Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72083
Title: ผลกระทบของสีผนังและมวลสารภายในต่อการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่อาคาร
Other Titles: Effects of color and internal mass on heat transmission through building wall
Authors: พรสวัสดิ์ พิริยะศรัทธา
Advisors: สุนทร บุญญาธิการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สีผนัง
ความร้อน -- การถ่ายเท
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันมีอาคารมากมายที่ใช้สีต่างๆกับผนังเพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับอาคาร สีผนังเหล่านี้มีผลต่อปริมาณความร้อนที่เข้าสู่อาคารแตกต่างกัน ความรู้และความเข้าใจต่อคุณสมบัติของสีที่มีอิทธิพลต่อการถ่ายเทความร้อน จะทำให้สามารถลดปริมาณความร้อนที่เข้าสู่อาคารได้ การใช้คุณสมบัติการสะสมความร้อนของวัสดุต่างๆภายในอาคาร หรือ มวลสารภายในอาคารเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถช่วยลดปริมาณความร้อนภายในอาคารได้ การวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์หลักเพื่อศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนของผนัง และศึกษาผลกระทบของมวลสารภายในต่อพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนของผนังที่มีสีเข้มและสีอ่อน เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกผนังที่ทำให้มีอิสระในการใช้ผิวหนัง และการใช้มวลสารภายในอาคารที่เหมาะสมได้ ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วยการค้นคว้าทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาตัวแปรต่าง ๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อนของผนัง เพื่อสามารถกำหนดอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบและตัวแปรในการทดสอบ การทดสอบในสภาพการใช้งานจริงภายในอาคารจะไม่สะดวกต่อการเปลี่ยนแปลงตัวแปรต่าง ๆ เทคนิคที่ใช้ในการวิจัยได้ทำการศึกษาโดยการจำลองสภาพภายในอาคารด้วยหุ่นจำลอง เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนแปลงตัวแปรต่าง ๆ จึงได้ใช้หุ่นจำลองสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ขนาด 0.90x0.90x0.90 เมตร เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ โดยให้ด้านหนึ่งของหุ่นจำลองเปิดโล่งเพื่อติดตั้งวัสดุผนังที่ใช้ทดสอบ วัสดุผนังที่ใช้ในการทดสอบแบ่งเป็นผนังที่มีมวลสารมากและผนังที่มีมวลสารน้อย ผนังที่มีมวลสารมากใช้ผนังก่ออิฐฉาบปูนหนา 4 นิ้ว และ 8 นิ้ว และผนังที่มีมวลสารน้อยใช้ผนังโฟมโพลีสไตรีนหนา 2 นิ้ว และ 4 นิ้ว สีที่ใช้ในการทดสอบใช้สีดำเป็นตัวแทนของสีเข้ม และสีขาวเป็นตัวแทนของสีอ่อน ตามทฤษฎีแล้วสีดำไม่ใช่สีที่มีค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนรังสีอาทิตย์สูงกว่าสีขาวเสมอไป แต่สีดำที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปจะมีค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนรังสีอาทิตย์สูงกว่าสีขาวแต่มีค่าสัมประสิทธิ์การกระจายรังสีความร้อนใกล้เคียงกัน มวลสารภายในหุ่นจำลองใช้วัสดุที่มีค่าความจุความร้อนที่แตกต่างกัน ได้แก่ อิฐมอญและแผ่นยิบซั่มหนา 12 มม. การทดสอบกระทำในสภาพแวดล้อมภายนอกอาคาร เลือกวางผนังทดสอบเฉพาะทิศใต้เพื่อให้ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากรังสีดวงอาทิตย์ยาวนานที่สุด การวิจัยนี้ได้เลือกเก็บข้อมูลหลายอย่างประกอบด้วย อุณหภูมิอากาศภายในหุ่นจำลอง อุณหภูมิอากาศภายนอกและอุณหภูมิผิวของวัสดุผนังทดสอบ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมการถ่ายเทความร้อน ผลการวิจัยพบว่า สีเข้มและสีอ่อนของผนังจะมีอิทธิพลลดน้อยลงเมื่อใช้วัสดุผนังที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนต่ำโดยผนังที่มีสีเข้มและสีอ่อนจะมีอุณหภูมิอากาศภายในเฉลี่ยตลอด 24 ชั่วโมง ใกล้เคียงกัน สำหรับผนังที่มีมวลสารน้อยจะมีค่าอุณหภูมิอากาศภายในเฉลี่ยแตกต่างกันประมาณ 1 องศาเซลเซียส และผนังที่มีมวลสารมากจะมีค่าอุณหภูมิอากาศภายในเฉลี่ยแตกต่างกันประมาณ 5 องศาเซลเซียส และเมื่อพิจารณาค่าอุณหภูมิอากาศสูงสุดภายใน พบว่า ผนังที่มีสีเข้มจะมีค่าอุณหภูมิอากาศสูงสุดภายในสูงกว่าผนังที่มีสีอ่อนประมาณ 12 องศาเซลเซียสสำหรับผนังที่มีมวลสารมาก และประมาณ 7 องศาเซลเซียส สำหรับผนังที่มีมวลสารน้อย ผนังที่มีมวลสารมากจะช่วยลดความรุนแรงของการถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าผนังที่มีมวลสารน้อย ทำให้ในช่วงเวลากลางวันผนังที่มีมวลสารมากจะมีอุณหภูมิอากาศภายในต่ำกว่าผนังที่มีมวลสารน้อย ประมาณ 4 องศาเซลเซียส และในช่วงเวลากลางคืนผนังที่มีมวลสารมากมีอุณหภูมิอากาศภายในสูงกว่าผนังที่มีมวลสารน้อย ประมาณ 3 องศาเซลเซียส มวลสารภายในหุ่นจำลองสามารถช่วยลดอุณหภูมิอากาศภายในได้ โดยในช่วงเวลากลางวันสามารถลดอุณหภูมิอากาศภายในสำหรับผนังที่มีสีเข้ม ประมาณ 8 องศาเซลเซียส และผนังที่มีสีอ่อน ประมาณ 5 องศาเซลเซียส แต่ในช่วงเวลากลางคืนมวลสารภายในจะเพิ่มอุณหภูมิอากาศภายในสำหรับผนังที่มีสีเข้ม ประมาณ 5 องศาเซลเซียส และสำหรับผนังที่มีสีอ่อน ประมาณ 4 องศาเซลเซียส ผลการวิจัยนี้มีแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับสภาพการใช้งานจริงในอาคาร จึงสามารถนำไปพิจารณาเพื่อใช้เป็นแนวทางต่าง ๆ ได้ดังนี้ การเลือกใช้สีผนังกับอาคารควรเลือกใช้สีอ่อน หากต้องการใช้สีเข้มควรใช้วัสดุผนังที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนต่ำ การใช้มวลสารภายในอาคารจะเหมาะสมสำหรับอาคารที่ใช้งานในช่วงเวลากลางวันมากกว่าอาคารที่ใช้งานในเวลากลางคืน
Other Abstract: At present, there are plenty of buildings painting with ranges of colour for the purpose of beauty. These colour or wall’s surface affect on heat transmission through walls. Knowledge and understanding towards characteristics of surface influencing heat transmission will help reduce heat flow through walls. To utilize thermal storage capacity of internal materials/internal mass is one approach to decrease internal heat gained. Main objective of this study is to find out variables that affect on heat transmission behavior of wall and the effects of internal mass towards heat transmission behavior of dark colored wall and light colored wall. The result will be beneficial for selecting wall materials providing freedom of choices in painting and suitability of internal mass utilization. The research involved with the study of theories and literature reviews about variables that affects on heat transmission behavior, in order to identify experimental equipment and variables. To conduct the test in existing building cause an inconvenience to adjust variables. Therefore the simulating methodology was implemented. Cube models which had outside dimension 0.90x0.90x0.90 metre; were used as experimental equipment to facilitate moving and alternation of variables. The models had one side open for an installation of the wall material studied. Wall material were : high thermal mass with different heat transmission coefficient made of mortared conventional brick setting of 4 and 8 inches thick.; low thermal mass with heat transmission coefficient made of polystyrene foam of 2 and 4 inches thick. Painting for application were black (dark color) and white surface colors (light color). The models’ internal mass with different heat capacity such as conventional brick and 12 millimetre. gypsum board. The study were conducted in open air condition by placing the testing walls towards the south in order to received direct solar radiation throughout the day. This study colleted data about indoor temperature, outdoor temperature and surface temperature for analyze behavior of heat transmission. The study showed that dark colored and light colored wall would be less influential if the material wall with low overall heat transmission coefficient was applied. The dark and light color wall would resulted in almost the same average during 24 hour; different of indoor temperature about 1 celsius for low thermal mass and about 5 celsius for high thermal mass. However, the wall with dark colored would result about 12 celsius of the peak indoor temperature higher than the wall with light colored when were used high thermal mass; and about 7 celsius when were used low thermal mass. The thermal mass was influential to decrease indoor temperature swing. As a result, the wall with higher thermal mass would have about 4 celsius indoor temperature during day time less than the lower one. At night, the higher thermal mass would gain about 3 celsius more than that of the lower thermal mass. The internal mass in the implemented model could, in day time, reduce indoor temperature about 8 celsius for dark colored wall and 5 celsius for light colored wall. During the night, The internal mass in the implemented model would increase indoor temperature about 5 celsius and about 4 celsius consecutively in the same case. The results of study has a trend of begin capable of future application in the real time working: through exponing guidance showing the approach such as; selection of painting for wall should be used light color wal; and For dark color wall should be used wall material of low overall heat transmission coefficient. The use of internal mass would appropriate for building which used interior space in day time more than night time.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีอาคาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72083
ISBN: 9746389157
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornsawat_pi_front_p.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Pornsawat_pi_ch1_p.pdf755.79 kBAdobe PDFView/Open
Pornsawat_pi_ch2_p.pdf795.16 kBAdobe PDFView/Open
Pornsawat_pi_ch3_p.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Pornsawat_pi_ch4_p.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open
Pornsawat_pi_ch5_p.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Pornsawat_pi_back_p.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.