Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72138
Title: ผลของการพยาบาลเป็นทีมต่อประสิทธิผลของหอผู้ป่วยโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: Effects of teamnursing on effectiveness of nursing unit, Thammasat University Hospital
Authors: อมรรักษ์ จินนาวงศ์
Advisors: บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การพยาบาลเป็นทีม
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม ทำการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง โดยมุ่งศึกษาเปรียบเทียบผลของการพยาบาลเป็นทีมต่อประสิทธิผลของหอผู้ป่วยระหว่างกลุ่มทดลอง ซึ่งทีมการพยาบาลใช้แบบแผนการพยาบาลเป็นทีมที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น กับกลุ่มควบคุมซึ่งปฏิบัติงานตามรูปแบบของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กลุ่มทดลองคือ ทีมการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย จำนวน 16 คนผู้ป่วยศัลยกรรมชาย จำนวน 60 คน และกลุ่มควบคุมคือ ทีมการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงจำนวน 14 คน ผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง จำนวน 60 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เลือกจากที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์และจัดกลุ่มด้วยวิธีจับคู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดประสิทธิผลของหอผู้ป่วยมีจำนวน 2 ชุด ชุดที่ 1 สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจากทีมการพยาบาล ชุดที่ 2 สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย ซึ่งผ่านการทดสอบความตรงและความเที่ยงแล้ว โดยมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .94 ทั้งสองชุด วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยของประสิทธิผลของหอผู้ป่วยของกลุ่มทดลอง ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากทีมการพยาบาลในด้านประสิทธิภาพบริการพยาบาล ความสามารถในการปรับตัว ความสามารถในกายืดหยุ่นและโดยรวมทั้ง 3 ด้าน พบว่าภายหลังใช้การพยาบาลเป็นทีมสูงกว่าและแตกต่างจากก่อนใช้การพยาบาลเป็นทีม อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิตที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านความสามารถในการปรับตัวพบว่าไม่แตกต่างกัน 2. คะแนนเฉลี่ยของประสิทธิผลของหอผู้ป่วยของกลุ่มทดลอง ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยในด้านปริมาณการบริการพยาบาล คุณภาพการบริการพยาบาล และโดยรวมทั้ง 2 ด้าน พบว่าภายหลังใช้การพยาบาลเป็นทีมสูงกว่าและแตกต่างจากก่อนใช้การพยาบาลเป็นทีมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 3. คะแนนเฉลี่ยของประสิทธิผลของหอผู้ป่วยของกลุ่มทดลอง ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากทีมการพยาบาลในด้านประสิทธิภาพบริการพยาบาล ความสามารถในการปรับตัว ความสามารถในการยืดหยุ่น และโดยรวมทั้ง 3 ด้าน พบว่าภายหลังใช้การพยาบาลเป็นทีมสูงกว่าและแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. คะแนนเฉลี่ยของประสิทธิผลของหอผู้ป่วยของกลุ่มทดลอง ซึ่งรวบรวมขอมูลจากผู้ป่วยในด้านปริมาณการบริการพยาบาลคุณภาพการบรีการพยาบาล และโดยรวมทัง 2 ด้าน พบว่าภายหลังใช้การพยาบาลเป็นทีมสูงกว่าและแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านคุณภาพการบริการพยาบาลพบว่าไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The study was two groups of pretest-posttest quasi-experimental research. The purposes of this research was compare the effectiveness of nursing unit between experimental group and the controlled group at a surgery nursing units, Thammasat University Hospital. The experimental group consisted of 16 nursing team and 60 patients at male surgery unit. The controlled group consisted of 14 nursing team and 60 patients at female surgery unit. The patient's group were selected by the setted criterias and divided into 2 groups equally by matched pair technique. Two instruments created for the study were used to collect data. The nursing team's questionnaires were composed of 3 sections : (i) efficiency of nursing- service (ii) adaptability and (iii) flexibility. The patient's questionnaires were composed of 2 sections : (i) quantity of nursing service (ii) quality of nursing service. Internal consistency reliability ( based on Cronbach's α ) was .94 for both questionnaires. Data were analysed both the Paired t-test and the Independent t-test. The results of this research were as follows : 1. The posttest mean score of efficiency of nursing service and flexibility was significant differences pre-test at p < .05 but no significant differences in adaptability and overall 3 sections was significant differences at p < .05 2. The posttest mean score of quantity of nursing service, quality of nursing service and overall 2 sections was significant differences pre-test at p < .05. 3. The mean score of efficiency of nursing seivice, flexibility, adaptability and overall 3 sections after using teamnursing program was significant differences controlled group at p < .05. 4. The mean score of quantity of nursing seivice after using teamnursing program was significant differences controlled group at p < .05 but no significant differences in quality of nursing service and overall 2 sections was significant differences at p < .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72138
ISBN: 9743463542
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amonruck_ji_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ815.16 kBAdobe PDFView/Open
Amonruck_ji_ch1_p.pdfบทที่ 1916.54 kBAdobe PDFView/Open
Amonruck_ji_ch2_p.pdfบทที่ 22.23 MBAdobe PDFView/Open
Amonruck_ji_ch3_p.pdfบทที่ 31.11 MBAdobe PDFView/Open
Amonruck_ji_ch4_p.pdfบทที่ 4781.74 kBAdobe PDFView/Open
Amonruck_ji_ch5_p.pdfบทที่ 5842.81 kBAdobe PDFView/Open
Amonruck_ji_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.