Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71776
Title: | การสร้างโพลี (3-ไฮดรอกซีบิวทิเรท-โค-3-ไฮดรอกซีวาเลอเรท) โคโพลีเมอร์โดย Alcaligenes sp. สายพันธุ์ A-04 |
Other Titles: | Formation of Poly(3-Hydroxybutyrate-co-3-Hydroxyvalerate) copolymers by Alcaligenes sp. strain A-04 |
Authors: | อัญชนา ศุรติขจร |
Advisors: | ส่งศรี กุลปรีชา อมร เพชรสม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | โพลิเอสเทอร์ โพลิเมอร์จากจุลินทรีย์ Polyesters Microbial polymers |
Issue Date: | 2537 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยง Alcaligenes sp. A-04 เพื่อสร้างและสะสม PHA (โคโพลีเมอร์ และเทอร์โพลีเมอร์) ได้แก่ อาหารสำหรับเลี้ยงกล้าเชื้อ คือ อาหารสูตรที่ 1 โดยเลี้ยงกล้าเชื้อเป็นเวลานาน 16 ชม. ปริมาณกล้าเชื้อที่ใช้เท่ากับ 0.6 กรัม (น้ำหนักเซลล์เปียก)/ขวด โดยลี้ยงเชื้อในอาหาร MSM เพื่อการสร้างและสะสมโคโพลีเมอร์ เป็นเวลานาน 60 ชม. ปริมาณสารอาหารหลักในอาหาร MSM ประกอบด้วยแหล่งคาร์บอนเท่ากับ 20 กรัม/ลิตร แอมโมเนียมซัลเฟตเท่ากับ 0.1 กรัม/ลิตร โปแตสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟตเท่ากับ 1.0 กรัม/ลิตร ไดโซเดียมไฮโดรเจนฟอสเฟตเท่ากับ 0.3กรัม/ลิตร และแมกนีเซียมซัลเฟตเท่ากับ 0.05 กรัม/ลิตร Alcaligenes sp. A-04 สามารถสร้างและสะสม PHA จากแหล่งคาร์บอนหลายชนิด ได้แก่ กรดอินทรีย์ (กรดวาเลอริก กรดบิวทิริก และกรดโพรพิโอนิค) เกลือของกรดอินทรีย์(โซเดียม-4-ไฮดรอกซิบิวทิเรท และโซเดียมอะซีเตท) น้ำมันพืช (น้ำมันปาล์ม น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลืองผสมน้ำมันเมล็ดฝ้าย และน้ำมันเมล็ดทานตะวัน) โพลีไฮดรอกซี (กลีเซอรอล) แอลกอฮอล์ (บิวทานอล และเอทธานอล) เมื่อเลี้ยง Alcaligenes sp. A-04 โดยใช้กรดวาเลอริกเป็นแหล่งคาร์บอน ได้น้ำหนักเซลล์แห้งเท่ากับ 4.92 กรัม/ลิตร ได้โคโพลีเมอร์ปริมาณเท่ากับ 47% ต่อน้ำหนักเซลล์แห้ง หรือ 2.31 กรัม/ลิตร โดยมี 3HV ในปริมาณ 95 โมลเปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้แหล่งคาร์บอนผสมระหว่างกรดวาเลอริก กับกรดบิวทิริก และกรดวาเลอริกกับฟรุกโตส พบว่า Alcaligenes sp. A-04 สามารถสร้างและสะสมโคโพลีเมอร์ P(3HB-3HV) สัดส่วนต่างๆ โดยมี 3HV ในปริมาณ 0-95 โมลเปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้กรดบิวทิริก และโซเดียม-4-ไฮดรอกซีบิวทิเรท เป็นแหล่งคาร์บอนผสม พบว่า Alcaligenes sp. A-04 สร้างและสะสมโคโพลีเมอร์ P(3HB-4HB) สัดส่วนต่างๆ โดยมี 4HB ปริมาณ 0-38 โมลเปอร์เซ็นต์ และพบว่า Alcaligenes sp. A-04 สามารถสร้างและสะสมเทอร์โพลีเมอร์ P(3HB-4HB-3HV) สัดส่วนต่างๆ เมื่อใช้กรดวาเลอริก กรดบิวทิริก และโซเดียม-4-ไฮดรอกซีบิวทีเรท เป็นแหล่งคาร์บอนผสม เมื่อเลี้ยง Alcaligenes sp. A-04 ในถังหมักโดยควบคุมสภาวะต่างๆ คือ pH เท่ากับ 7.0 อุณหภูมิ ที่ 30 องศาเซลเซียส อัตราการกวนเท่ากับ 600 รอบ/นาที อัตราการให้อากาศเท่ากับ 1.8 vvm โดยปริมาณแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจนเท่ากับ 20 และ 1.0 กรัม/ลิตร ตามลำดับ พบว่าเชื้อมีการเติบโตและสะสมโคโพลีเมอร์ได้สูงกว่าเมื่อเลี้ยงเชื้อในระดับขวดเขย่า สมบัติเชิงกลของไบโอโพลีเมอร์ เช่น ค่าความเหนียว และค่าการต้านแรงดึงน้อยกว่าของปีโตร โพลีเมอร์ สมบัติทางกายภาพ และสมบัติเชิงกลของ PHA จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของ โมโนเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบ เมื่อเปรียบเทียบกับโฮโมโพลีเมอร์ พบว่าโคโพลีเมอร์ และเทอร์โพลีเมอร์ที่มี 3HV และ 4HB เป็นองค์ประกอบ มีสมบัติเชิงกลที่ดีขึ้น |
Other Abstract: | The optimal conditions for PHA formation and accumulation by Alcaligenes sp. A-04 are as follow ; seed culture medium l, cultivation time for seed culture : 16h., inoculum size : 0.6 g. (wet wt.) /flask, cultivation period for polymer formation and accumulation : 60 h., amount of the major components in MSM medium : 20 g/l of carbon source, 0.1 g/l of ammonium sulfate, 1.0 g/l of KH_2 PO_4, 0.3 g/l of Na_2 HPO_4 and 0.05 g/l of MgSO_4. PHA were synthesized and accumulated by Alcaligenes sp. A-04 using various kinds of carbon-source e.g. organic acids and their salts (valeric acid, butyric acid, and propionic acid, sodium-4-hydroxybutyrate, sodium acetate) vegetable oils (palm oil, corn oil, soybean oil mixed with cotton seed oil and sunflower oil) polyhydroxy (glycerol) alcohol ( butanol and ethanol). About 5 g/l of dry cell wt, 47% (by wt.) or 2.31 g/l of copolymer (containing 95 mole% of 3HV) were of obtained when Alcaligenes sp. A-04 was cultivated using valeric acid as a carbon source. By using valeric acid and butyric acid or valeric acid and fructose as a mixed carbon source, P (3HB-3HV) in various ratios (containing 0-95 mole% of 3HV) were accumulated by Alcaligenes sp. A-04. Copolymer of P (3HB-4HB) in various ratio (containing 0.38 mole% of 4HB) were detected whenAlcaligenes sp. A-04 was cultivated using butyric acid and sodium-4-hydroxybutyrate as a mixed carbon source. Terpolymer of P (3HB-4HB-3HV) in various ratios were produced by Alcaligenes sp. A-04 while valeric acid, butyric acid and sodium-4-hydroxybutyrate was used as a mixed carbon source. Higher amount of dry cell wt. and copolymer content were obtained in 5 L. fermenter culture with controlled conditions (pH at 7.0, temperature at 30 degree celsius, agitation speed at 600 rpm, aeration rate at 1.8vvm using 20 g/l and 1.0 g/l of carbon and nitrogen source respectively) than that of shake flask cultivation. Some mechanical properties e.g. toughness and tensile strength of biopolymer were poorer than that of petropolymer. It was found that the physical and mechanical properties of PHA were different from each other due to the composition and amount of monomer. Comparing with homopolymer, it was shown that the mechanical properties of copolymer and terpolymer containing 3HV and 4HB were better than that of homopolymer. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71776 |
ISBN: | 9746310925 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Unchana_su_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ | 16.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Unchana_su_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 29.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Unchana_su_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 16.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Unchana_su_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 60.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Unchana_su_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 15.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Unchana_su_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 25.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.