Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/718
Title: การใช้วารสารต่างประเทศในห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Authors: นฤมล กิจไพศาลรัตนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
วารสาร--การศึกษาการใช้
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาการใช้วารสารต่างประเทศในห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งวารสารที่ห้องสมุดยังคงบอกรับในปัจจุบัน วารสารที่หยุดบอกรับแล้ว และวารสารที่ได้รับอภินันทนาการ จำนวนทั้งสิ้น 153 รายชื่อ โดยศึกษาในด้านปริมาณการใช้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาคการศึกษากับอันดับที่ในการใช้ การใช้วารสารฉบับทันสมัยและฉบับย้อนหลัง ประเภทของผู้ใช้ อัตราค่าวารสารต่อการใช้แตละครั้ง และอัตราการใช้วารสารแต่ละรายชื่อทั้งนี้เพื่อเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาต่ออายุสมาชิกวารสาร ติดสินใจหยุดบอกรับวารสารที่มีการใช้น้อยหรือไม่มีการใช้เลย บอกรับวารสารที่หยุดบอกรับไปแล้วแต่เป็นวารสารที่มีการใช้มากหรือวารสารที่เป็นวารสารสำคัญในสาขาวิชาพิจารณาบอกรับวารสารสำคัญในสาขาวิชาที่ห้องสมุดยังไม่เคยบอกรับ ตลอดจนเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการวารสารทั้งด้านการจัดหา การจัดเก็บและการให้บริการวารสารทั้งหมดในห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผลจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่า 1. วารสารที่มีการใช้ตั้งแต่ 6-1,750 ฉบับ หรือที่มีการใช้น้อยถึงมากที่สุด มทั้งหมด 97 รายชื่อ วารสารที่มีการใช้น้อยที่สุด 1-5 ฉบับ มี 23 รายชื่อ และสารสารที่ไม่มีการใช้เลยมี 33 รายชื่อ 2. ในจำนวนนี้วารสารที่มีการใช้มากทีสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ Time, The Economist, Far Eastern Economic Review, Asian Survey, Public Adminsitration, Review Foreign Affaires, International Financial Statistics, Contenporary Soutnesat Asia, Beijing Review และ Pacific Review 3. วารสารที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิก และมีการใช้น้อยที่สุด ได้แก่ Bulletin of Concerned Asian Scholars และ Science & Society และวารสาร 2 รายชื่อดังกล่าว จากการศึกษาพบว่าสมควรหยุดการบอกรับ 4. วารสารที่ห้องสมุดหยุดการบอกรับแล้ว แต่เป็นวารสารที่มีการใช้มาก ได้แก่ Foreign Affairs และ Journal of Southeast Asin Studies ห้องสมุดควรบอกรับวารสาร 2 รายชื่อดังกล่าว 5. วารสารที่ห้องสมุดหยุดการบอกรับแล้ว และเป็นวารสารที่มีปริมาณการใช้น้อย แต่เนื่องจากเป็นวารสารที่จัดพิมพ์โดยสมาคมและสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา และมีการจัดอันดับเป็นวารสารชั้นนำในสาขาวิชาทางรัฐศาสตร์ จึงสมควรบอกรับใหม่ได้แก่ American Journal of Internation Law และ Social Forces 6. วารสารที่ได้รับอภินันทนาการและเป็นวารสารที่มีปริมาณการใช้มาก ทางห้องสมุดจะต้องจัดหามาให้บริการอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ได้แก่ Asian Review, Beijing Review และ International Financial Statistics 7. ห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ควรเสนอรายชื่อวารสารที่น่าสนใจในสาขาวิชาการเมืองการปกครอง สาจาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สาขาบริหารรัฐกิจ และสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ที่ห้องสมุดยังไม่เคยบอกรับมาก่อน จำนวน 7 รายชื่อ ได้แก่ American Journal of Political Science, Journal of Politics, American Sociologist, International Journal of Sociology, Sociology and Social Research: An International Journal, Journal of International Affairs และ American Review of Public Administration เพื่อให้อาจารย์แต่ละสาขาวิชาได้ร่วมพิจารณาเพื่อการบอกรับเป็นสมาชิกหากเห็นความจำเป็นและมีงบประมาณเพียงพอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/718
Type: Technical Report
Appears in Collections:Pol - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naruemon(jour).pdf11.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.