Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72037
Title: การสื่อสารกับการสังคมประกิตด้านวัฒนธรรมทางจิตใจ ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Communication and socialization in mental culture of Chulalongkorn University's students
Authors: อุณาวดี คงมั่นวัฒนา
Advisors: อวยพร พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Uayporn.P@Chula.ac.th
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- นักศึกษา
สังคมประกิต
การสื่อสาร
เยาวชน -- ไทย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมทางจิตใจได้แก่ ความคิด ความเชื่อ และ ค่านิยมของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นตัวแทนของเยาวชนระดับอุดมศึกษาว่า คำนึงถึงความเจริญทางวัตถุมากกว่าด้านจิตใจหรือไม่ และต้องการศึกษาช่องทางการที่สื่อสารที่ทำหน้าที่การสังคมประกิต (ถ่ายทอดและปลูกฝัง) วัฒนธรรมทางวัดใจดังกล่าวนั้นให้กับนิสิต ทางการศึกษาโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีจำนวน 64 คนจาก 16 คณะ ผลการวิจัย พบว่า 1. นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีน้ำใจ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ ต่อสังคมอยู่ในเกณฑ์ที่จัดได้ว่าดี 2. นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีวัฒนธรรมทางจิตใจที่เห็นว่าจิตใจ เป็นเรื่องสำคัญ และในขณะเดียวกันก็เห็นว่าวัตถุ เช่น เงิน ที่อยู่อาศัย รถยนต์ สิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งแสดงฐานะต่าง ๆ และโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานเป็นสิ่งจำเป็น 3. นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการสังคมประกิตด้านวัฒนธรรมทางจิตใจทั้งในเรื่องของคุณธรรมเกี่ยวกับความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การทำประโยชน์ให้กับสังคม และการที่นิสิตมีวัฒนธรรมทางจิตใจ ที่เห็นว่าจิตใจและวัตถุมีความสำคัญเท่าเทียมกันนั้นผ่านช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นหลัก โดยมีช่องทางการสื่อสารมวลชน เป็นช่องทางการสื่อสารเสริมคอยตอกย้ำ หรือสนับสนุนวัฒนธรรมทางจิตใจ ที่นิสิตได้รับการสังคมประกิตผ่านช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคลให้เด่นชัดและกลายเป็นพฤติกรรมขึ้น
Other Abstract: The objective of this research is to study the Mental Culture of Chulalongkorn University's students and to find between material culture and mental culture which is more influencial to students and its socialized channel? The research methodology is indepth interview on 64 students from 16 different faculties which its finding could be concluded as follows: 1. Chulalongkorn University's students are helpful and devoting themselves for the society. 2. Chulalongkorn University's students have the mental culture which showed that not only the mental but also the materials, such as money, home, car and facilities. The opportunity for advancement and promotion are the essential things for them. 3. Interpersonal channel is the main channel that Chulalongkorn University's students have been socialized the mental culture (helpfulness, donation) Moreover, the supporting channel is Mass media, which help to improve the mental culture more stronger for Chulalongkorn University's students who have been socialized through Interpersonal channel and change it to be the behaviour.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72037
ISBN: 9746318675
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Unawadee_ko_front_p.pdf860.06 kBAdobe PDFView/Open
Unawadee_ko_ch1_p.pdf934.27 kBAdobe PDFView/Open
Unawadee_ko_ch2_p.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Unawadee_ko_ch3_p.pdf732.36 kBAdobe PDFView/Open
Unawadee_ko_ch4_p.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open
Unawadee_ko_ch5_p.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Unawadee_ko_back_p.pdf955.16 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.