Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7178
Title: คุณค่าของพระราชนิพนธ์ร้อยแก้วบันทึกประจำวันการเสด็จประพาสในประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Other Titles: The literary values of diary-domestic travelogues of King Rama V
Authors: อาทิมา พงศ์ไพบูลย์
Advisors: อารดา กีระนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Arada.K@Chula.ac.th
Subjects: จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453 -- พระราชนิพนธ์ -- ประวัติและวิจารณ์
บันทึกประจำวัน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาคุณค่าของพระราชนิพนธ์ร้อยแก้วบันทึกประจำวัน การเสด็จประพาสในประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในด้านเนื้อหาและกลวิธีการประพันธ์ จากการศึกษาจากพระราชนิพนธ์กลุ่มนี้จำนวน 13 เรื่อง เช่น ระยะทางเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา เสด็จประพาสจันทบุรี เป็นต้น พบว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตั้งพระราชหฤทัยในการจดบันทึกประจำวันอย่างพิถีพิถันและเป็นประจำสม่ำเสมอ จนทำให้พระราชนิพนธ์ร้อยแก้วบันทึกประจำวันการเสด็จประพาสในประเทศมีคุณค่าหลายด้าน กล่าวคือ นอกเหนือจากเรื่องราวส่วนพระองค์แล้ว ยังมีเรื่องราวที่ทรงประสบพบเห็น การเสนอความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ตลอดจนพระราชทัศนะต่อเรื่องต่างๆ อีกด้วย ข้อมูลเหล่านี้มีสารประโยชน์หลายประการ เช่น เป็นวรรณกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนชนชั้นปกครอง และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร นอกจากนี้ผู้อ่านยังได้รับความรู้เกี่ยวกับวิชาการแขนงต่างๆ ทั้งประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ ภาษาและวัฒนธรรม อีกทั้งยังเข้าใจถึงความคิดของผู้บันทึกอีกด้วย ข้อมูลกลุ่มนี้จึงเป็นแหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นในรัชสมัยของพระองค์อย่างเป็นแก่นสาร ในขณะเดียวกันผู้อ่านยังเห็นถึงพระราชอุปนิสัยของพระองค์ได้อย่างชัดเจน คุณค่าอีกด้านหนึ่งคือ คุณค่าทางกลวิธีการประพันธ์ ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้เนื้อหาที่เป็นสารประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นมีความชัดเจนและน่าสนใจยิ่งขึ้น เนื่องจากทรงใช้กลวิธีการนำเสนอที่หลากหลาย ได้แก่ มีการนำเสนอข้อมูลอย่างละเอียด ทำให้เกิดความชัดเจน จนผู้อ่านสามารถจินตนาการตามเรื่องราวได้เป็นอย่างดี มีการอ้างอิงข้อมูลทั้งหลักฐานลายลักษณ์และบุคคล ทำให้ข้อมูลที่เป็นเนื้อหาทางวิชาการมีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ยังมีการแสดงเหตุผลวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้เกิดความน่าสนใจและเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ส่วนกลวิธีทางภาษานั้น พระองค์มักทรงใช้ถ้อยคำสำนวนที่กะทัดรัดตรงไปตรงมาแต่มีความชัดเจนสละสลวย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย มีการสรรคำที่เหมาะสมทำให้เกิดความมีชีวิตชีวา สอดคล้องกับเรื่องราวและความรู้สึกในขณะนั้นเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังทรงใช้วิธีการทางวรรณคดีหลายชนิด เช่น การใช้ภาพพจน์และการแทรกคำประพันธ์ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ด้วยเนื้อหาและกลวิธีที่ความผสมผสานระหว่างความเป็นส่วนตัว ความเป็นกันเองและความเป็นทางการด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ทั้งหมดนี้ จึงทำให้พระราชนิพนธ์ชุดนี้มีคุณค่าครบถ้วนทุกด้าน และมีความน่าสนใจชวนติดตามเป็นอย่างยิ่ง สมเป็นมรดกของชาติที่สำคัญชุดหนึ่ง
Other Abstract: To study the literary values of diary-domestic travelogues of King Rama V in contents and techniques. The study of 13 travelogues like the journey to Ayutthaya and to Chantaburi reveals that the author deliberately writes the diaries as usual. As a result, these refined diary-domestic travelogues expose the dominant values. In travelogues, there are not only the author's personal business but also the first-hand experiences, the relevant knowledge, and his attitudes on certain events. These writings have various advantages; these reflect the political elite's way of living and the folk life of people as well. Furthermore, the readers can gain knowledge in relation to many disciplines: history, archaeology, fine art, language, culture, and also the author's thoughts. These travelogues substantially are the rich source of local knowledge in the reign of King Rama V, as well as the readers can significantly learn the author's personality. The additional values of the travelogues are literary devices which clarify the contents and make them interesting. The author includes the various presentation techniques, for instance the informative presentation which enables the reader to get through the messages, the references of written and oral evidence to verify the academic contents, and the verbalization of critical ideas to interest the readers. In case of language techniques, the author always uses short but concise words and expressions to simplify the contents. He also uses suitable wording which makes the contents lively and well-cohered with feelings. Moreover, the author utilizes many literary techniques; the figurative languages and the poetry to craft the elements of joys. By the contents and techniques, harmonized identity, informality and formality together, the outstanding values of the travelogues are ubiquitously perceived. Ultimately, these works are praiseworthy as national treasure.
Description: วิทยานิพนธ์(อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7178
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.278
ISBN: 9741764979
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.278
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ArthimaP.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.