Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71957
Title: การศึกษาเปรียบเทียบความเหมาะสมของค่าความสูงออร์โทเมตริก
Other Titles: Comparative study for suitability of orthometric heights
Authors: ธนัช สุขวิมลเสรี
Advisors: ชูเกียรติ วิเชียรเจริญ
สมบัติ ทรัพย์สวนแตง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ดาวเทียมในการรังวัด
ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก
Earth (Planet) -- Figure
ออร์โทเมตริก
Global positioning system
Earth -- Figure
Orthometric
Artificial satellites in surveying
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบดาวเทียมจีพีเอส เป็นระบบนำวิถีที่ได้พัฒนาขึ้นให้มีบทบาทสำคัญในด้านการสำรวจ ด้วยวิธีการทำงานซึ่งมีความสะดวก และรวดเร็ว อีกทั้งยังมีศักยภาพในการหาตำแหน่งที่มีความละเอียดถูกต้องสูง ในปัจจุบัน ช่าง รังวัด และวิศวกร ได้ให้ความสนใจในการนำวิธีการรังวัดด้วยระบบดาวเทียมจีพีเอสมาใช้แทนที่วิธีการถ่ายระดับด้วยกล้องระดับ เพื่อหาค่าความสูงออร์โทเมตริก อีกทั้งยังเป็นทางเลือกในการลดค่าใช้จ่าย และเวลาในการปฏิบัติงานลงด้วยเหตุที่ค่าความสูงซึ่งได้รับจากการรังวัดด้วยระบบดาวเทียมจีพีเอส เป็นความสูงเหนือรูปทรงรี WGS84 ซึ่งแตกต่างกับค่าความสูงที่ได้จากการเดินระดับ หรือความสูงออร์โทเมตริก ที่อ้างอิงกับพื้นผิวยีออย หรืออีกนับหนึ่งคือระดับน้ำทะเลปานกลาง ดังนั้นในการแปลงความสูงเหนือรูปทรงรีไปเป็นความสูงออร์โทเมตริก จึงต้องทราบความสัมพันธ์ระหว่างยีออยกับรูปทรงรี ซึ่งก็คือความสูงยีออย นั่นเอง ด้วยวัตถุประสงค์ของการวิจัย มุ่งที่จะศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมของค่าความสูงออร์โทเมตริกโดยการใช้ข้อมูลจากการรังวัดด้วยระบบดาวเทียมจีพีเอส ร่วมกับหมุดควบคุมทางดิ่งหลักและแบบจำลองความสูงยีออย ได้แก่ แบบจำลองความสูงยีออย OSU91A แบบจำลองความสูงยีออยของพื้นหลักฐานอินเดียน 2518 และแบบจำลองความสูงยีออย EGM96 ในการดำเนินงานวิจัย ได้พิจารณาเลือกพื้นที่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเป็นกรณีศึกษา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่โดยประมาณ 80,000 ตร.กม. โครงข่ายประกอบด้วยเส้นฐาน 227 เส้น เชื่อมหมุดหลักฐานดาวเทียมจีพีเอสจำนวน 94 หมุด ซึ่งสร้างขึ้นด้วยระยะห่างประมาณ 10 ถึง 100 กม. ในจำนวนหมุดดังกล่าวนี้เป็นหมุดหลักฐานการระดับชั้นที่หนึ่ง 7 หมุด หมุดหลักฐานการระดับชั้นที่สาม 12 หมุด และหมุดอื่นๆ ที่เหลืออยู่ มิได้ทำการรังวัดเพื่อหาค่าระดับ สำหรับค่าระดับของหมุดหลักฐานการระดับ จะพิจารณาใช้เป็นค่าบังคับในการประมวลผลและเป็นค่าอ้างอิงในการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบ ผลจากการวิจัย พบว่า ค่าความสูงออร์โทเมตริกที่ได้รับจากการประมวลผล โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองความสูงยีออย EGM96 ร่วมกับการกำหนดค่าระดับของหมุดควบคุมทางดิ่งหลักให้คงที่ จำนวน 4 หมุด เมื่อเปรียบเทียบกับค่าความสูงออร์โทเมตริกที่ได้รับจากการทำระดับ จะให้ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของค่าผลต่าง เท่ากับ 0.030 ม. และ 0.103 ม. ตามลำดับ ด้วยปริมาณของค่าความถูกต้องดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการรังวัดด้วยระบบดาวเทียมจีพีเอส สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างหมุดควบคุมทางดิ่งที่ไม่ต้องการความถูกต้องสูง เช่นงานสร้างจุดควบคุมภาพถ่ายทางอากาศ หรืองานศึกษาความเหมาะสมขั้นต้นของโครงการก่อสร้าง เป็นต้น
Other Abstract: The Global Positioning System (GPS) has revolutionized an important role in the field of surveying. It is considered to be a modern method which is convenient, effective and rapid with high accuracy positioning. At present, conventional levelling is expensive and time consuming; surveyors and engineers are often interested in replacing the conventional levelling with GPS surveying for obtaining orthometric heights. Heights obtained from GPS are typically ellipsoidal heights above WGS84 ellipsoid. These GPS ellipsoidal heights are not the same as orthometric heights or elevations which are referenced to the geoid or mean sea level in practice. To accurately convert ellipsoidal heights into orthometric heights, one must know the relationship between the geoid and the ellipsoid, often known as geoid undulations. The main objective of this research is to comparative study for suitability of orthometric heights by using the GPS data combined with the vertical control points and the geoid model, such as OSU91A, Indian 1975 datum and EGM96. On conducting this research, the test area was the northeastern region of Thailand covering about 80,000 sq.km. The network consisted of 227 baselines connecting 94 GPS stations established at a spacing of 10 to 100 km. Among these GPS stations, seven and twelve stations were set over the first-order and third-order bench marks, respectively. The rest were not observed with differential leveling. Elevations of the bench marks were used as fixed values in the adjustment and as reference values in the comparative analysis. The results of this research showed that the GPS-derived orthometric heights were optimal when they were obtained by using the EGM96 geoid model combined with 4 fixed vertical control points in the network adjustment. Comparing with the orthometric heights obtained from differential levelling, the mean and the standard deviation of the differences were 0.030 and 0.103 m., respectively. The level of accuracy extended by GPS satellite surveying for vertical control points could apply to low precision levelling works, such as vertical controls for aerial photography and project feasibility study, etc.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71957
ISBN: 9746384023
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanatch_su_front_p.pdf10.5 MBAdobe PDFView/Open
Thanatch_su_ch1_p.pdf6.24 MBAdobe PDFView/Open
Thanatch_su_ch2_p.pdf14.33 MBAdobe PDFView/Open
Thanatch_su_ch3_p.pdf13.29 MBAdobe PDFView/Open
Thanatch_su_ch4_p.pdf24.06 MBAdobe PDFView/Open
Thanatch_su_ch5_p.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Thanatch_su_back_p.pdf24.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.