Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71769
Title: การผลิตสารสกัดจากปลาอย่างต่อเนื่องโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพโปรติเอสตรึงรูปแบบฟลูอิไดซ์
Other Titles: Continuous production of fish extracts using immobilized proteases fludized bioreactor
Authors: บุศราภา ลีละวัฒน์
Advisors: ปราณี อ่านเปรื่อง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เครื่องปฏิกรณ์แบบฟลูอิไดซ์
สารสกัดจากสัตว์ -- การผลิต
Fluidized reactors
Animal extracts -- Manufacture
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการทดลองเตรียมปาเปน และนิวเตรสตรึงรูปสำหรับใช้ในการผลิตสารสกัดจากปลา พบว่าภาวะที่เหมาะสมสำหรับปาเปนและนิวเตรสตรึงรูปบนทรายแม่น้ำขนาด 35-50 เมช โดยวิธีการเชื่อมด้วยพันธะโควาเลนต์ ประกอบด้วยสารละลายเอพีทีเอสเข้มข้นร้อยละ 3 โดยปริมาตร และร้อยละ 1 โดยปริมาตร เป็นสารกระตุ้นตัวพยุง สารละลายกลูตารัลดีไฮด์เข้มข้นร้อยละ 7 และร้อยละ 5 โดยปริมาตร เป็นสารสร้างพันธะเชื่อมขวาง ตามลำดับ และสารละลายปาเปน (169,550 ยูนิต/มก.) เข้มข้นร้อยละ 3 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ที่พีเอช 8.5 และสารละลายนิวเตรส (172,410 ยูนิต/มล.) เข้มข้นร้อยละ 5 โดยปริมาตร ที่พีเอช 6.0 ในการย่อยสะลายเคซีนด้วยปาเปนและนิวเตรสตรึงรูปเทียบกับเอนไซม์อิสระ พบว่าทุกช่วง พีเอชที่เหมาะสมเปลี่ยนไป 0.5 หน่วยทางกรด และ 0.4 หน่วยทางด่าง ตามลำดับ แต่อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยายังคงเดิม ค่า Km ของปาเปนและนิวเตรสตรึงรูปเท่ากับ 1.06x 10 (superscript -3) มิลลิโมลาร์ และ 4.10x10(superscript -3) มิลลิโมลาร์ ซึ่งต่ำกว่าเมื่อเทียบกับรูปอิสระ 7.29 และ 4.88 เท่า ตามลำดับ ค่าแอคติวิตีจำเพาะของปาเปนและนิวเตรสมีค่าเท่ากับ 452.0 และ 337.9 ยูนิต/มิลลิกรัมโปรตีน ซึ่งต่ำกว่ารูปอิสระ 1.07 และ 13.6 เท่า ตามลำดับ ปาเปนและนิวเตรสตรึงรูปมีเสถียรภาพสำหรับการทำปฏิกิริยาที่พีเอช 7.0-8.5 และพบว่ามีเสถียรภาพต่อความร้อนมากกว่าเอนไซม์อิสระที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส แต่ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เอนไซม์ทั้งหมดมีเสถียรภาพต่อความร้อนเท่ากัน ภาวะที่เหมาะสมในการเก็บเอนไซม์ตรึงรูปคือ เก็บปาเปนตรึงรูปในสารละลายอีดีทีเอ 0.002 โมลาร์ และซีสเตอีน 0.08 โมลาร์ในทรีสบัฟเฟอร์ พีเอช 8.5 ที่อุณหภูมิ 8-10 องศาเซลเซียส ส่วนนิวเตรสตรึงรูปเก็บในสารละลายแคลเซียมซัลเฟตเข้มข้น 2x10(superscript -3) โมลาร์ ที่อุณหภูมิ 8-10 องศาเซลเซียส และพบว่าปฏิกิริยาในการย่อยสลายเคซีนด้วยเอนไซม์ตรึงรูปที่เก็บไว้ภายใต้ภาวะการเก็บดังกล่าวเป็นเวลา 65 วัน แอคติวิตีของเอนไซม์ตรึงรูปทั้งสองชนิด จะคงที่ตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันที่ 65 ของการเก็บ นอกจากนี้พบว่าหลังจากการย่อยสลายเคซีนซ้ำ 3 ครั้ง ด้วยเอนไซม์ตรึงรูปเดิม ปาเปนตรึงรูปมีแอคติวิตีคงเหลือร้อยละ 29 ขณะที่นิวเตรสตรึงรูปคงเหลือแอคติวิตีร้อยละ 50 จากการศึกษาการย่อยสลายโปรตีนในน้ำนึ่งปลาโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดขนาด 1.7x75ซม. จำนวน 3 คอลัมน์ต่อเนื่องกัน พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการย่อยสลายน้ำนึ่งปลา Skipjack ด้วยทั้งปาเปนและนิวเตรสตรึงรูปคือ ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และมีค่า space velocity ที่เหมาะสม 5.5(นาที)(superscript -1)เวลา 4 ชม. สำหรับปาเปนตรึงรูป และมีค่า space velocity ที่เหมาะสม 7.9 (นาที)(superscript -1) และเวลา 3 ชม สำหรับนิวเตรสตรึงรูปตามลำดับ ภายใต้ภาวะการย่อยสลายด้วยปาเปนและนิวเตรสตรึงรูปดังกล่าว ทำให้ได้ระดับการย่อยสูงสุดร้อยละ 65 และร้อยละ 78 ตามลำดับ สารสกัดจากปลาที่ได้ประกอบด้วยความชื้นร้อยละ 92.9 โปรตีนร้อยละ 4.59 ไขมันร้อยละ 0.20 เถ้าร้อยละ 1.73และเกลือร้อยละ 1.37 สัดส่วนองค์ประกอบทางเคมีดังกล่าวไม่ต่างไปจากสารสกัดจากปลาที่แปรรูปในแบบเข้มข้น และแบบแห้ง จากการทดสอบสมบัติด้านการละลายของสารสกัดจากปลาแบบแห้งที่ผลิตโดยเครื่องปฏิกรณ์ที่เตรียมนี้ พบว่ามีระดับการละลายดีกว่ากรณีของน้ำนึ่งปลาแบบแห้งมาก นอกจากนี้ผลการทดสอบด้านประสาทสัมผัสของยาคิโทริ (บาบิคิวไก่) ที่ใช้สารสกัดจากปลาเข้มข้นเป็นสารเพิ่มรสปลา (fish flavor enhancer)และซุปบะหมี่รสปลาที่ใช้สารสกัดจากปลาแบบแห้งเป็นสารให้รสปลา (fish flavor) พบว่าอยู่ในระดับดีทั้งลักษณะ สี กลิ่น รส และการยอมรับรวม
Other Abstract: The optimum conditions for preparation of immobilized papain (IP) and Neutrase® (IN) on 35-50 mesh river-bed sand by a covalent bonding method were with 3% and 1% by volume of APTS as carrier activator, 7% and 5% by volume of glutaraldehyde as cross-linker respectively, and 5% by volume of papain solution (169,550 u/g) at pH 8.5 and 3% by volume of Neutrase® solution (172,410 u/ml) at pH 6.0. For the casein hydrolysis using IP and IN, it was found that optimum pH values shifted 0.5 pH units toward the acid side compared to the native enzyme and 0.4 pH units toward the alkaline side, respectively, but the optimum temperatures were the same. Km values of IP and IN was 1.06x10(superscript -3)mM and 4.10x10(superscript -3) mM which was 7.29 and 4.88 times lower than that of free papain and free Neutrase®, respectively. The specific activities of the IP and IN were 452.0 and 337.9 unit/mg protein which were 1.07 and 13.6 times smaller than that of free papain Neutrase®, respectively. The optimum pH rang for reaction stability of IP and IN was at pH 7.0-8.5. The IP and IN were more heat stable than soluble enzymes at 70 degree celsius, but the heat stability of all enzymes at 50 degree celsius was the same. The optimum storage conditions of immobilized enzymes were found at 8-10 degree celsius in 0.002 M EDTA, 0.08 M cysteine in tris buffer at pH 8.5 for IP and IN 2x10(superscript -3)) MCaSO(subscript 4) solution for IN. Under the above storage conditions, the activities of both immobilized enzymes for casein hydrolysis was observed for 65 days. It was found that the activities of both enzymes were stable at 16th-65th day. Moreover, after using the same immobilized enzymes 3 times in casein hydrolysis, the IP retained activity of 29% while the IN retained activity 50%. The proteolytic hydrolysis of fish cooking juice (FCJ) using the three connected immobilized proteases bioreactors 1.7x75 cm. was studied. For Skipjack cooking juice hydrolysis, both IP and IN have an optimum temperature of 50 degree celsius and the optimum space velocity of 5.5(min)(superscript -1), 4 hrs. for the former and 7.9 (min)(superscript -1), 3hrs. for the latter. Under such condition, the maximum degree of hydrolysis using IP and IN was found to be 65% DH, respectively. Fish extracts produced under such conditions contained 92.90% moisture, 4.59% protein, 0.20% fat, 1.73% ash and 1.37% NaCl, which was similar ratio to that of fish extracts converted to concentrated and dried forms. Solubility test on dried fish extracts produced using the immobilized enzymes bioreactors showed much better solubility degree than that of the dried FCJ. Furthermore, organoleptic tests on the concentrated fish extracts as fish flavor enhancer in Yaki-Tori (chicken barbecue) and the dried fish extracts as fish flavor in cubed noodle soup mix showed good ratings for colour, odour, taste and total acceptance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71769
ISBN: 9745810886
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bootsrapa_le_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ18.48 MBAdobe PDFView/Open
Bootsrapa_le_ch1_p.pdfบทที่ 13.89 MBAdobe PDFView/Open
Bootsrapa_le_ch2_P.pdfบทที่ 245.47 MBAdobe PDFView/Open
Bootsrapa_le_ch3_p.pdfบทที่ 328.86 MBAdobe PDFView/Open
Bootsrapa_le_ch4_p.pdfบทที่ 467.87 MBAdobe PDFView/Open
Bootsrapa_le_ch5_p.pdfบทที่ 534.24 MBAdobe PDFView/Open
Bootsrapa_le_ch6_p.pdfบทที่ 68.4 MBAdobe PDFView/Open
Bootsrapa_le_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก32.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.