Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72000
Title: การเปรียบเทียบตัวสถิติทดสอบสำหรับการทดสอบความเท่ากันของความแปรปรวน
Other Titles: Comparision on test statistics for testing the equalilty of variances
Authors: ศิริยุพา ราศรี
Advisors: มานพ วราภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การแจกแจงไวบูลล์
การวิเคราะห์ความแปรปรวน
Weibull distribution
Analysis of variance
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเปรียบเทียบตัวสถิติทดสอบความเท่ากันของความแปรปรวนของประชากร 3 กลุ่ม และ 5 กลุ่ม โดยใช้สถิติทดสอบบาร์ตเลต สถิติทดสอบโอบรีน และ สถิติทดสอบเลแจค โดยจะศึกษาถึง ความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และ อำนาจการทดสอบ ของสถิติทดสอบทั้ง 3 ประเภท เมื่อกลุ่มตัวอย่างสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงเหมือนกัน และ เมื่อกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแตกต่างกัน ขนาดของตัวอย่างที่กำหนดเท่ากัน ที่ระดับอัตราส่วนของความแปรปรวนต่าง ๆ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.01, 0.05 และ 0.10 สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้จำลองด้วย เทคนิคมอนติคาร์โล ซึ่งกระทำซ้ำ 5,000 ครั้งในแต่ละกรณี ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความแกร่งของการทดสอบ โดยพิจารณาความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 เมื่อประชากรมีการแจกแจงต่างๆ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง อัตราส่วนของความแปรปรวน และ ระดับนัยสำคัญ ณ ระดับต่างๆ ปรากฏว่า การแจกแจงของประชากร และ ขนาดของตัวอย่างมีผลต่อความแกร่งของการทดสอบ 2. อำนาจการทดสอบ เมื่อประชากรมีการแจกแจงแบบปกติ (สมมาตร) การแจกแจงแบบไวบูลล์ (เบ้ขวา) และ ประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติและประชากรบางกลุ่มมีการแจกแจงแบบไวบูลล์ สถิติทดสอบบาร์ตเลตมีอำนาจการทดสอบสูงที่สุด และเมื่อประชากรมีการแจกแจงแบบที (สมมาตรหางยาว ) สถิติทดสอบโอบรีนมีอำนาจทดสอบสูงที่สุดเมื่อขนาดตัวอย่างมีขนาดเล็ก (5,10) แต่เมื่อขนาดตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้น (20,30,50 ) สถิติทดสอบเลแจคมีอำนาจการทดสอบสูงที่สุด และ เมื่อประชากรมีการแจกแจงแบบปกติและประชากรบางกลุ่มมีการแจกแจงแบบที เมื่อขนาดตัวอย่างมีขนาดเล็ก (5,10 ) สถิติทดสอบโอบรีนสามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้เพียงวิธีเดียว แต่เมื่อขนาดตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้น (20,30,50 ) ไม่มีสถิติทดสอบประเภทใดที่สามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ เนื่องจากข้อมูลเกิดค่าผิดปกติมากขึ้น 3. อัตราส่วนความแปรปรวน การแจกแจงของประชากร และ ขนาดของตัวอย่าง มีผลต่ออำนาจการทดสอบ 4. เมื่อไม่ทราบลักษณะการแจกแจงของประชากร ควรเลือกใช้ตัวสถิติทดสอบโอบรีน
Other Abstract: The purpose of this research is to investigate the probability of type I error and the power of test for testing equality of variances ( 3 , 5 groups ) by using Bartlett test statistic , O’Brien test statistic , and Lay-Jack test statistic in the case of same distribution and different distribution. The sample sizes are equal in each groups. The different proportion of variances at 0.01 , 0.05 , and 0.10 levels of significance are used. For each statistic under each experimental situation , the Monte Carlo Experiment is repeated 5,000 times. Result of the study are as follows : 1. Robustness of the test : By considering the probability of type I error for each population , sample size , proportion of variance and level of significance , it is found that the distribution and sample size affected the robustness of the test. 2. The power of test : For Normal Distribution (symmetric) , Weibul Distribution (right skew) and the combination of Normal Distribution and Weibul Distribution , Bartlett stattistic has the highest power. For the T-Distribution ( symmetric long-tailed ) , O’Brien statistic has found to be the highest power for small sample sizes ( 5,10 ) , and the Lay-Jack statistic has the highest power for larger sample sizes (20,30,50). For the combination of Normal Distribution and T- Distribution , O’Brien is the only one statistic that can control the probability of type I error for small sample sizes (5,10). However , no test statistic can control type I error if the sample sizes is larger (20,30,50) because it has more outliers in this case. 3. Proportion of variance , the population distribution , and sample size affect the power of the test. 4. When the distribution is unknown , O’Brien test statistic should be used.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72000
ISBN: 9746372777
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriyupa_ra_front_p.pdfหน้าปก สารบัญและ บทคัดย่อ26.56 MBAdobe PDFView/Open
Siriyupa_ra_ch1_p.pdfบทที่ 16.68 MBAdobe PDFView/Open
Siriyupa_ra_ch2_p.pdfบทที่ 220.56 MBAdobe PDFView/Open
Siriyupa_ra_ch3_p.pdfบทที่ 38.02 MBAdobe PDFView/Open
Siriyupa_ra_ch4_p.pdfบทที่ 4139.39 MBAdobe PDFView/Open
Siriyupa_ra_ch5_p.pdfบทที่ 55.51 MBAdobe PDFView/Open
Siriyupa_ra_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก14.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.