Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71847
Title: | การวิเคราะห์ตัวแปรที่สัมพันธ์กับฐานะทางสังคมมิติของนักเรียน ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | An analysis of variables related to sociometric status of lower secondary school students in the demonstration schools under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs, Bangkok Metropolis |
Authors: | สุทธิชัย ฉายเพชรากร |
Advisors: | ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | นักเรียนมัธยมศึกษา--ภาวะสังคม--ไทย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--ไทย นิสัยทางการเรียน High school students--Social status--Thailand Academic achievement--Thailand |
Issue Date: | 2531 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่สามารถจำแนกนักเรียนที่มีระดับฐานะทางสังคม มิติต่างกัน ระหว่างกลุ่มดาวและกลุ่มผู้ถูกละเลย รวมทั้งวิเคราะห์ความสำคัญต่อการจำแนกกลุ่มของตัวแปร โดยพิจารณาว่าตัวแปรใดมีส่วนสำคัญมากน้อยในการจำแนกกลุ่มดาวและกลุ่มผู้ถูกละเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือ นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2530 โรงเรียนสาธิตสังกัด ทบวงมหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 746 คน โดยจำแนก เป็นกลุ่มดาว 312 คน และกลุ่ม ผู้ถูกละเลย 434 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์จำแนกประเภท แบบมีขั้นตอน ผลของการศึกษา พบว่า 1. ตัวแปรที่สามารถใช้จำแนกนักเรียนที่มีระดับฐานะทางสังคมมิติต่างกัน ระหว่างกลุ่มดาวและ กลุ่มผู้ถูกละเลยคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับเชาวน์ปัญญา นิสัยในการเรียน อัตมโนทัศน์ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว ฐานะการเป็นผู้นำ ความพอใจในรูปร่างหน้าตาตามการรับรู้ของเพื่อน ความมีอำนาจเหนือผู้อื่น การเข้าสังคม การยอมรับตนเอง ความรู้สึกว่าตนเองมีความเป็นอยู่ดี ความรับผิดชอบ การควบคุมตนเอง การสร้างความประทับใจให้แก่ผู้อื่น ลักษณะร่วมที่พบในคนส่วนมาก สัมฤทธิผลที่เกิดจากการทำตามผู้อื่น สัมฤทธิ์ผลที่เกิดจากความเป็นตัวของตัวเอง ความยืดหยุ่นได้ และความมีลักษณะของหญิง 2. ตัวแปรสำคัญที่มีค่าน้ำหนักในการจำแนกไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของน้ำหนักตัวแปรที่มีค่ามากที่สุด ในการจำแนกกลุ่มดาวและกลุ่มผู้ถูกละเลย ของในแต่ระดับชั้นการศึกษา โดยเรียงตามลำดับความสำคัญของ ตัวแปรมีดังต่อไปนี้ 2.1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตัวแปรสำคัญที่สุดคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตัวแปรที่สำคัญรองลงไป ได้แก่ ความพอใจในรูปร่างหน้าตาตามการรับรู้ของเพื่อน การควบคุมตนเอง และความรู้สึกว่าตนเองมีความเป็นอยู่ดี ตามลำดับ โดยที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพอใจในรูปร่างหน้าตาตามการรับรู้ของเพื่อน และความรู้สึกว่าตนเองมีความเป็นอยู่ดี เป็นตัวแปรที่มีแนวโน้มที่จะเป็นลักษณะของกลุ่มดาว ส่วนการควบคุมตนเองเป็นตัวแปรที่มีแนวโน้มที่จะเป็นลักษณะของกลุ่มผู้ถูกละเลย 2.2 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตัวแปรสำคัญที่สุดคือ ความพอใจในรูปร่างหน้าตาตามการรับรู้ของเพื่อน ตัวแปรสำคัญรองลงไปคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยที่ตัวแปรทั้งสองมีแนวโน้มที่จะเป็นลักษณะของกลุ่มดาว 2.3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตัวแปรสำคัญที่สุดคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีแนวโน้มที่จะเป็นลักษณะของกลุ่มดาว |
Other Abstract: | The purposes of this research were e to analyze the variables which would be able to discriminate students with different sociometric status level between those groups of the star and the neglectee, and to analyze the importance of this discriminating variables. The sample studied in this research included 746 lower secondary school students in academic year 1987 in the demonstration schools under the jurisdiction of the ministry of university affairs, Bangkok metropolis. According to their sociometric status, the sample were 312 stars and 434 neglectees. Discriminant analysis technique with stepwise method were employed for data analysis. The finding were as follow : 1. The variables that could discriminate students with different sociometric status level between groups of the star and the neglectee were academic learning achievement, intelligent quotient, study habit, self concept, socioeconomic status, headship status, appearance-countenance satisfaction as perceived by friends, dominance, sociability, self-acceptance, sense of well-being, responsibility, self-control, good impression, communality, achievement via conformity, achievement via independence, flexibility and femininity. 2. The discriminating variable with a coefficient value in their classification not less than half of the highest value were described respectively according to the size of their corfficient in the discrimination function in each education level as follow : 2.1. Mathayom Suksa 1. The prominent discriminating variables were academic learning achievement, appearance-countenance satisfaction as perceived by friends, self-control and sense of well-being. The variables that tended to be the character of the star were academic learning achievement, appearance-countenance satisfaction as perceived by friends and sense of well-being, and the neglectee was self-control. 2.2. Mathayom Suksa 2. The prominent discriminating variables were appearance-countenance satisfaction as perceived by friends and academic learning achievement. Both of this variables which tended to be the character of the star. 2.3. Mathayom Suksa 3. The prominent discriminating variable was academic learning achievement, and which tended to be the character of the star. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71847 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1988.101 |
ISBN: | 9745696161 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1988.101 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sutichai_ja_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sutichai_ja_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sutichai_ja_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sutichai_ja_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sutichai_ja_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sutichai_ja_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sutichai_ja_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 2.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.