Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72059
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นิพันธ์ วิเชียรน้อย | - |
dc.contributor.author | มาลัย กรแก้วสมนึก | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-02-03T04:31:24Z | - |
dc.date.available | 2021-02-03T04:31:24Z | - |
dc.date.issued | 2540 | - |
dc.identifier.isbn | 9746382853 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72059 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิวัฒนาการชุมชนเมืองอุดรธานี และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน, วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเติบโตของเมืองอุดรธานี, วิเคราะห์บทบาทและแนวโน้มการเจริญเติบโตของเมืองอุดรธานี และเสนอแนะแนวทางการวางแผนพัฒนาเมืองอุดรธานี เพื่อรองรับบทบาทการเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุน จากการศึกษา พบว่า ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 – 2524) เมืองอุดรธานีถูกกำหนดให้เป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญของอนุภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ตามนโยบายการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคมาโดยตลอด และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เมื่อมีการเปิดใช้สะพานมิตรภาพ (ไทย –ลาว) ที่เมืองหนองคาย ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมจากฝั่งไทยเข้าสู่นครเวียงจันทน์ ของสปป.ลาว ได้โดยตรง เมืองอุดรธานีมีการคาดหวังว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของเมือง เนื่องจากความสะดวกในการเข้าถึงเมืองอุดรธานี จึงทำให้เป็นศูนย์กลางของธุรกิจ การค้าปลีก – ค้าส่ง การบริการ และอุตสาหกรรม รวมทั้งมีบทบาทเป็นศูนย์กลางรวมและกระจายสินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าเกษตรกรรมออกสู่พื้นที่โดยรอบ โดยมีพื้นที่ในเขตอิทธิพลการให้บริการของเมืองอุดรธานี คือ จังหวัดในอนุภาค และสปป.ลาว และมีการอนุญาตให้คนลาวเดินทางมาฝั่งไทยได้โดยใช้บัตรผ่านแดนได้ถึงเมืองอุดรธานีเท่านั้น ทำให้เมืองอุดรธานีมีบทบาทเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุน เนื่องจากมีศักยภาพที่จะสนับสนุนให้เมืองอุดรธานีเติบโต คือ ความได้เปรียบเชิงที่ตั้ง, ความพร้อมด้านธุรกรรมทางการเงิน, ความพร้อมด้านประชากรและแรงงาน, ความพร้อมด้านระบบโครงข่ายคมนาคมและไฟฟ้า และหากสามารถแก้ไขข้อจำกัดบางประการ ได้แก่ การขาดแคลนแหล่งน้ำ, การสื่อสารมีประสิทธิภาพต่ำ และนโยบายรัฐที่สนับสนุนไม่ต่อเนื่องได้แล้ว จะทำให้เมืองอุดรธานีสามารถรองรับบทบาทการเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุนของอนุภาคและสปป.ลาวได้อย่างต่อเนื่องต่อไป ในการวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนะกิจกรรมที่มีโอกาสการลงทุน และแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่เมืองอุดรธานี | en_US |
dc.description.abstractalternative | It was the intention of this research to discover the evolution and landuse changed in Muang Udon Thani, factors that made Muang Udon Thani grew, the roles and development guidelines planning of Muang Udon Thani as a centre for trade and investment were analysed. This research found that from the 4 th National Economic and Social Development plan ( 1977 – 1981) . Muang Udon Thani has been chosen to be one of the growth centres. Since 1994 , Nangkhai and Vientian were connected by the Mittraphap bridge ( Thai – Loas ). The government expects that the rate of economic growth in Muang Udon Thani will increase . Due to the completed infrastructure, caused Muang Udon Thani as a centre for business and services in the Northeast subregion. The advantages of location, business and finance centre, the quality of manpower and the adequate of infrastructure are the potential of Muang Udon Thani. Only water shortage, low quality of communication and governments ‘ policies must be improved. Finally, the guidelines of infrastructure development and the future of investment of business and services, the types of industries and agricultures in Muang Udon Thani were suggested by the researcher. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การพัฒนาชุมชนเมือง -- อุดรธานี | - |
dc.subject | ย่านการค้ากลางใจเมือง | - |
dc.subject | Community development, Urban -- Udon Thani | - |
dc.subject | Central business districts | - |
dc.title | บทบาทและแนวโน้มการเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุนของเมืองอุดรธานี | en_US |
dc.title.alternative | Roles and development trends of Muang Udon Thani as a centre for trade and investment | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การวางผังเมือง | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Malai_ko_front_p.pdf | หน้าปกใน สารบัญและบทคัดย่อ | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Malai_ko_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 554.09 kB | Adobe PDF | View/Open |
Malai_ko_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 951.44 kB | Adobe PDF | View/Open |
Malai_ko_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 8.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Malai_ko_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 5.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Malai_ko_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Malai_ko_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Malai_ko_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 2.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.