Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71897
Title: ความเป็นพิษของสารสกัดจากเมล็ดสะเดาไทย Azadirachta indica var. siamensis Valeton ต่อหนอนผีเสื้อกินไขผึ้งขนาดใหญ่ Galleria mellonella Linn. และหนอนผีเสื้อกินไขผึ้งขนาดเล็ก Achroia grisella Fabr.
Other Titles: Toxicity of the neem azadirachta indica var. siamensis valeton seed extract on the greater wax moth larvae galleria mellonella linn. and the lesser wax moth larvae achroia grisella fabr.
Authors: ประนอม ปัญจพัฒนศิริ
Advisors: สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เมล็ดสะเดาไทย -- พิษวิทยา
พืชมีพิษ
หนอนผีเสื้อ
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดจากเมล็ดสะเดาไทยต่อหนอนผีเสื้อกินไขผึ้งขนาดใหญ่และหนอน ผีเสื้อกินไขผึ้งขนาดเล็ก โดยวิธีหยดสารลงบนตัวหนอนและวิธีผสมสารให้หนอนกิน ประเมินค่าความเป็นพิษในรูปของ LC50 ในระยะเวลา 240 ชั่วโมง ที่ระดับความเชื่อมั่น p=0.05 ด้วยโปรแกรมการ วิเคราะห์โปรบิท โดยวิธีหยดสารลงบนตัวหนอน พบว่า สารสกัดจากเมล็ดสะเดาไทยไม่เป็นพิษโดยทางสัมผัสต่อหนอนผีเสื้อกินไขผึ้งขนาดใหญ่และหนอนผีเสื้อกินไขผึ้งขนาดเล็ก เนื่องจากที่ความเข้มข้นสูง ให้อัตราการตายของหนอนต่ำ ส่วนวิธีผสมสารให้หนอนกิน ค่า LC50 (240 ชั่วโมง) ของสารสกัดจากเมล็ดสะเดาไทย (neem seed crude extract) มคาเท่ากับ 4.14, 3.32, 10.48 % สำหรับสารสกัดจากเมล็ดสะเดาไทยในรูปการค้า Neemix มีค่าเท่ากับ 4.68, 3.97, 1 5.03 % ต่อหนอน ผีเสื้อกินไขผึ้งขนาดใหญ่ระยะที่ 3, 4 และ 5 ตามลำดับ ส่วนการทดลองในหนอนผีเสื้อกินไขผึ้งขนาดเล็ก มีค่าเท่ากับ 3.20, 2.47, 8.13 % .และ 4.72, 3.99, 1 2.71 % ตามลำดับ ความเป็นพิษของสารสกัดจากเมล็ดสะเดาไทย ที่สกัดได้ในห้องปฏิบัติการโดยวิธี neem seed crude extract และในรูปการค้า Neemix ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05)
Other Abstract: Toxicity of neem seed extract on the greater wax moth larvae Galleria meellonella Linn. And the lesser wax moth larvae Achroia grisella Fabr. Was investigated by using topical application and feeding method. The LC50 values with P = 0.05 were evaluated and analysed by probit program. When using topical application in G. mellonella and A. grisella, neem seed crude extract was not contact poison, the results showed that at high concentration, the mortality of larvae was low. By feeding method, the LC50 (240 hours) of neem seed crude extract were 4.14, 3.32 and 10.48%, for commercial neem seed extract (Neemix) were 4.68, 3.97 and 15.03 % for the 3rd, 4th and 5th instars respectively. The respective values for A. grisella were 3.20, 2.47, 8.13 and 4.72, 3.99, 12.71 %. Toxicity of neem seed crude extract and Neemix were insignificant (p ≤ 0.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71897
ISBN: 9746314513
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pranom_pa_front_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Pranom_pa_ch1_p.pdf709.37 kBAdobe PDFView/Open
Pranom_pa_ch2_p.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Pranom_pa_ch3_p.pdf946.13 kBAdobe PDFView/Open
Pranom_pa_ch4_p.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Pranom_pa_ch5_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Pranom_pa_ch6_p.pdf682.89 kBAdobe PDFView/Open
Pranom_pa_back_p.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.