the International Monetary Fund, the Thai Courts of Law should solve the case by basing its ruling on the provisions of the laws and regulations governing the Exchange Control procedure of that member country, in this case in order to preserve the exclusivity of international law pertaining to exchange control regulations and in order to adhere to the principles of the International Monetary Fund. 3. In order to preserve the country’s financial resources in the long term, the Government should not agree to receive financial aid from overseas which are granted with numerous preconditions which would prove to become a heavy burden to the country or if such conditions gives excessive advantage or benefit to the render. 4. For the benefit in solving the country’s trade deficit and balance of payment, which affects both the economic and social systems of the country including the well being of the population and economic peace... | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | เงินตรา | - |
dc.subject | ปริวรรตเงินตรา | - |
dc.subject | เงินตรา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | - |
dc.subject | ปริวรรตเงินตรา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | - |
dc.subject | เงินตราต่างประเทศ | - |
dc.subject | กฎหมายแลกเปลี่ยนเงินการควบคุม | - |
dc.subject | การเงินระหว่างประเทศ | - |
dc.title | การนำเข้าและส่งออกซึ่งเงินตรา | - |
dc.title.alternative | Import and export of currency | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tavatchai_Su_front_p.pdf | 1.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tavatchai_Su_ch1_p.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tavatchai_Su_ch2_p.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tavatchai_Su_ch3_p.pdf | 3.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tavatchai_Su_ch4_p.pdf | 2.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tavatchai_Su_ch5_p.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tavatchai_Su_ch6_p.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tavatchai_Su_back_p.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.