Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7223
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorสุธาทิพ เกษตรลักษมี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-06-09T04:00:17Z-
dc.date.available2008-06-09T04:00:17Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741419791-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7223-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractศึกษาเปรียบเทียบผลของการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัด โปรแกรมการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนที่เท้าด้วยน้ำมันหอมระเหย และการพยาบาลตามปกติ ต่อกลุ่มอาการไม่สบายในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 45 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มที่ทดลองที่ 2 กลุ่มละ 15 คน ทั้ง 3 กลุ่ม ได้รับการจับคู่ ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่อง เพศ อายุ โรคหัวใจและการผ่าตัด ยาบรรเทาปวด ยานอนหลับ และประเภทหอผู้ป่วย โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับข้อมูลเรื่องการบรรเทาความปวดหลังผ่าตัดหัวใจ ก่อนผ่าตัด 1 วัน ส่วนกลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับข้อมูลเรื่องการบรรเทาความปวดหลังผ่าตัดหัวใจ 1 วัน และการนวดกดจดสะท้อนที่เท้าด้วยน้ำมันหอมระเหย ในวันหลังผ่าตัด วันที่ 1 วันที่ 2 และ วันที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินกลุ่มอาการไม่สบาย ซึ่งแบบประเมินกลุ่มอาการไม่สบายได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตาเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบรายคู่ ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยกลุ่มอาการไม่สบายในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด วันที่ 2 วันที่ 3 และ วันที่ 4 ระหว่างกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนที่เท้า ด้วยน้ำมันหอมระเหยมีคะแนนเฉลี่ยกลุ่มอาการไม่สบายต่ำที่สุด กลุ่มที่ได้รับเฉพาะการพาบาลตามปกติมีคะแนนเฉลี่ยกลุ่มอาการไม่สบายสูงที่สุด 2. คะแนนเฉลี่ยกลุ่มอาการไม่สบาในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดรวม 3 ครั้ง ระหว่างกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนที่เท้า ด้วยน้ำมันหอมระเหยมีคะแนนเฉลี่ยกลุ่มอาการไม่สบายต่ำที่สุด กลุ่มที่ได้รับเฉพาะการพยาบาลตามปกติมีคะแนนเฉลี่ยกลุ่มอาการไม่สบายสูงที่สุดen
dc.description.abstractalternativeTo compare the effect of preoperative information, preoperative information combined with foot reflexology with aromatherapy, and conventional nursing care on unpleasant symptoms in post opened-heart surgery patients. The subjects were 45 post opened-heart surgery patients admitted at King Chulalongkorn Memorial Hospital, and were selected by a purposive sampling. The subjects were arranged into a control group, and two experimental groups. The groups were matched in terms of age, sex heart disease and type of surgery, regimen of analgesic and sedative drugs, and type of ward. The control group received conventional nursing care. The first experimental group received information "Pain relieving after cardiac surgery" before the surgery. The second experimental group received information "Pain relieving after cardiac surgery" before the surgery and foot reflexology with aromatherapy on 1st , 2nd, and 3rd day after opened-heart surgery. The instrument was a set of questionnaires including a demographic data form, and the unpleasant symptoms form. The unpleasant symptoms questionnaire was tested for the content validity by a panel of experts. Cronbach's alpha coefficient of the unpleasant symptoms questionnaire was .95. Data were analysed by descriptive statistics, one way analysis of variance (ANOVA), and pairwise comparison. Results were as follows 1. Mean of unpleasant symptoms score in opened-heart surgery patients on 2nd, 3rd, and 4th day after the surgery were statistical different among groups at the level of .05. Mean of unpleasant symptoms score in the group receiving preoperative information combined with foot reflexology with aromatherapy was the lowest. Mean of unpleasant symptoms score in the group receiving conventional nursing care was the highest. 2. Mean of unpleasant symptoms score in opened-heart surgery patients add 3 times were statistical different among groups at the level of .05. Mean of unpleasant symptoms score in the group receiving preoperative information combined with foot reflexology with aromatherapy was the lowest. Mean of unpleasant symptoms score in the group receiving conventional nursing care was the highest.en
dc.format.extent6449674 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.860-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหัวใจ -- ศัลยกรรม -- ผู้ป่วยen
dc.subjectการดูแลก่อนศัลยกรรมen
dc.subjectการดูแลหลังศัลยกรรมen
dc.subjectเท้า -- การนวดen
dc.subjectน้ำมันหอมระเหย -- การใช้รักษาen
dc.titleผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนที่เท้าด้วยน้ำมันหอมระเหย ต่อกลุ่มอาการไม่สบายในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดen
dc.title.alternativeThe effect of preoperative information combined with foot reflexology with aromatherapy on unpleasant symptoms in post opened-heart surgery patientsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorhchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.860-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suthathip.pdf6.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.